
© 2017 Copyright - Haijai.com
ป้องกันโรคมะเร็งด้วยผักและผลไม้
“มะเร็ง” เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอัตราการเจ็บป่วยและการตายที่ค่อนข้างสูง นับเป็นอันดับที่ 3 รองจากโรคหัวใจและอุบัติเหตุ สาเหตุของการเกิดมะเร็งมีหลายสาเหตุ เช่น สารเคมี เชื้อไวรัส พยาธิ บุหรี่ แสงแดด รังสีเอกส์ สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ และอาหาร ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทุกอย่างที่เราสัมผัสอยู่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดมะเร็งได้ และมีคำกล่าวว่าหากต้องการให้มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรงไม่เป็นมะเร็งต้องหมั่นรับประทานพืชผัก ผลไม้เป็นประจำ จึงมีคำถามว่า “พืชผักผลไม้มีอะไรดี” พอสรุปได้ว่า พืชผักและผลไม้เป็นอาหารหลักหมู่ที่ 3 และ 4 ที่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ วิตามินและแร่ธาตุและสิ่งที่ไม่ใช่สารอาหารแต่จำเป็นต่อร่างกาย คือ ใยอาหารในปริมาณที่สูงช่วยให้ระบบขับถ่ายสะดวก นอกจากนี้ในพืชผัก ผลไม้ ยังมีสารอาหารกลุ่มแอนติออกซิแดนท์ อันได้แก่ วิตามินซี เบต้า แคโรทีน วิตามินอี เซเลเนียม ทองแดง แมกกานีส และสังกะสี ซึ่งเป็นตัวช่วยยับยั้งขบวนการเกิดมะเร็งได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะเป็นตัวทำลายและกวาดจับสารพิษที่เป็นตัวก่อมะเร็งหรือเรียกว่า อนุมูลอิสระ ไม่ให้ไปทำอันตรายต่อเซลล์ในร่างกายได้
เลือกอาหารที่มาจากพืช ตลอดระยะเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ททราบแล้วว่า อาหารเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง การรับประทานอาหารที่มาจากพืชรวมทั้งการรักษาน้ำหนักที่เหมาะสม และการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านโรคมะเร็ง เนื่องจากสารอาหาร วิตามินในพืชสามารถทำให้ร่างกายซ่อมแซมเซลล์ได้ดี ยับยังการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังทำลายสารที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการรับประทานผักและผลไม้เพิ่ม 2 หน่วย ร่วมกับการออกกำลังกายเพิ่ม จะสามารถป้องกันมะเร็งได้ร้อยละ 60-70 เช่น การเปลี่ยนขนมปังธรรมดาเป็นขนมปังธัญพืช
ให้รับประทานอาหารพวกผักชนิดใหม่ๆ ซึ่งจะเพิ่มความอยากรับประทานอาหารพวกผัก ให้มีอาหารพร้อมปรุงที่ทำจากพืชไว้ในตู้เย็น เช่น พวกถั่วต่างๆ อาหารแช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง ให้ใช้ถั่วในการปรุงอาหาร เช่น ผสมในสลัด ใส่ถั่วในส้มตำ ใส่ถั่วในแกง อาจจะใช้ถั่วได้หลายชนิด เช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแขก เม็ดมะม่วงหิมะพาน ให้รับประทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์สัปดาห์ละครั้ง หัดปรุงอาหารที่ทำจากพืช
ในพืชผัก ผลไม้ ยังมีสารอาหารกลุ่มแอนติออกซิแดนท์ อันได้แก่ เบต้า แคโรทีน วิตามินอี เซเลเนียม ทองแดง แมกกานีส และสังกะสี ซึ่งเป็นตัวช่วยยับยั้งขบวนการเกิดมะเร็งได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
รับประทานผักและผลไม้เพิ่ม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าอาหารที่เรารับประทานควรจะมาจากพืชเสีย 2/3 เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว ส่วนที่เหลือ 1/3 มาจากเนื้อสัตว์และนม วิธีการที่จะรับประทานเนื้อสัตว์ให้ลดลงทำได้ดังนี้
ใช้เนื้อเพียงแค่ปรุงรสเท่านั้น ไม่ใช่อาหารหลักอย่างบ้านเราทำกัน คือ ผัดผักใส่หมูหรือกุ้งเพื่อปรุงรสและกลิ่น รับประทานอาหารโปรตีนที่ทำจากพืช เช่น เนื้อปลอมที่ทำจากถั่วเหลืองหรือจากเห็ด เลือกอาหารว่างที่ทำจากพืช เช่น น้ำผลไม้ ผลไม้ต่างๆ เลือกผลไม้กระป๋องไว้ประจำบ้าน ควรเลือกผลไม้ที่บรรจุในน้ำผลไม้ หรือน้ำไม่ควรใส่น้ำหวานหรือเกลือ รับประทานผักใบเขียวให้มาก มื้อกลางวันให้รับประทานสลัด ใช้รับผลไม้หลังจากรับประทานอาหารหากท่านรับประทานผักและผลไม้มากเท่าใด ท่านจะได้รับสารอาหาร วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะต่อสู้กับมะเร็ง
ในปัจจุบันได้มีการศึกษาศักยภาพของผักผลไม้ ในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกันมาก เนื่องจากในระยะหลังๆ นี้ มีผู้รายงานเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง การเพิ่มการบริโภคผักต่างๆ และผลไม้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งออกมาเรื่อยๆ เช่น มีรายงานว่า การบริโภคผักตระกูลกะหล่ำ และผักผลไม้สีเขียว สีเหลือง จะทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งระบบทางเดินหายใจ และมะเร็งอวัยวะระบบทางเดินอาหาร
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ผักเหล่านี้ สามารถยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งในสัตว์ทดลองที่ได้สารก่อมะเร็ง 9-0 dimethybenz(a) anthracene มะเร็งตับที่เกิดจากสารก่อมะเร็ง aflatoxin B1 มะเร็งกระเพาะอาหารที่เกิดจากสารก่อมะเร็ง Benz(a) pyrene และมะเร็งปอดที่เกิดจากสารก่อมะเร็ง NNK ซึ่งเป็นสารเคมีในใบยาสูบ ในปี 2540 ได้มีข้อสรุปของผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ในการประชุมมะเร็งโลก เรื่องอาหารและโภชนาการกับการป้องกันมะเร็ง จัดโดย World Cancer Research Fund และ American Institute for Cancer Research และได้รายงานความสามารถในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆ โดยการเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ให้หลากหลายเป็นประจำ โดยแนะนำให้บริโภคผักและผลไม้อย่างน้อย 400-800 กรัมต่อวัน สำหรับในสหรัฐอเมริกา มีการรณรงค์ให้กินผักและผลไม้วันละ 5 ส่วน (ปริมาณ 400 กรัม) ต่อวัน โดยอาจเพิ่มผักสดหรือผักสุก ผลไม้สดหรือผลไม้กระป๋อง และหรือน้ำผักผลไม้คั้นก็ได้
หลักง่ายๆ ในการคิดเทียบปริมาณผักและผลไม้เป็นส่วนๆ มีดังนี้
• ผักสด 1 ถ้วยตวง มีค่าเท่ากับ 1 ส่วน
• ผักต้มหรือผัดต่างๆ 1 ถ้วยตวง มีค่าเท่ากับ 2 ส่วน
• ผลไม้สด เช่น ส้ม 1 ผล มีค่าเท่ากับ 1 ส่วน
• และมะละกอ 8-10 คำ มีค่าเท่ากับ 1 ส่วน ผลไม้คั้น เช่น น้ำส้มคั้น 1 แก้ว มีค่าเท่ากับ 2 ส่วน
ความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ กับการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
หลักฐานบงชี้ |
อวัยวะที่ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง |
1.มีหลักฐานยืนยันชัดเจน (Convincing) |
ผักและผลไม้ : ช่องปากและคอหอย หลอดอาหาร ปอด กระเพาะอาหา |
2.มีความเป็นไปได้สูง (Probable) |
ผักและผลไม้ : กล่องเสียง ตับอ่อน เต้านม กระเพาะปัสสาวะ |
3.มีความเป็นไปได้ (Possible) |
ผักและผลไม้ : ปากมดลูก รังไข่ มดลูก ต่อมไทรอยด์ |
ในปัจจุบันพบสารเคมีที่มีศักยภาพในการป้องกัน หรือยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งในผักและผลไม้ มากมายหลายชนิด โดยที่ในผักต่างๆ ผลไม้ และพืชอื่นๆ มีสารพวกแอนติออกซิแดนท์ วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ รวามทั้งสารป้องกันมะเร็งหลายชนิดที่เรียกรวมๆ กันว่าเป็นสารไอโอแอคทีพ (Bioactive) หรือไฟโต-เคมีคัล (Phyto Chemical) ต่างๆ ดังนั้น จึงมีการแนะนำให้เพิ่มการบริโภคพืชผักและผลไม้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีสารป้องกันมะเร็ง เช่น ผักกลุ่มตระกูลกะหล่ำ กระเทียม (Allium) ผักและผลไม้สีเขียว สีเหลือง ซึ่งมีเบต้า แคโรทีน ผลไม้ต่างๆ และชาเขียว เป็นต้น เพื่อการป้องกันหรือลดการเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งบางชนิด ดังตะรางราง
• กลุ่มสารยับยั้ง ซึ่งป้องกันการเกิดสารก่อมะเร็ง หรือการดูดซึมสารก่อมะเร็ง
ตารางแสดง พืชผัก ผลไม้ ที่มีคุณสมบัติลดความเสี่ยงหรือป้องกันมะเร็ง
พืช ผัก ผลไม้ |
สายป้องกันมะเร็ง |
อวัยวะที่อาจป้องกันได้ |
ผักตระกูลกะหล่ำ |
Isothiocyanates, dithiolethiones |
ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลาย กระเพาะปัสสาวะ ต่อมไทรอยด์ |
พืชตระกูลกระเทียม |
Organosulfur compound |
กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ |
น้ำมันผิวส้ม |
Limonene |
เต้านม กระเพาะอาหาร ปอด |
ผลไม้ตระกูลส้ม มะนาว ฝรั่ง สตรอเบอรี่ แคนตาลูป ผักใบเขียว |
Vitamin C |
กระเพาะอาหาร ช่องปาก หลอดอาหาร เต้านม กล่องเสียง ตับอ่อน |
ผลไม้สีเหลือง สีส้ม สีเขียวเข้ม |
Beta-carotene |
ปอด กระเพาะอาหาร ช่องปาก กระเพาะปัสสาวะ |
เมล็ดพืช ถั่วต่างๆ |
Protease inhibitors, Calcium |
ลำไส้ใหญ่, เต้านม ตับ |
ธัญพืช ผัก ผลไม้ ทุกชนิด |
Fiber Ellagic agic |
ลำไส้ใหญ่ |
ขมิ้น |
Curcumin |
ลำไส้ใหญ่ เต้านม กระเพาะอาหาร |
รากชะเอมเทศ |
18 Beta-Glycyrrhetinic acid |
ลำไส้ใหญ่ เต้านม |
(Inhibitors preventing carcinogen formation and/or absorption) ได้แก่ วิตามินซี วิตามินอี และเส้นใยอาหาร เป็นต้น
• กลุ่มสารสกัดกั้นการเกิดมะเร็ง (Blocking Agents) ซึ่งยับยั้งการเกิดมะเร็ง โดยป้องกันมิให้สารก่อมะเร็ง ไปทำปฏิกิริยากับโมเลกุลเป้าหมาย เช่น ดีเอนเอ (DNA) ได้แก่ ไอโซไธโอไซยาเนต (Isothicyanate) ไดไธโอลไธโอน (Dithiolthione) ออร์แกโนซัลเฟอร์ (Organosulfur) และเบต้า แคโรทีน
• กลุ่มสารกดการเปลี่ยนแปลง (Suppressing Agents) ซึ่งยับยั้งกระบวนการเกิดมะเร็ง โดยกดการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์ที่ได้รับสารก่อมะเร็งไปเป็นเซลล์มะเร็ง กลุ่มสารพวกนี้ ได้แก่ เบต้า แคโรทีน แอนตีฮอร์โมน (Antihormone) และยาต่อต้านการอักเสบ (Antiinflammatory drug) เช่น แอสไพริน และสารประกอบพีนอล
จากตางรางข้างต้นนี้ เป็นรายงานที่นำเสนอในการประชุมวิชาการโภชนาการของไทย พ.ศ. 2541 โดย ดร.วรรณี คูสำราญ จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติของไทย ซึ่งสถาบันฯ ได้มีการศึกษาพืชผักผลไม้หลายชนิด ทั้งพืชผักพื้นบ้าน และผักประจำท้องถิ่น เพื่อค้นหาศักยภาพในการป้องกัน หรือยับยั้งการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ ดร.วรรณี คูสำราญ ได้รายงานสรุปการศึกษาบทบาทของดอกสะเดาและมะระขี้นก ในการยับยั้งมะเร็งเต้านมในหนูขาวเพศเมีย และดอกสะเดายังสามารถยับยั้งมะเร็งตับในหนูขาวเพศผู้ ที่ได้รับสาร Aflatoxin AFB1 ได้อย่างชัดเจน
(Some images used under license from Shutterstock.com.)