
© 2017 Copyright - Haijai.com
นอนกับลูก อบอุ่นแต่อันตราย
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่าน อาจเคยสงสัยว่า นอนเตียงเดียวกับลูกอันตรายจริงหรือ? The Consumer Product Safety Commission (CPSC) แห่งสหรัฐฯ แนะนำว่าหนูน้อยที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรนอนร่วมเตียงกับผู้ใหญ่ เพราะมีความเป็นไปได้มากว่าทารกจะได้รับอันตราย ไม่ว่าจะจากการ ถูกพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ที่นอนร่วมเตียงด้วยกลิ้งทับ หรือเข้าไปติดอยู่ใต้ผ้าห่มจนขาดอากาศหายใจ เป็นต้น นอกไปจากนี้พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือรับประทานยาก่อนนอน ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนอนร่วมเตียงกับทารก รวมทั้งในวันที่คุณรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ และมีแนวโน้มว่าจะหลับสนิท ก็ยิ่งไม่ควรนอนร่วมเตียงกับลูกเช่นกัน
Baby Crib Safety
ทางเลือกที่ดีอีกประการหนึ่ง เพื่อให้หลับสบายและอุ่นใจทั้งคุณและลูกน้อยก็คือ การนอนร่วมห้อง แต่ไม่ร่วมเตียงค่ะ ซึ่งคุณสามารถทำได้โดยเลือกหาเตียงนอนสำหรับเด็กมาตั้งไว้ในห้องนอนเดียวกัน เพียงเท่านี้ก็ปลอดภัยและสบายใจทั้งคุณและเจ้าตัวเล็กแล้วค่ะ แต่ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น คุณก็ควรรู้หลักในการเลือกเตียงนอนสำหรับเจ้าตัวน้อยเสียก่อนด้วย
• เตียงนอนสำหรับเด็กควรต้องแข็งแรง ปลอดภัย มั่นคง และประณีตได้มาตรฐาน
• เบาะที่นอนควรมีเนื้อแน่น, ไม่ยุบไปตามน้ำหนักเด็ก, มีขนาดพอเหมาะใส่ลงในเตียงได้พอดี โดยไม่มีช่องว่างเหลือระหว่างที่นอนกับขอบเตียง เพราะลูกอาจดิ้นจนศีรษะไปติดได้ ทำให้เกิดอันตรายได้
• ซี่ลูกกรงแต่ละซี่ต้องไม่มีเหลี่ยมคม ควรจะมน และระยะห่างของซี่ลูกกรงแต่ละซี่ไม่ควรน้อยกว่า 25 เซนติเมตร และไม่ควรมากกว่า 60 มิลลิเมตร (6 เซนติเมตร) เพื่อศีรษะของลูกจะ ได้ไม่เข้าไปติดค้างจนเอาออกไม่ได้
• ตัวขัดแผงกั้นข้างเตียงต้องแข็งแรง ปลอดภัย ต้องเป็น ชนิดที่ลูกไม่สามารถปลดเองได้ แผงกั้นเตียงต้องเลื่อน ขึ้นลงได้อย่างนุ่มนวล และไม่สามารถให้นิ้วหรือเสื้อผ้าของลูกเข้าไปติดได้
• ถ้าใช้เบาะกันชนเพื่อป้องกันศีรษะกระแทก ควรแน่ใจว่าเชือกผูกได้มัดผูกอย่างแน่นหนา เชือกผูกไม่ควรยาวเกินไป หากยาวเกิน 18 เซนติเมตร ควรตัดออกบ้าง
(Some images used under license from Shutterstock.com.)