© 2017 Copyright - Haijai.com
ทำไงดี เจ้าตัวดี แข้งขาหัก (First aid for Broken Bone)
“เอาอีกแล้ววววว เป็นแม่คนนี่มันช่างลำบากจริงๆ เลย เมื่อกี้เพิ่งจะหกล้มร้องไห้มา ไม่ทันไรก็ร้องไห้โดนมดกัด แล้วทีนี้อะไรล่ะ... ร้องไห้จ้ามาเลย อะไรนะ... ตกต้นไม้เหรอ ว้ายตายแล้ววว แขน... แขนหักหรือเปล่าเนี่ย” เด็กๆ ก็เป็นแบบนี้ล่ะค่ะ หาเรื่องนั่นนี่มาให้ปวดหัวเป็นประจำ ว่าแต่ว่าคราวนี้... ตกจากที่สูงเสียด้วยสิ...อืม..แขนขาหักหรือเปล่า…น่าสงสัย
สงสัยว่าเจ้าตัวดีคราวนี้จะแขนขาหักเสียแล้ว
บางครั้งอาการร้องไห้จัดๆ กุมแขนกุมขาของลูก ก็อาจทำให้คุณพ่อคณแม่สงสัยได้ว่าลูกแขนหรือขาหรือกระดูกตรงส่วนไหนแตกหักหรือเปล่า ซึ่งอาการกระดูกหักนี่เองสามารถทำให้เด็กๆ ปวดจากอาการบวม ช้ำ ยิ่งเวลาจะขยับเคลื่อนไหวร่างกายก็ลำบากเพราะเจ็บ อย่าพยายามเคลื่อนไหวเด็กๆ หรือส่วนใดๆ ของร่างกายที่ต้องสงสัยว่าจะหัก เพราะการเคลื่อนไหวโดยไม่รู้วิธีนั้นมักจะทำให้กระดูกได้รับบาดเจ็บหนักกว่าเดิม อาจจะกระทบต่อเส้นประสาท เนื้อเยื่ออื่นๆ รวมทั้งทำให้เลือดไหลมากกว่าเดิม แต่ถ้าแผลนั้นถ้ามีเลือดออกอยู่แล้วให้เช็ดด้วยผ้าสะอาดเบาๆ ก็พอค่ะ
ทำเฝือกแขนชั่วคราวให้ลูก
ถ้าลูกบาดเจ็บที่แขนและจำเป็นที่จะต้องทำเฝือกให้ลูกเอง อันดับแรกให้เอาแขนท่อนล่างวางขวางที่บริเวณอก ถ้าอาการบาดเจ็บรุนแรงมาก ให้ใช้ผ้าหรือหมอนรองระหว่างหน้าอกกับแขน ให้ใช้ผ้าพันแผลหรือผ้าบางๆ เริ่มที่บริเวณข้อศอก พันรอบพันทแยงโอบหลังของลูกมายังด้านหน้าอก ห่อแขนให้แขนยกขึ้น แปะผ้าพันแผลหรือติดเข็มกลัดกันผ้าที่เป็นเฝือกหลุด
กระดูกหักที่สังเกตไม่เห็น
กระดูกหักบางทีเป็นบริเวณที่เล็กๆ น้อยๆ สังเกตยาก ถ้าไม่แน่ใจ ให้รอดูอาการบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บสองวัน ถ้ายังมีอาการเจ็บอยู่หรือลูกบ่นว่าเจ็บกว่าเดิม บริเวณที่บาดเจ็บอาจจะมีรอยเขียวช้ำที่เด่นกว่าเดิมอาจจะกระดูกหัก หรือมีรอยเขียวช้ำเป็นทางยาว กระดูกอาจจะแตกได้ ให้รีบพาลูกไปหาหมอเพื่อเอกซเรย์ เพื่อหาทางรักษาต่อไป
(Some images used under license from Shutterstock.com.)