Haijai.com


ตำลึง


 
เปิดอ่าน 2943

ตำลึง

 

 

ตำลึงมีชื่อท้องถิ่นว่า ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตำลึง, สีบาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน) เป็นไม้เลื้อยเนื้อแข็ง โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีมือเกาะเป็นเส้นยาว ออกที่ข้อ ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีขาว รูประฆัง ผล เป็นผลสด รูปทรงกระบอก

 

 

นิยมใช้ยอด ใบอ่อน และผลอ่อน นำไปลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำยอดและใยอ่อนปรุงเป็นแกงจืด แกงเลียง แกงคั่ว แกงกะทิ ใส่ในก๋วยเตี๋ยว หรือผัดไข่เจียวใส่ใบตำลึงก็อร่อยดี สำหรับส่วนที่นำมาเป็นยา ได้แก่ เถา ใบสด ผล และราก โดยมีสารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ คือ เอนไซม์อะไมเลส เบต้าแคโรทีน

 

 

สรรพคุณทางยาและวิธีใช้

 

1.รักษาโรคเบาหวาน

 

วิธีใช้ ใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

 

 

2.ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ

 

วิธีใช้ ควรรับประทานสดๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน

 

 

3.ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ

 

วิธีใช้ นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับมดคันไฟ หรือใบตำแย)

 

 

4.แผลอักเสบ

 

วิธีใช้ ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น

 

 

5.แก้งูสวัด เริม

 

วิธีใช้ ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วนพอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ

 

 

6.แก้ตาช้ำตาแดง

 

วิธีใช้ ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้ว นำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา

 

 

7.ทำให้ใบหน้าเต่งตึง

 

วิธีใช้ นำยอดตำลึง ½ ถ้วย น้ำผึ้งแท้ ½ ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้าทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก

(Some images used under license from Shutterstock.com.)