© 2017 Copyright - Haijai.com
Personal, Social and Emotional Development ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และพฤติกรรม
การสร้างสิ่งแวดล้อมเชิงบวกเพื่อส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้ถึงการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการคาดหวังที่สามารถทำได้ในเด็กวัยนี้จะต้องมีความชัดเจน คงเส้นคงวา เพื่อทำให้เด็กเกิดรูปแบบที่ชัดเจน ผู้ใหญ่ควรตระหนักถึงการคาดหวังที่เป็นไปได้ถึงพฤติกรรมการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การรู้จักแบ่งปันของเด็กวัยนี้ อะไรที่มากเกินไปที่จะรับได้ของเด็กวัยนี้ และหากผู้ใหญ่ไม่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือส่งเสริมทักษะการเจรจาต่อรองที่ดี ก็อาจนำมาซึ่งผลกระทบต่อตัวเด็กเองรวมทั้งคนรอบข้างเด็กด้วย
พ่อแม่สามารถยืนมือเข้ามาช่วยเมื่อยามที่เกิดสถานการณ์ขับขันขึ้น โดยที่ไม่เพียงแต่พูดว่า “หนูต้องแบ่งเพื่อน” หรือพูดกระแนะกระแหนเท่านั้น ผู้ใหญ่ควรต้องเข้าใจถึงสถานการณ์และธรรมชาติของเด็กวัยนี้ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม จัดเตรียมอุปกรณ์ ของเล่น ให้เพียงพอ หากลูกจะต้องชวนเพื่อนมาที่บ้าน หรือสำหรับครู ผู้ดูแลเด็กในสถานการณ์ที่โรงเรียนก็ตาม เป็นเรื่องยากมากสำหรับเด็กวัยนี้ที่จะรู้จักการรอคอยให้เพื่อนเล่นเสร็จก่อน ฉะนั้นการจัดอุปกรณ์ ของเล่นให้เหมาะสมกับจำนวนเด็ก จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ควรใส่ใจ และเตรียมให้พร้อม
เด็กวัย 2 ขวบจะให้การตอบรับต่อสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าได้เป็นอย่างดี หากเด็กรับรู้ได้จากการเห็นว่า อุปกรณ์ ของเล่นนั้นมีเพียงพอสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตา บล๊อกต่อ รถ ของเล่น ฯลฯ เด็กๆ จะเริ่มสร้างบรรยากาศในการเล่นโดยแบ่งปันให้เพื่อน บางครั้งเด็กๆ อาจเล่นเกม “ฉันให้เธอนะ และเธอก็ให้ฉันด้วยน่ะจ๊ะ”
ถึงแม้ในบางครั้งที่การเล่นของเด็กๆ จะที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์ ของเล่นที่เพียงพอสำหรับทุกคนแล้วก็ตาม แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการแย่งของเล่นกัน ตามด้วยการใช้เสียงทำให้บรรยากาศในการเล่นดูตึงเครียดขึ้น สถานการณ์เช่นนี้บางครั้งก็ยากต่อการรับมือของพ่อแม่อยู่เหมือนกัน แต่เด็กๆ ก็ต้องการการช่วยเหลือ รวมทั้งการฝึกฝนในทักษะการแก้ไขปัญหาจากผู้ใหญ่ โดยที่ผู้ใหญ่ต้องมั่นคงและอาจต้องใช้เวลาอยู่พอสมควรในการฝึกฝนทักษะนี้ให้กับเด็ก
ไม่ว่าจะในโรงเรียน หรือจากครอบครัวที่ได้มีการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดมาเป็นอย่างดี ในขณะที่เด็กๆ ใช้กำลังในการแย่งของเล่น และเสียงในการข่มขวัญเพื่อนที่เล่นอยู่ด้วยกัน ผู้ใหญ่อาจมองว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญ แต่ในสายตาเด็กวัย 2 ขวบนี้ เป็นสิ่งที่เขาต้องการการแก้ใข และวิธีการรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้นอย่างทันท่วงที
ผู้ใหญ่สามารถแก้ปัญหาและปรับความสมดุลของชีวิตให้กับเด็กๆ ได้ จากสถานการณ์เหล่านี้
• จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกของเด็กๆ ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น อารมณ์ของเด็กในช่วงที่กำลังเกิดการแย่งของเล่นกัน ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจอารมณ์ของตนเองได้ คุณอาจใช้ประโยคง่ายๆ “ แม่เข้าใจนะจ๊ะ ว่าลูกไม่สบายใจ ” และบอกให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ เข้าใจอารมณ์ของตนเอง เพื่อที่จะได้ผ่อนคลายลง
• คุณควรจะเปิดโอกาสให้เด็กๆได้มีโอกาสบอกเล่า ว่าเกิดอะไรขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการถามว่า “ใครเริ่มก่อน” เพราะเด็กจะต้องบอกว่าเป็นเพื่อนที่เริ่มก่อนเสมอ หลีกเลี่ยงการถามว่า “ทำไม” เพราะคุณจะไม่ได้คำตอบ แต่อย่างไร เด็กๆ ในวัยนี้ ไม่สามารถตอบคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นได้ แต่คุณสามารถช่วยเหลือเด็กๆ โดยการพูดว่า “ไหนแม่ขอดูหน่อยว่าเกิดอะไรขึ้นจ๊ะ” และเปิดโอกาสให้เด็กๆ เล่าให้ฟังถึงสถานการณ์ที่แท้จริง และการแก้ปัญหาจากผู้ใหญ่ที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
• ช่วยแก้ไขสถานการณ์จากการทะเลาะเบาะแว้งมาเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น คุณอาจพูดว่า “แม่ว่า เรากำลังมีปัญหากันอยู่นะจ๊ะ เรามาช่วยกันหาทางออกกันดีกว่านะคะ” ควรใช้คำศัพท์ที่ง่ายสำหรับเด็กวัยนี้ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้า “หนูทั้งสองคน ต้องการตุ๊กตาตัวนี้” (ในเหตุการณ์ที่คุณอาจเคยเจอว่า ในสถานการณ์ดังกล่าว มีตุ๊กตาอยู่ใกล้ๆ เด็กทั้งสองคน อีกตั้งหลายตัว แต่หนูน้อยทั้งสองนี้ ต้องการตุ๊กตาตัวเดียวกัน !!!) เมื่อเกิดการโต้เถียงต่อของเล่นชิ้นเดียวกันขึ้น ผู้ใหญ่อาจใช้สถานการณ์ในการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์นี้ โดยการเสนอตัวในการเป็นผู้ที่จะได้ครอบครองดูแลตุ๊กตาตัวนั้นแทน “แม่ว่า แม่จะขอตุ๊กตาตัวนี้ ไปก่อนแล้วกันนะจ๊ะ”
• ใช้เสียงที่มั่นคงและอากับกริยาในการสื่อสาร “เราจะทำอย่างไรดีในการแก้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้” คุณไม่ต้องการให้เกิดสถานการณ์ที่วุ่ยวายโดยการถามว่า ใครเริ่มก่อน เด็กๆ ไม่สามารถที่จะหาทางออกได้ คุณอาจพูดว่า “แม่มีไอเดีย !!! หนูอยากฟังไอเดียของแม่ไหมจ๊ะ” คุณอาจลองเสนอความคิดในการแก้ไขปัญหานั้นโดยไม่มีใครเป็นผู้ชนะ หรือผู้แพ้
• เด็กๆ ยังอาจต้องการผู้ใหญ่ให้อยู่ใกล้ๆ ด้วย หลังจากการแก้ปัญหาดังกล่าว จนกว่าเด็กๆ จะสามารถลืมเรื่องที่เกิดขึ้นและสามารถปรับอารมณ์ให้สามารถเล่นกับเพื่อนให้ได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง
การใช้เทคนิคดังกล่าวในการช่วยแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เด็กไม่แบ่งปันนั้น ผู้ใหญ่ต้องใช้เวลาและความอดทน ที่คงเส้น คงวา มันอาจจะง่ายหากผู้ใหญ่ใช้การแก้ปัญหาโดยการดูว่า ใครถือครองสิ่งของนั้นก่อน เป็นผู้ได้ของชิ้นนั้นไป หรือใครที่เสียงดังกว่าได้ของชิ้นนั้นไป แต่ผลในระยะยาว การแก้ปัญหาแบบนี้จะไม่ช่วยสิ่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของเด็ก และผลในระยะสั้น เด็กๆ จะรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรม การที่ผู้ใหญ่ไม่รับฟัง
การปลูกฝังทักษะการแก้ไขปัญหาในเด็ก ต้องใช้เวลาและการกระทำที่เป็นต้นแบบ เพราะเด็กเรียนรู้จากการกระทำของผู้ใหญ่ มากว่าการพูด
(Some images used under license from Shutterstock.com.)