© 2017 Copyright - Haijai.com
กะทกรก
กะทกรกมีชื่อท้องถิ่นว่า รก (ภาคกลาง) กระโปรงทอง (ภาคใต้) หญ้ารกช้าง (พังงา) ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี) เถาะเงาะ เถาสิงโต (ชัยนาท) ผักขี้หด (เลย) ผักแคลฝรั่ง (ภาคเหนือ) ลักษณะลำต้นจะเป็นเถาอุ้มน้ำ เถาแก่แข็งและเหนี่ยวสีน้ำตาล เถาอ่อนสีเขียวอมเหลือง มีมือเกาะยาวมีอายุเพียงปีเดียว มีใบเป็นรูปสามเหลี่ยม เส้นใบด้านล่างนูน เส้นใบด้านบนจมลงไปเห็นชัดเจน ตามเถา มือเกาะก้านใบและใบจะมีขนขึ้นอยู่เต็มไปหมด ออกดอกที่ซอกใบ ดอกสีขาวมีรกหุ้มฐานรองดอกเป็นร่างแห 3 แฉก ผลโป่งพอสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง มีเมล็ดมาก เนื้อหุ้มเมล็ด สีขาว รสหวานอมเปรี้ยว
นิยมนำยอดอ่อนมาต้มแล้วราดด้วยน้ำกะทินำมาเป็นผักจิ้มน้ำพริก สำหรับส่วนที่นำมาเป็นยา ได้แก่ เนื้อไม้ เปลือก เมล็ด ราก และใบ
สรรพคุณทางยาสมุนไพร เนื้อไม้ เป็นยาคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิด ใช้รักษาบาดแผล เปลือก นำมาต้มรมแผลที่เปื่อยเน่าทำให้แผลแห้ง เมล็ด ใช้ทาท้องเด็ก แก้ท้องอืดเฟ้อ ทำให้ผายลม โดยตำเมล็ดให้ละเอียด แล้วนำมาผสมกับน้ำสับปะรด ลมควันให้อุ่นและใช้ทาท้องเด็ก ราก ใช้ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้กามโรค ใบ นำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นน้ำมาดื่มเป็นยาขับพยาธิ หรือใช้เป็นยาเบื่อ หรือตำให้ละเอียดเอากากสุมศีรษะ แก้ปวดศีรษะแก้ไขหวัด
(Some images used under license from Shutterstock.com.)