Haijai.com


โรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร


 
เปิดอ่าน 2698

โรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร

 

 

โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง การที่กระดูกอ่อนของเข่า มีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก นอกจานี้ ยังมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของหัวเข่า ก็จะเกิดการเสียดสีจนทำให้เกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน เมื่อข้อเข่าเคลื่อนไหว จะเกิดอาการเจ็บปวดและตึงบวมที่หัวเข่า

 

 

ข้อเข่าของคน ประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วน นั่นก็คือ

 

1.กระดูกต้นขา Femuur ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของเข่า

 

2.กระดูกหน้าแข็ง Tibia ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของเข่า

 

3.กระดูกสะบ้า Patella ซึ่งอยู่ส่วนหน้าของเข่า

 

 

และนอกจากนี้ ผิวของข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อน รูปครึ่งวงกลมห่อหุ้ม ทำหน้าที่กระจายน้ำหนัก ในข้อเข่าจะมีน้ำเลี้ยงเปรียบเสมือนน้ำหล่อลื่น เพื่อเป็นการป้องกันการสึกของข้อเข่า เมื่อเราเดินหรือวิ่ง ข้อของเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่ม ดังนั้น ยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าใด ข้อเข่าก็ต้องรับน้ำหนักมากเท่านั้น

 

 

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นสภาวะที่ข้อเข่าได้ถูกผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน เนื่องจากเจ้าของข้อเข่านั้น มีอายุมากหรือน้ำหนักมาก จนเกิดการเสื่อมของข้อตรงหัวเข่า เมื่อข้อเข่าเสื่อมจะทำให้มีการงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อ และมีการผิดรูปของหัวเข่า โรคข้อเข่าเสื่อม ทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง ทำให้คุณภาพในการดำเนินชีวิตลดลง อีกทั้งยังทำให้โรคอื่นๆ กำเริบได้อีกด้วย เช่น โรคเบาหวาน  ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

 

 

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม

 

เมื่อมีการเสื่อมของข้อเข่า กระดูกอ่อน และน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่ามากขึ้น หัวเข่าก็จะมีการโก่งโค้งงอ ทำให้เกิดอาการปวดหัวเข่าทุกๆ ครั้ง ที่มีการเคลื่อนไหวของหัวเข่า จนในที่สุดผู้ป่วย ต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นๆ กระดูกอ่อนจะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ และในที่สุดก็จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมา เมื่อมีการอักเสบ เยื่อหุ้มข้อจะสร้างน้ำเลี้ยงข้อเพิ่ม ทำให้ข้อมีขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรง กระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกันเวลาขยับข้อ จะเกิดการเสียดสีในข้อทำให้เจ็บปวดมาก

 

 

การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

 

 

ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันการสึกหรอของข้อเข่าไม่ให้เกิดขึ้น ได้แก่

 

 ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกิน

 

 หลีกเลี่ยงการคุกเข่า ขัดสมาธิ หรือนั่งยองๆ

 

 ขึ้นลงบันไดบ่อยครั้ง จนเกินไป

 

 ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน หรือ การออกกำลังกายในน้ำ

 

 รับประทานปลาตัวเล็กๆ และนมเพื่อเสริมแคลเซี่ยม

 

 

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

 

เราอาจจะพูดได้อย่างเต็มปากเลยก็ได้ว่า โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น เป็นโรคของผู้สูงอายุ หากเป็นแล้ว เราจะไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้เลย ดังนั้น การรักษาข้อเข่าเสื่อม จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ข้อโก่งงอ เป็นต้น

 

 

ในทางการแพทย์สามารถแบ่งการรักษาออกเป็น 3 วิธี ได้แก่

 

1.การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมจากพฤติกรรมทั่วๆ ไป

 

 หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น การยกของหนักมากเกินไป การนั่งพับเพียบนานเกินไป การนั่งยองๆ เป็นเวลานานๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ

 

 การลดน้ำหนัก เป็นปัจจัยที่ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้

 

 ให้ผ่อนคลายหัวเข่า หากมีอาการปวดข้อเข่า

 

 การออกกำลังและการบริหารกล้ามเนื้อหัวเข่า ช่วยชะลอการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้

 

 เวลาเดินหรือวิ่ง ให้ใส่รองเท้าที่พอดี และรองรับน้ำหนักได้ เพื่อช่วยซึมซับกันแรงกระแทกที่อาจจะเกิดขึ้นกับข้อเข่า

 

 เวลาขึ้นบันได ให้ใช้มือจับราวบันได้ทุกครั้ง เพื่อช่วยการพยุงตัว

 

 

2.การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการใช้ยา

 

 ยาแก้ปวด เป็นยาที่แก้ไขตามอาการ นั่นก็คือ การลดอาการปวดของข้อเข่า แต่ไม่ได้แก้อักเสบ พอหมดฤทธิ์ก็ปวดอีก เช่น ยาพาราเซตตามอล เป็นต้น

 

 ยาแก้อักเสบ steroid ใช้กันมากทั้งชนิดฉีดและรับประทาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการใช้ยา steroid มีผลข้างเคียง แพทย์จึงไม่แนะนำให้ใช้ หากไม่จำเป็น

 

 ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้ นิยมใช้กันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากใช้ยากลุ่มนี้ ก็ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น

 

3.การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัด

 

ปัจจุบันการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัด ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากผลการรักษาได้รับผลดี ข้อสำคัญโรคแทรกซ้อนนั้นก็มีไม่มาก เมื่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีอาการรุนแรง และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา แพทย์ก็อาจติดสินใจใช้การรักษา โดยการผ่าตัด

 

 

ผู้ป่วยต้องฟื้นฟูตนเอง ด้วยการทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง แต่อย่างไรก็ตาม อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมนี้ ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ใส่ข้อเข่าเทียมด้วย

 

 

ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีที่นิยมใช้อยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ นั่นก็คือ

 

1.การส่องกล้องล้าง (Artroscopic debridement)

 

แพทย์จะพิจารณาการรักษาชนิดนี้ ในรายที่การเสื่อมของข้อเข่ายังไม่มากนัก และขาของผู้ป่วยต้องยังไม่โก่ง

 

 

2.การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy)

 

แพทย์จะพิจารณาการรักษาชนิดนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเข่าโก่ง เล็กน้อย แพทย์จะทำการผ่าตัด เพื่อปรับให้กระดูกเอียงกลับมาในทิศทางตรงกันข้าม โดยต้องใส่เหล็กดามเข้าไป การผ่าตัดแบบนี้ เหมาะกับผู้ป่วยที่อายุยังน้อย และเข่ายังไม่เสื่อมมาก ที่สำคัญก็คือ เข่าต้องเสื่อมเพียงด้านเดียวเท่านั้น หากเข่าเสื่อมทั้ง 2 ด้าน จะไม่สามารถผ่าตัดด้วยวิธีนี้ได้ การรักษาแบบนี้ ผู้ป่วยอาจจะเดินลงน้ำหนักได้ช้า ต้องรอหลายสัปดาห์ ถึงจะลงน้ำหนักได้เหมือนเดิม ข้อดีก็คือ ยังไม่ต้องใส่ข้อเทียมในข้อเข่า

 

 

3.การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเสี้ยวเดียว (Unicompart mental knee replacement)

 

ซึ่งมักจะเป็นการเปลี่ยนด้านในของข้อเข่า เหมาะกับผู้ป่วยที่เข่ายังโก่งไม่มาก และอีกด้านหนึ่งของเข่ายังดีอยู่ และลูกสะบ้าก็ยังไม่เสื่อมมาก แผลผ่าตัดจะมีขนาดที่เล็ก หลังผ่าตัดเจ็บไม่มาก สามารถที่จะลงน้ำหนักเดินได้ ภายใน 3 วัน แต่ต้องมีการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าไปข้างใน ทำให้เสียเนื้อกระดูก

 

 

4.การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total knee replacement)

 

คือ การผ่าตัดที่ต้องเปลี่ยนผิวที่คลุมกระดูกข้อเข่าทั้งหมด มีลักษณะคล้ายๆ กับการครอบฟัน ที่เมื่อฟันผุก็จะนำวัสดุใดๆ เข้าไปครอบเอาไว้ วิธีนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง ที่ไม่สามารถใช้การผ่าตัดวิธีอื่นรักษาได้นั่นเอง

 

 

อนึ่ง “ข้อเข่าเทียม” ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิดหลักด้วยกัน ได้แก่

 

1.ข้อเข่าเทียมชนิดหมุนได้ (Mobile-bearing)

 

เป็นข้อเข่าเทียมที่มีส่วนเป็นพลาสติก ที่สามารถหมุนได้ ข้อเข่าเทียมชนิดนี้ เหมาะกับผู้ป่วยที่อายะน้อยๆ

 

 

2.ข้อเข่าเทียมธรรมดา (Fixed-bearing)

 

ลักษณะเหมือนข้อเข่าเทียมชนิดหมุนได้ แต่ส่วนที่เป็นพลาสติกจะอยู่นิ่งหมุนไม่ได้ ข้อเทียมชนิดนี้ จะมีราคาที่ถูกกว่าข้อเข่าเทียมชนิดหมุนได้

 

 

สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่า ควรจะรักษาด้วยวิธีการใด แพทย์จะคำนึงถึงความหนักเบาของอาการ รูปแบบการใช้ชีวิต และอายุของผู้ป่วย หลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแล้ว ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาเดินได้เหมือนปกติ ปากไม่มีผลแทรกซ้อนอื่นใด นอกจากนี้ ผู้ป่วยต้องฟื้นฟูตนเอง ด้วยการทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง มีรายงานว่ากว่า 90% สามารถใช้งานข้อเข่าเทียมได้นานถึง 20 ปี แต่อย่างไรก็ตาม อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียมนี้ ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ใส่ข้อเข่าเทียมด้วย อาทิ เช่น สภาพร่างกาย ระดับคามหนักเบาของกิจกรรม น้ำหนักตัว อายุของผู้ป่วย เป็นต้น

(Some images used under license from Shutterstock.com.)