© 2017 Copyright - Haijai.com
ทำอะไรก่อนเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับลูกน้อย
ขอแนะนำการปฏิบัติตัวเวลาเกิดอุบัติเหตุกับลูกน้อยค่ะ ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตและช่วยเหลือลูกได้อย่างถูกวิธี และปลอดภัยก่อนถึงมือคุณหมอค่ะ
สิ่งที่ต้องทำทันที
1.สังเกตว่าสถานที่นั้นๆ ปลอดภัยมากพอที่คุณจะช่วยเหลือลูกได้ เช่น กรณีที่ลูกถูกไฟดูด คุณควรปิดสวิตซ์หรือดึงปลั๊กไฟนั้นก่อนที่จะเข้าไปดูลูก
2.สังเกตว่าลูกมีสติและหายใจหรือไม่ กรณีที่ลูกไม่หายใจ ต้องปฐมพยาบาลเป็นการด่วน ก่อนนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
• สำหรับเด็กเล็ก ให้ใช้ฝ่ามือตบบริเวณหลังระหว่างสะบักสองข้าง
• สำหรับเด็กโต ให้กดแรงๆ ที่บริเวณลิ้นปี่ด้วยสันมือ (ทำอย่างไรเมื่อลูกป่วย : สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย)
3.ตรวจดูบาดแผลและปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น กรณีมีเลือดออก ให้ห้ามเลือดก่อน กรณีมีอาการบวม ให้ประคบด้วยน้ำแข็งใน 24 ชั่วโมงแรก แล้วค่อยใช้น้ำอุ่นประคบ
เมื่อใดต้องพบแพทย์
• ลูกหายใจลำบาก หมดสติ หรือหยุดหายใจ
• ลูกมีแผลลึก แผลไฟไหม้ หรือแผลพุพอง
• ลูกมีอุณหภูมิต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส
• ลูกมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส เกิน 3 วัน หรือมีไข้สูงตลอดเวลา
• ลูกได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ มีอาการหน้ามืด คลื่นไส้ หรืออาเจียน
• ลูกดื่ม หรือกินสารที่มีพิษเข้าไป หรือผิวไหม้จากสารเคมี
• ลูกมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ในร่างกาย
• ลูกถูกงู สัตว์หรือแมลงมีพิษกัด (ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติการแพ้)
• ลูกมีอาการอาเจียนต่อเนื่องมามากกว่า 6 ชั่วโมง และรุนแรง
• ลูกมีอาการไม่อยากอาหาร หรือไม่ทานอาหารผิดวิสัยปกติ
• ลูกอาจมีอาการกระดูกหัก
(Some images used under license from Shutterstock.com.)