Haijai.com


การดูแลคุณแม่ที่เด็กทารกในครรภ์เป็นท่าก้น


 
เปิดอ่าน 19505

คำถามที่สูตินรีแพทย์พบบ่อยๆ จากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ใน 1-2 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด คือ “ ลูกกลับหัวลงหรือยังคะ”

 

 

เพราะเป็นที่คุณแม่ทราบกันอยู่ว่า  เด็กทารกในครรภ์ต้องกลับลงในอุ้งเชิงกราน  เพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอดออกมาโดยมีส่วนหัวเป็นส่วนนำ  และเป็นส่วนแรกที่คลอดผ่านช่องคลอดคุณแม่ออกมา ทำอย่างไรดีล่ะถ้าเด็กไม่กลับหัวลงมา  ถ้าเด็กทารกไม่กลับหัว ก็หมายความว่าเด็กเอาส่วนก้นลงมาหรือ นอนท่าขวาง เราเรียกเด็กที่เอาส่วนก้นลงมาว่า เด็กคลอดท่าก้น

 

 

ทารกที่มีส่วนนำเป็นก้น

 

การดูแลคุณแม่ที่เด็กทารกในครรภ์เป็นท่าก้น

 

1.ทารกอยู่ในท่าก้น โดยที่ขาท่อนบนงอแนบไปกับลำตัวและงอเข่าทั้งสองข้าง ลักษณะคล้ายท่านั่งขัดสมาธิ ทำให้ขาลงมาอยู่ในอุ้งเชิงกรานพร้อมกับส่วนก้น

 

การดูแลคุณแม่ที่เด็กทารกในครรภ์เป็นท่าก้น

 

2.ทารกอยู่ในท่าก้น โดยขาทั้งสองข้างแนบลำตัวและเข่าเหยียดออกชี้ขึ้นข้างบน ทารกมักใช้แขนกอดขาเอาไว้

 

การดูแลคุณแม่ที่เด็กทารกในครรภ์เป็นท่าก้น

 

3.ทารกอยู่ในท่าก้น โดยขาหนึ่งข้างหรือทั้งสองข้างยื่นลงมาเหนือปากมดลูก ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างขา ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากสายสะดือย้อยได้ง่าย

 

 

เมื่อตั้งครรภ์อ่อนๆ ทารกจะอยู่ในครรภ์โดยอยู่ในท่าใดก็ได้  ทั้งนี้เพราะเด็กจะลอยอยู่ในน้ำคร่ำได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะอยู่ในท่าใด จะเอาหัวหรือก้นลงก็ไม่เป็นปัญหา แต่เมื่อทารกโตขึ้นตามอายุครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 36 สัปดาห์ ทารกควรจะเอาหัวลงเป็นส่วนนำ ตามลักษณะรูปร่างบังคับของมดลูก ซึ่งส่วนล่างจะเล็กแคบ ส่วนบนจะขยายกว้างกว่าส่วนล่าง เมื่อทารกเอาหัวลงก็จะอยู่ในท่าที่พอดีกับรูปลักษณะของมดลูก

 

 

สาเหตุของทารกท่าก้น

 

ทารกที่คลอดท่าก้น ส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุ แต่มีปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อท่าของทารกในครรภ์เป็นท่าก้น เช่น ครรภ์แฝด, แฝดน้ำ, ภาวะน้ำคร่ำน้อยหรือน้ำคร่ำมากเกินไปในครรภ์, ทารกในครรภ์ผิดปกติ เช่น ทารกหัวบาตร ทารกไม่มีก้อนเนื้อสมอง รกผิดปกติ หรือมีเนื้องอกในอุ้งเชิงกรานที่หัวไม่ลง มักเกิดจากมีอุปสรรคขัดขวางในการคลอด  ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ การไม่ได้สัดส่วนกันระหว่างอุ้งเชิงกรานและขนาดศีรษะของทารก หากศีรษะของทารกมีขนาดใหญ่กว่าอุ้งเชิงกราน ก็ทำให้ทารกไม่สามารถเคลื่อนผ่านลงมาได้

 

 

การดูแลคุณแม่ที่เด็กทารกในครรภ์เป็นท่าก้น

 

ที่ตั้งครรภ์ครบกำหนดหรือ อายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ขึ้นไป ก่อนอื่นทั้งหมด  สูตินรีแพทย์จะประเมินปัจจัยที่ทำให้เด็กอยู่ในท่าก้น รวมทั้งารประเมินการไม่ได้สัดส่วนกันระหว่างอุ้งเชิงกรานและขนาดของทารก  ถ้าไม่ได้สัดส่วนกันและประเมินแล้วว่าไม่สามารถคลอดได้ทางช่องคลอด  หรือมีปัจจัยที่ชัดเจนว่าไม่สามารถคลอดท่าก้นทางช่องคลอดได้อย่างปลอดภัย  แพทย์ก็จำเป็นจะต้องผ่าตัดคลอดให้คุณแม่ทันที  เพราะการผ่าตัดคลอดในปัจจุบันมีความปลอดภัยต่อคุณแม่และทารก  และมีการเสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดคลอดบุตรในสมัยก่อนมาก

 

 

ข้อบ่งชี้ สำหรับการคลอดทารกที่มีส่วนนำเป็นก้น โดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่เป็นที่ยอมรับกัน คือ

 

1.ทารกตัวโต

 

2.มีภาวะช่องเชิงกรานแคบ

 

3.ทารกศีรษะแหงนมาก (Hyperextended head)

 

4.ไม่เจ็บครรภ์เองเมื่อครบ 40 สัปดาห์

 

5.ภาวะมดลูกหดรัดตัวผิดปกติ

 

6.ภาวะเด็กท่าก้นที่ยื่นเท้าออกมาก่อน  ทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดสายสะดือย้อยแลบออกมาในระหว่างขา  และทำให้เด็กเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

 

7.มีประวัติการเสียทารกจากการคลอด (Perinatal death or children suffering from birth trauma)

 

8.ต้องการทำหมัน (ในบางสถาบัน)

 

 

การที่ทารกอยู่ในท่าก้นจะเป็นอันตรายต่อทารก บางครั้งทำให้ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ เกิดเป็นการคลอดติดขัด ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งมารดาและทารก ปัจจุบันสูติแพทย์นิยมทำคลอดทารกในท่าก้นด้วยการผ่าตัดคลอด หากไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนอื่นๆ

 

 

การคลอดเด็กท่าก้นทางช่องคลอดนั้น  ต้องด้รับการประเมินอย่างละเอียดว่าเด็กจะสามารถคลอดออกได้อย่างปลอดภัย  คุณแม่ควรเป็นการตั้งครรภ์ท้องหลัง  สูติแพทย์มีความชำนาญพอ  มีบุคคลากรที่ครบ  และการดำเนินการคลอดและการเปิดของปากมดลูกเป็นไปในระยะเวลาที่ปกติ  ไม่เร็วหรือช้าเกินไปเด็กเป็นท่าก้นที่มีก้นเป็นส่วนนำทั้งหมด เป็นต้น

(Some images used under license from Shutterstock.com.)