Haijai.com


เรียนรู้ทักษะด้านสังคมสำหรับเด็กวัย 3 ขวบ


 
เปิดอ่าน 1685

Personal, Social and Emotional Development การเข้ากลุ่ม การยอมรับ ในสังคม

 

 

การปลูกฝังทักษะทางสังคมให้กับลูกวัย 3 ขวบ เปรียบเสมือนรากแก้วของการปรับตัว ในการเรียนรู้กฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เพื่อนำไปสู่การวางพื้นฐานทางสังคมที่ดีให้กับเด็กๆ  

 

 

ทักษะสังคมลูกวัย 3 ปี

 

ในเด็กวัยนี้ต้องการการยอมรับ ต้องการให้คนรอบข้าง และเพื่อนๆ รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ มีส่วนสำคัญต่อกลุ่มในการทำกิจกรรม การเล่น ฯลฯ  ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานทักษะทางสังคมที่สำคัญ

 

 

ความสำคัญของการผูกมิตร

 

มิตรภาพมีส่วนสำคัญสำหรับเด็กวัยนี้ ในเด็กวัยนี้ การได้เล่นกับเพื่อน หรือได้อยู่กับเพื่อนที่ศูนย์เตรียมความพร้อมทำให้เด็กๆ มีความสุข การส่งเสริมการเข้าสังคมของเด็กวัยนี้ เมื่อเด็กๆ ได้มีโอกาสในการอยู่ การเล่น การได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ อาจจะแค่ประเดี๋ยวประด๋าว หรือไม่จำเป็นต้องเจอทุกวันกันก็ได้  แต่สำหรับผู้ดูแลเด็กแล้วต้องเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างความต่อเนื่อง ในการสร้างความคุ้นเคย จนเกิดความเชื่อมั่นต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่เด็ก นั้นหมายถึงการไม่เปลี่ยนผู้ดูแลเด็กบ่อยจนเกินไป

 

 

ในการที่เด็กๆ จะได้พบเพื่อนใหม่ๆ เด็กๆ และมีการเล่นกันอย่างสนุกสนานนั้น จำเป็นจะต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้กับการเล่นของเด็กๆ ด้วย  เช่น

 

 เด็กๆ เริ่มได้เจอเพื่อนเป็นประจำที่สถานเตรียมความพร้อมของเด็ก จนเกิดความคุ้นเคย “สวัสดีจ๊ะ หนูน้ำไส” “สวัสดีจ๊ะ หนูมะลิ” ผู้ใหญ่อาจช่วยเริ่มให้เด็กรู้จักการทักทายเพื่อน ที่ได้เจอกันทุกวันเพื่อจะได้เกิดความคุ้นเคย

 

 

 การให้เด็กได้เริ่มคุ้นเคยกับเพื่อนๆ ที่อายุโตกว่า หรือเล็กกว่า โดยเด็กที่โตกว่า ก็จะปรับการสื่อสารให้น้องที่อายุน้อยกว่าเข้าใจ และสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจ

 

 

 เด็กๆ ชอบเล่นเกม ฟังนิทานเรื่องเดิมที่โปรดปรานซ้ำๆ  เด็กๆ ที่โตกว่า อาจชอบเล่า นิทานหรือเล่นกับน้องๆ

 

 

เรียนรู้ทักษะด้านสังคมสำหรับเด็กวัย 3 ขวบ

 

เด็กเรียนรู้ทักษะด้านสังคมในช่วงวัยเยาว์ แต่ทักษะด้านสังคมนี้ไม่ได้เกิดขึ้นหลังจากผ่านวันเกิดทันทีในแต่ละปีแต่เป็นการสร้างสะสม ทักษะทีละน้อยจากสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์  เด็กค่อยๆ เรียนรู้ในการสื่อสาร  การเล่นกับผู้อื่น เด็กเรียนรู้รูปแบบ และกิจกรรมที่แตกต่างกันระหว่างที่บ้านและที่ศูนย์เตรียมความพร้อม ในขณะเดียวกันเด็กๆ เรียนรู้ทักษะด้านสังคม ถึงสิ่งที่ควรกระทำ และความคาดหวังจากผู้ใหญ่

 

 

เด็กๆ เรียนรู้หรือต้องการให้ผู้ใหญ่สนับสนุนถึงการรับมือกับเหตุการณ์ที่แตกต่าง

 

 เด็กๆ เรียนรู้การเข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อนที่เล่นด้วยกัน กลยุทธ์การขอเข้าร่วมเล่นอย่างไรโดยไม่ถูกปฎิเสธ ซึ่งในบางครั้งก็ได้ผล และในบางเหตุการณ์อาจใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากกลุ่มเพื่อนดังกล่าวไม่ตอบรับสมาชิกไหม่

 

 

 การเชื้อเชิญเพื่อนใหม่ให้ร่วมวงกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้สมาชิกใหม่ทำให้กิจกรรมนั้นๆ สมบูรณ์ขึ้น

 

 

 การแยกออกจากกลุ่ม ในขณะที่เพื่อนในกลุ่มยังคงสนุก และต้องการให้การเล่นดำเนินต่อไป ให้เข้าใจถึงความต้องการของการแยกออกจากกลุ่มได้

 

 

 เด็กๆ ในวัยนี้อาจรู้สึกลำบากใจในการกำหนดของผู้นำและผู้ตามของกลุ่มได้ หรืออาจรู้สึกลำบากใจ เมื่ออาจถูกมองว่าเจ้ากี้เจ้าการ  

 

 

 

ความรู้สึกของเด็กวัย 3 ขวบ

 

เด็กๆ วัยนี้มีประสบการณ์การเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดที่หลากหลาย แต่ยังต้องการการสนับสนุน การเรียนรู้ถึงการสื่อสารทั้งด้านการพูด หรือการแสดงออก การสนับสนุน ความสามารถด้านความเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น (Emotional literacy) เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ถึงการเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น  เด็กๆ ที่ได้รับการสนับสนุนทักษะด้านความเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นสามารถ

 

 

 เรียนรู้ และรับรู้ได้ว่า ตนเองมีอารมณ์ที่หลากหลาย

 

 

 สามารถสร้างคำพูดที่เชื่อมโยงกับอารมณ์ในขณะนั้นของตนเองได้ เช่น หนูรู้สึก

 

 

 รับรู้ว่าเพื่อน ผู้ใหญ่บุคคลอื่นก็มีอารมณ์ความรู้สึกเช่นกัน ซึ่งอาจคล้ายๆ กับของตนเอง

 

 

 เรียนรู้จากการสนับสนุน หนทางการสื่อสารที่ไม่ทำลายความรู้สึกของผู้อื่นทั้งด้านการกระทำและวาจา

 

 

เด็กๆ ในวัย 3 ขวบอาจต้องใช้เวลาและการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ในการสื่อสารความรู้สึก อารมณ์ของตนเอง ซึ่งอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ผู้ใหญ่ช่วยเหลือ เพื่อให้เด็กน้อยได้เรียนรู้ในการสื่อสารความรู้สึกของตนเองและเข้าใจผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  

(Some images used under license from Shutterstock.com.)