Haijai.com


วิตามินเสริมในเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร


 
เปิดอ่าน 5147

วิตามินเสริมจำเป็นต่อ “เด็ก” แค่ไหน

 

 

คุณพ่อคุณแม่ทุกยุคสมัยล้วนนิยมดูแลลูกน้อยอย่างประคับประคอง เพราะความรักกันเสมอ แต่ในสังคมยุคปัจจุบันที่มากล้นด้วยวิถีแห่งทางเลือกต่างๆ มากมาย จนอาจทำให้ความหวังดีที่มีต่อคุณลูกอย่างเอ่อล้น มองเห็นความเสี่ยงเป็นความสุขเสียไม่ได้ เรากำลังพูดถึงการบำรุงส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยด้วยวิตามินเสริม ที่ผู้ใหญ่หลายท่านอาจเข้าใจว่าเป็นการเสริมสิ่งที่มีอยู่ในร่างกายให้เพิ่มพูนมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่ความจำเป็นสำหรับเด็กแต่อย่างใด หากยังเจริญเติบโตอย่างสมวัย วิตามินเสริมก็ไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น

 

 

วิตามินเสริมในเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร?

 

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า วิตามินกับแร่ธาตุนั้นแตกต่างกัน ตัวอย่างของวิตามิน อาทิเช่น วิตามิน A, B1, B6, B12, C, D, E, K ส่วนแร่ธาตุ ได้แก่ เหล็ก สังกะสี แคลเซียม และโฟลิก เป็นต้น โดยทั้งสองชนิดนี้จะทำงานร่วมกัน หากเกิดภาวะบกพร่องหรือขาดสารอาหารประเภทนี้มักเป็นการขาดวิตามินและแร่ธาตุ ไม่ใช่เพียงการขาดชนิดใดชนิดหนึ่ง สำหรับวิตามินเสริมในเด็กกับผู้ใหญ่มีข้อแตกต่างกันตรงปริมาณการใช้เพียงเท่านั้น

 

 

เนื่องจากเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก จึงมีความแตกต่างอย่างชัดเจนทั้งในด้านกายวิภาคศาสตร์ สรีระวิทยา และการทำงานของร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง ระบบเผาผลาญ ตลอดจนพลังงานที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นความต้องการทางสารอาหาร ยา แร่ธาตุ และวิตามิน จึงมีความแตกต่างกันในด้านของปริมาณ

 

 

แต่หากเด็กสามารถรับประทานอาหารได้ครบห้าหมู่ หรือรับประทานอาหารได้ทุกอย่างแบบสลับกันไปมา มีความหลากหลาย เด็กก็จะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน โดยที่ไม่จำเป็นต้องทานวิตามินเสริมเพิ่มเติมแต่อย่างใด

 

 

ความจำเป็นของวิตามินเสริมในเด็ก

 

โดยปกติแล้วการให้วิตามินเสริมของแพทย์จะพิจารณาในกลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความผิดปกติของกระบวนการสร้างและสลาย (Metabolism) พบได้ตั้งแต่แรกเกิด และมักจะขาดวิตามินหลายตัว โรคตับเรื้อรังที่เกิดจากการขาดวิตามินเค หรือผู้ป่วยเด็กที่ผ่าตัดลำไส้อาจพบว่ามีการขาดวิตามินบี 12 และดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อยลง

 

 

หรือการรับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาที่ใช้ในการรักษาวัณโรคในเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กขาดวิตามินบี 6 ได้ เป็นต้น แต่ในกรณีที่เด็กมีสุขภาพร่างกายปกติ การรับประทานวิตามินเสริมก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นแต่อย่างใด เพราะนอกจากร่างกายจะขับวิตามินส่วนเกินออกมาในรูปแบบของปัสสาวะแล้ว การรับประทานวิตามินบางชนิดในปริมาณที่มากจนเกินไป จะทำให้เกิดการสะสมในร่างกายและเกิดอาการข้างเคียงได้เช่นกัน

 

 

อีกทั้งจากข้อมูลในปี 2012 พบว่า ในประเทศไทยมีอัตราการเกิดโรคขาดสารอาหารน้อยลงในทุกๆ ปี โดยพบว่ามีเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี มีความชุกของการขาดสารอาหารเพียงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 1987 ที่พบร้อยละ 17 แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาความเป็นอยู่ของเด็กไทยทิศทางที่ดีขึ้น เช่น ด้านของการรับประทนอาหารที่จำเป็นและเพียงพอ

 

 

ดังนั้น การรับประทานวิตามินเสริมจึงขึ้นอยู่กับสุขภาพและความจำเป็นของร่างกายเด็กแต่ละคนเป็นสำคัญ ทั้งยังต้องขึ้นอยู่กับความเห็นแพทย์ร่วมด้วย ซึ่งบางครั้งแพทย์จะถูกพ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กขอให้สั่งวิตามิน และแร่ธาตุให้ลูกโดยไม่จำเป็น แพทย์จึงควรตระหนักเสมอว่า วิตามินและแร่ธาตุเหล่านั้นมีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติอยู่แล้ว

 

 

เด็กแต่ละช่วงวัยต้องการวิตามินอะไรบ้าง

 

ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การที่แพทย์จะเริ่มให้วิตามินกับเด็ก แพทย์ต้องประเมินภาวะทางโภชนาการของทารกและเด็กก่อน โดยการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย BMI (Body mass index) โดยเอาน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หายด้วย ส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง) ได้ค่ามาตรฐาน ดังนี้

 

 

ค่าดัชนีมวลกายสำหรับเด็กอายุ 1-7 ปี

 

 ผอมเล็กน้อย < 14.5-13.0

 

 

 ผอมปานกลาง < 13.0-11.5

 

 

 ผอมรุนแรง < 11.5

 

 

 ปกติ 14.5-18.0

 

 

โดยเด็กที่มีเกณฑ์น้ำหนักเฉลี่ยต่ำกว่ามาตรฐาน แพทย์อาจให้วิตามินเสริมเพื่อใช้ในการบำรุงทดแทนสารอาหารที่ร่างกายขาดแคลนไป รวมถึงกรณีเด็กที่ผอมอย่างรุนแรง (Severs Malnutrition) ที่มักจะมีการขาดวิตามินและแร่ธาตุเกือบทุกตัว แพทย์ก็จะทำการให้วิตามินเสริมเพื่อบำรุงสุขภาพร่างกายแก่เด็กเช่นกัน

 

1.การรับประทานวิตามินเสริมในทารกแรกเกิดยังไม่มีความจำเป็น เนื่องจากเป็นนมแม่ และนมผงดัดแปลงสำหรับทารกนั้น มีวิตามินและแร่ธาตุเพียงพอต่อความต้องการของทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือนอยู่แล้ว

 

 

เมื่อทารกอายุครบ 6 เดือนเป็นต้นไป ก็จะเริ่มรับประทานอาหารเสริมร่วมกับนมแม่ หรือนมผงดัดแปลงสำหรับทารกได้ ซึ่งควรมีวิตามินซี วิตามินดี โฟลิกแอซิด และธาตุเหล็ก ให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงวัยนั้นด้วย รวมถึงการฝึกทักษะ เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน หรือการฝึกให้เด็กออกกำลังกายไปพร้อมๆ กัน ยังเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ได้เป็นอย่างดี

 

 

2.เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ในเด็กที่แข็งแรงดี หากมีการรับประทานอาหารได้ดี มักไม่ค่อยพบการขาดวิตามินและแร่ธาตุ แต่ยังเป็นกลุ่มที่มีโอกาสขาดธาตุเหล็กสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กจนถึงช่วงอายุ 10 ปี

 

 

โดยอาจตรวจพบว่ามีอาการซีด เหลือง เจาะเลือดพบจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าเกณฑ์ตามอายุนั้นๆ อาจพบได้ในเด็กที่รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ และชอบดื่มแต่นมเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น เด็กกลุ่มนี้ควรเสริมวิตามินซี และธาตุเหล็ก ซึ่งวิตามินซีพบได้มากใน ฝรั่ง กีวี มะละกอสุก บร็อกโคลี่และผักโขม เป็นต้น ส่วนธาตุเหล็กพบได้ในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล เช่น ตับหมู และอาจพบในพืช เช่น ผักกูด ถั่วฝักยาว เห็ดฟาง

 

 

วิตามิน หรืออาหารเสริม ช่วยให้เด็กรับประทานอาหารได้มากขึ้นหรือไม่

 

การที่เด็กไม่ยอมรับประทานอาหารมักเกิดได้จากหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่พบว่าเกิดจากการขาดวิตามินและแร่ธาตุเป็นหลัก หากแต่เกิดจากพฤติกรรมของเด็ก การเลี้ยงดูของพ่อแม่ การตามใจให้นมก่อนการรับประทานอาหาร ทำให้เด็กอิ่มและไม่อยากรับประทานข้าว รวมถึงรสชาติอาหารที่ไม่ถูกปาก ล้วนแล้วแต่เป็นการสร้างพฤติกรรมรับประทานอาหารยาก

 

 

ส่งผลให้เกิดอาการขาดวิตามินและแร่ธาตุตามมาได้ในที่สุด ซึ่งการขาดวิตามินและแร่ธาตุในบางกรณี เช่น การขาดธาตุเหล็กและสังกะสี จนทำให้เด็กมีอาการเบื่ออาหาร ลิ้นเลี่ยน การรับรสชาติที่ลิ้นทำงานได้ไม่ดี กลายเป็นรับประทานอาหารไม่อร่อย หากแพทย์ตรวจเลือดพบว่ามีอาการซีด และระดับสังกะสีในร่างกายต่ำ อาจมีการเสริมธาตุเหล็กและสังกะสีให้ในรูปแบบของยา พร้อมวัดระดับให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

 

กรณีเช่นนี้อาจทำให้อาการเบื่ออาหารจางหายไปได้ โดยเฉพาะการฝึกให้เด็กปรับเปลี่ยนวินัยการรับประทานจากพ่อแม่เป็นสำคัญ เช่น การพักผ่อนให้เพียงพอของร่างกาย การรับประทานให้หลากหลาย การออกกำลังกายให้สมวัย เหล่านี้ก็เพียงพอต่อความต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งอาหารเสริมจากภายนอกแต่อย่างใด

 

 

รับประทานวิตามินเสริมเพื่อบรรเทาโรคได้หรือไม่?

 

พบว่าการเสริมวิตามินในเด็กสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้บางกรณี เช่น การให้ธาตุสังกะสีเสริมในเด็กทีป่วยเป็นลำไส้อักเสบ ถ่ายเหลว จะช่วยให้ระยะเวลาความเจ็บป่วยนั้นสั้นลง และลดความรุนแรงของโรคลงได้ แต่อะไรที่มากไปอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีกลับมาได้เสมอ วิตามินที่ควรให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ ได้แก่

 

 วิตามินเอ เนื่องจากทารกและเด็กรับประทานมากเกินไป จะทำให้ร่างกายเกิดการสะสมและอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (Pseudotumor Cerebri) และชัก เป็นต้น

 

 

 เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) เมื่อรับประทานเข้าไปมันจะถูกเปลี่ยนไปเป็นวิตามินเอ เท่าที่ร่างกายต้องการ ที่เหลือจะยังคงเป็นเบต้าแคโรทีนลอยอยู่ในกระแสโลหิต ดังนั้น ถ้ารับประทานเบต้าแคโรทีนมากจนเกินไป จะทำให้ผิวหนังมีสีเหลืองแต่ตาจะไม่เหลือง ซึ่งยังไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เมื่อลดปริมาณที่รับประทานลงอาการผิวหนังสีเหลืองจะหายไป เบต้าแคโรทีนมักจะอยู่ในอาหารที่มาจากพืช ส่วนวิตามินเอมักจะอยู่ในอาหารที่มาจากสัตว์

 

 

และปัจจุบันพบว่าเด็กไทยยังได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้น การเสริมดื่มนมเพิ่มขึ้น (นมวัว 1 ซีซี มีแคลเซียม 1.2 มิลลิกรัม) หรือเสริมด้วยยาเม็ดแคลเซียม จะช่วยให้เด็กมีมวลกระดูกสะสมเพิ่มขึ้นได้ เมื่อเด็กอายุประมาณ 13-14 ปี จะทำให้เด็กมีโอกาสสูงขึ้นได้ง่าย เพราะมีมวลกระดูกสะสมไว้มากเพียงพอ อย่างไรก็ตามการดื่มนมดีกว่าการรับประทานแคลเซียมเม็ด เนื่องจากได้สารอาหารอื่นๆ จากนมอย่างครบถ้วนกว่าการรับประทานแคลเซียมเม็ดเพียงอย่างเดียว

 

 

พญ.ลักษณารีย์ จิรสุขประเสริฐ

แผนกศูนย์เด็กและวัยรุ่น สาขาและความเชี่ยวชาญกุมาร เวชศาสตร์โรคผิวหนัง

โรงพยาบาลนนทเวช

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





สิวอุดตันเกิดจาก สิวฮอร์โมน คอลลาเจน สิวไขมัน สิวหัวแข็ง AviClear AviClear Laser สิวไต สิวเสี้ยน หน้าขาวใส หน้าแพ้สาร สิวข้าวสาร หน้าใสไร้สิว หน้าไหม้แดด สิวหัวขาว หน้าแห้ง อาการนอนกรน วิธีลดไขมันทั้งตัว ผิวขาว ผิวหน้า ผู้หญิงนอนกรน หน้ากระจ่างใส วิธีลดไขมันในร่างกาย หน้าเนียนใส หน้าเนียน หน้าหมองคล้ำเกิดจาก กดสิวใกล้ฉัน กดสิวเสี้ยน กดสิว หน้าใส สิวอุดตัน หน้าหมองคล้ำ สิวอักเสบ สิว สิวหัวช้าง หน้าขาว สิวขึ้นคาง สิวผด ครีมลดรอยสิว วิธีแก้การนอนกรนผู้ชาย แก้อาการนอนกรนผู้หญิง วิธีลดหน้าท้องแบบเร่งด่วน Sculpsure ลดไขมันในร่างกาย วิธีลดไขมัน ลดไขมันต้นขา สลายไขมันหน้า ไตรกลีเซอไรด์ เซลลูไลท์ วิธีแก้นอนกรน ลดไขมัน Coolsculpting ทำกี่ครั้ง Sculpsure กับ Coolsculpting นอนกรนเกิดจาก Morpheus8 สลายไขมันหน้าท้อง วิธีลดพุงผู้หญิงเร่งด่วน 3 วัน Body Slim ลดไขมันทั้งตัว วิธีลดพุงผู้ชาย Morpheus8 กับ Ulthera ลดพุงเร่งด่วน วิธีลดไขมันต้นขา ลดพุง ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความน่ารู้ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความรักษาอาการนอนกรน บทความ Morpheus บทความ Coolsculpting บทความโปรแกรมดูแลผิวหน้า ข่าวและกิจกรรม romrawin รมย์รวินท์ Plinest Pico หลุมสิว เลเซอร์ฝ้า เลเซอร์ฝ้า กระ IV Weight Loss Thermage Body Pico Laser ราคา สิว กลืนบอลลูนราคา วิธีลดน้ำหนัก วิธีแก้อาการนอนกรน อาการนอนกรน บทความโปรแกรมรักษาอาการนอนกรน เลเซอร์รีแพร์ ดึงหน้าที่ไหนดี ผ่าตัดดึงหน้าราคา Thermage FLX ผ่าตัดดึงหน้า ดึงหน้าราคา ผ่าตัดดึงหน้าที่ไหนดี ดึงหน้า vs ร้อยไหม ศัลยกรรมดึงหน้าราคา เครื่องสลายไขมันด้วยความเย็น Ultraformer MPT ราคา ลดเซลลูไลท์ ฟิลเลอร์แก้มตอบราคา CoolSculpting vs Emsculpt ลดน้ำหนัก วิธีสลายไขมัน สลายไขมัน Alexandrite Laser Dynamic Tech Morpheus Pro สารเติมเต็ม ฟิลเลอร์แท้ ฟิลเลอร์ปลอม เลเซอร์ขนหน้าอก Coolsculpting vs Coolsculpting Elite Morpheus8 ราคา สลายไขมันด้วยความเย็นราคา สลายไขมันด้วยความเย็น ฟิลเลอร์ใต้ตาราคา ดึงหน้า Ultherapy Prime vs Ulthera SPT IPL เลเซอร์ขนแขน YAG Laser Diode Laser ไฮยาลูรอน ฟิลเลอร์น้องชายอันตรายไหม ฉีดสิว Emtone 1 week 1 Kilo ลดน้ำหนัก กลืนบอลลูน Exo Hair Reborn หลังฉีดฟิลเลอร์คาง ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม Coolsculpting Fit Firm Emsculpt Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex