© 2017 Copyright - Haijai.com
คุณแม่กับเรื่องใกล้ตัว
คงเป็นที่ทราบกันดีค่ะว่า คุณผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์มักจะห่วงความปลอดภัยของตัวเองมากเป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องของสุขภาพ อาหารการกิน ความสวยงาม ที่จะต้องไม่มีสารเคมีหรือมียาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเด็ดขาด ทั้งนี้ก็เพราะกลัวว่าสารเคมีต่างๆ รวมทั้งยาจะมีผลกระทบไปถึงทารกในครรภ์นั่นเอง ในคุณแม่หลายคนอาจกำลังสงสัยกันว่า แล้วจะมีวิธีใดบ้างที่จะสามารถหลีกเลี่ยงสารเคมี หรือเลี่ยงที่จะไม่ใช้ยามาเป็นตัวช่วย หากเกิดความเจ็บป่วยขึ้นเล็กๆ น้อยๆ ในคุณแม่ตั้งครรภ์
การเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกวินาทีค่ะ ถึงแม้ว่าจะระมัดระวังดูแลตัวเองอย่างดีแล้วก็ตาม และการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถดูแลตัวเองได้จากวัตถุดิบใกล้ๆ ตัวภายในบ้านได้ค่ะ ไม่ต้องพึ่งยากันให้กังวลใจค่ะ
อาการ |
การรักษา |
วิธีการ |
ปวดหลัง |
ประคบด้วยความร้อน |
-ให้แช่น้ำอุ่นจัด เช้า-เย็น เท่าที่คุณแม่จะทนได้ -ใช้แผ่นเจลเก็บความร้อนประคบบริเวณที่ปวดสัก 20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง |
อาการฟกช้ำบวมบริเวณข้อต่อ ปลายเท้า |
แช่น้ำเย็น |
-ใช้อ่างใส่น้ำผสมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ลงไปพอประมาณ แช่อวัยวะส่วนที่บวมไว้สัก 30 นาที พักและทำซ้ำทุก 30 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น |
เป็นหวัด |
เพิ่มปริมาณการดื่มน้ำ |
-ให้คุณแม่ดื่มน้ำสะอาด(ไม่เย็น) 1 แก้ว ทุกๆ 1 ชั่วโมง หรือจะเป็นการดื่มน้ำอุ่นแทนก็ได้ |
มีไข้ |
อาบน้ำอุ่น |
-หากเป็นแค่ไข้อ่อนๆ ที่สามารถอาบน้ำได้ ก็ให้อาบเป็นน้ำอุ่นแทนการอาบน้ำเย็น (ไม่ควรอาบน้ำนานขณะมีไข้) |
เช็ดตัว |
-ให้ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็ก ชุบน้ำเย็นบิดพอหมาดเช็ดตัว ทั้งบริเวณใบหน้า ซอกแขน และซอกรักแร้ ข้อพับ และลำตัว ในกรณีที่คุณแม่มีไข้สูงเกิน 38 องศา ควรรีบไปพบแพทย์ทันที |
|
ผิวแห้งแตกลาย |
ทาครีม |
-เป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย จึงเป็นผลให้ผิวของคุณแม่ตั้งครรภ์แห้งและแตกลายได้ การแก้ไขคือ ไม่ควรใช้สบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง และหลังการอาบน้ำทุกครั้งก็ให้ใช้ครีมทาผิวให้ทั่วร่างกาย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว |
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ |
ประคบด้วยความเย็นใน 24-48 ชั่วโมง |
-ใช้อ่างใส่น้ำผสมน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ลงไปพอประมาณ แช่อวัยวะส่วนที่บวมไว้สัก 30 นาที พักและทำซ้ำทุก 30 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น |
หลัง 48 ชั่วโมง ให้ประคบด้วยความร้อน |
-ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นจัดๆ แล้วประคบที่บริเวณบาดเจ็บ แต่ควรระวังไม่ให้บาดแผลเปียกน้ำ ทำวันละ 2 ครั้ง |
|
ริดสีดวงทวาร |
นั่งแช่ก้นในน้ำอุ่นๆ |
-ให้คุณแม่นำเอาอ่างขนาดพอดีก้น หรือใหญ่กว่าก้นก็ได้ แล้วเทน้ำอุ่นใส่ลงไป จากนั้นก็นั่งแช่ก้นสัก 20-30 นาที อาการริดสีดวงทวารจะดีขึ้น |
เจ็บคอ |
กลั้วคอ |
-นำน้ำอุ่นใส่แก้ว แล้วให้ละลายเกลือป่นลงไป 1 ช้อนชา อมกลั้วคอนานสัก 5 นาที ทำซ้ำบ่อยๆ หรือกลั้วคอทุก 2 ชั่วโมง |
ท้องอืด |
กินแต่พออิ่ม |
-คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะท้องอืดขึ้นนั้น เป็นเพราะเกิดลมในทางเดินอาหาร -การป้องกันไม่ให้เกิดลมในกระเพาะอาหาร คุณแม่ควรทานอาหารไม่ให้อิ่มจนเกินไปในแต่ละมื้อ เนื่องจากจะทำให้กระเพาะย่อยอาหารไม่ทัน -งดอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซในการย่อย เช่น กะหล่ำปลี หัวหอม และถั่ว |
น้ำหนักตัวของคุณแม่มาจากไหน
น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนของคุณแม่ตั้งครรภ์โดยรวมเฉลี่ยตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน น้ำหนักเฉลี่ยออกมาแล้วจะต้องเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 10-12 กิโลกรัม น้ำหนักมาจากไหน แยกได้ตามนี้ค่ะ
• น้ำหนักตัวทารกในครรภ์ 3,000 กรัม
• น้ำหนักทารก 500-700 กรัม
• น้ำหนักน้ำคร่ำ 1,000 กรัม
• กล้ามเนื้อมดลูก 1,000 กรัม
• เต้านม 300-500 กรัม
• ปริมาณเลือดที่เพิ่ม 1,000 กรัม
• ปริมาณน้ำในร่างกายของคุณแม่ 1,500 กรัม
• ไขมันสะสมในตัวแม่ 3,000 กรัม
(Some images used under license from Shutterstock.com.)