Haijai.com


ชุมเห็ดเทศ


 
เปิดอ่าน 1473
 

ชุมเห็ดเทศ

 

 

ชุเห็ดเทศมีชื่อท้องถิ่นว่า ขี้คาก ลับมือหลวง เล็บมืนหลวง หมากกะลิงเทศ ส้มเห็ด จุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่ ตะลีพอ ตุ๊ยเฮียะเต่า ฮุยจิวบักทง เป็นไม้พุ่มสูง คล้ายต้นขี้เหล็ก

 

 

นิยมนำดอกมาต้มรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือเก็บดอกมาดองเกลือ 1 คืน รุ่งขึ้นใส่น้ำซาวข้าวหรือน้ำมะพร้าวห้าว หมักทิ้งไว้ 2 คืน จะมีรสเปรี้ยวนำมาเป็นผักเคียงจิ้มน้ำพริกได้ ไม่ควรกินเกิน 2-3 ดอก เพราะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย สำหรับส่วนที่นำมาเป็นยา ได้แก่ ดอกสด ใบสดหรือใบแห้ง โดยมีสารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ คือ มีสารแอนทราควิโนน กลัยโคซานด์ หลายชนิดได้แก่ emodin, aloe – emodin และ rhein ใช้เป็นยาระบายกระตุ้นลำไส้ใหญ่

 

 

สรรพคุณทางยาและวิธีใช้

 

1.แก้กลากเกลื้อน

 

วิธีใช้ ใช้ใบสด 4-5 ใบ ขยี้หรือตำให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อยทาบริเวณที่เป็นหรือใช้ใบตำรวมกับกระเทียม 4-5 กลีบ ผสมปูนแดงเล็กน้อยทาบริเวณที่เป็น โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อน ทาบ่อยๆ จนหายหายแล้วทาต่ออีก 7 วัน

 

 

2.แก้ฝีและแผลพุพอง

 

วิธีใช้ ใช้ใบและก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา แล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ชะล้างบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ถ้าเป็นมากให้ใช้ประมาณ 10 กำมือ ต้มอาบ

 

 

3.แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย

 

วิธีใช้ ใช้ช่อดอกสด 2-3 ช่อดอกต้มรับประทานกับน้ำพริก หรือนำใบสดหั่นตากแห้งใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 12 ใบ

 

 

4.แก้อาการท้องผูก

 

วิธีใช้ ใบแห้งบดเป็นผงปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอน ใช้ใบสด 8-12 ใบ อังไฟให้เหลือง หั่นเป็นฝอย ต้มกับน้ำ 1 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย รินเอาแต่น้ำ ใช้สำหรับดื่ม

 

 

ข้อควรระวังในการใช้

 

 ใบชุมเห็ดเทศถ้าไม่คั่วเสียก่อน จะเกิดอาการข้างเคียง คือ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อคั่วความร้อนจะช่วยให้สารที่ออกฤทธิ์ทำให้คลื่นไส้อาเจียนสลายไป

 

 ส่วนต่างๆ ของชุมเห็ดเทศมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน ซึ่งมีฤทธิ์ระบายโดยการกระตุ้นบีบตัวของลำไส้ใหญ่ จึงไม่ควรกินติดต่อกันนาน เพราะเมื่อไม่ได้รับยาจะทำให้ลำไส้ไม่ทำงานตามปกติ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)