
© 2017 Copyright - Haijai.com
การนอนช่วยพัฒนาสมองลูกน้อยอย่างไร Baby Sleep
“เราใช้เวลา 1 ใน 3 ของช่วงชีวิตไปกับการนอนหลับ”
Quick Fact About Sleep
คุณแม่รู้หรือไม่ว่า ?
• เด็กไทยและเด็กทั่วโลก กำลังนอนน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ เด็กไทยนอนน้อยกว่าที่ควรไป 2 ชั่วโมง
• เวลาที่เด็กนอนหลับสนิท สมองจะหลั่งฮอร์โมนการเติบโตGrowth Hormone ส่งผลให้ลูกเติบโตและตัวสูง
• ช่วงที่ร่างกายได้หลับลึก จะพบว่าตัวลูกจะเย็นลง เป็นเพราะร่างกายกำลังเผาผลาญพลังงาน และมีการซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ หากไม่มีการหลับที่ลึกพอ ทำให้เซลล์ไม่ได้รับการซ่อมแซม เซลล์เหล่านั้นก็อาจกลายเป็นมะเร็งได้
• เด็กแรกเกิดควรนอน 18-20 ชั่วโมงต่อวัน
• การนอนที่ดีเราต้องปลูกฝังตั้งแต่วัยทารก พูดถึงแต่เรื่องดีๆ หรือจะเปิดเพลงก็ได้ เพราะจะเป็นตัวนำไปสู่การนอนที่ดี
พฤติกรรมการนอนของลูกน้อย
ความต้องการจำนวนชั่วโมงการนอนในแต่ละวันของแต่ละคนแตกต่างกัน ชั่วโมงที่เหมาะสมของแต่ละวัยโดยประมาณ
อายุ |
ระยะเวลาการนอนหลับในแต่ละวัน |
เด็กแรกเกิด (1-2 เดือน) |
16-18 ชั่วโมง |
เด็กวัย 3-11 เดือน |
14-15 ชั่วโมง |
เด็กวัย 1-3 ปี |
12-14 ชั่วโมง |
เด็กวัย 3-5 ปี |
11-13 ชั่วโมง |
ฝันร้ายของลูกน้อยและวิธีป้องกัน
• คุณพ่อคุณแม่จะทราบว่าลูกน้อยฝันร้าย ก็ต่อเมื่อลูกสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก ร้องงอแง ผวาหวาดกลัว กว่าจะยอมนอนหลับอีกก็อาจต้องใช้เวลาปลอบใจกันนาน
• ฝันร้าย (nightmare) ต่างจากการนอนผวา(night terror) เพราะการนอนผวานั้น เด็กๆ จะหลับต่อไปได้ในทันที
• สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยฝันร้าย มีหลายประการตั้งแต่ความเครียดของลูก (เพิ่งหย่านมแม่,หัดนั่งกระโถน ฯลฯ) นอนหลับไม่สบายเพราะความเปียกชื้น รวมถึงการได้ฟัง หรือได้ดู เรื่องที่น่ากลัวด้วย
• การป้องกันฝันร้ายจึงทำได้โดย หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกได้ยินได้ฟังเรื่องราวน่ากลัวต่างๆ จัดช่วงเวลาก่อนนอนให้เป็นเวลาที่ผ่อนคลาย เช่น อาบน้ำอุ่นๆ ให้ลูกก่อนนอน เปิดเพลงบรรเลงเบาๆ รวมทั้งเลือกผ้า อ้อมสำเร็จรูปที่เหมาะกับวัยของลูก ซึมซับดีเยี่ยม เพื่อให้หนูน้อยนอนหลับสบายตลอดทั้งคืน
ปัจจัยสู่การนอนหลับที่ดี
การนอนหลับที่ดีต้องประกอบด้วย คุณภาพและปริมาณที่เหมาะสมกับ เพศ วัย เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 7 เดือน ถ้ารับประทานอาหาร และนอนให้เป็นเวลา ลูกก็จะเริ่มมีจังหวะตื่นและหลับ ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ และหลังคลอด ถ้าคุณพ่อคุณแม่ อยากสร้างนิสัยการนอนที่ดีสำหรับลูก ก็ต้องเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน กลางคืนหลับไปแล้วอาจจะต้องตื่นมารับประทานนมบ้างก็ไม่ว่ากัน พอถึง 6-8 เดือนพยายามลดลงเหลือครั้งเดียว พออายุ 1 ปีควรหัดให้เด็กนอนยาวตลอดคืนโดยไม่มีนมรอบดึก
รู้หรือไม่ว่า การนอนหลับที่ดี สำหรับทารกในช่วงขวบปีแรกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการตามเกณฑ์ เรียนรู้ และจดจำสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว การป้องกันความเปียกชื้นจากการขับถ่ายขณะที่ลูกนอนหลับ ด้วยผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่มีคุณสมบัติการซึมซับดีเยี่ยม และมีรูระบายอากาศ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกน้อยหลับสบายได้ยาวนาน ส่งผลต่อพัฒนาการที่สมวัย
พ.ญ. นิตยา คชภักดี
(Some images used under license from Shutterstock.com.)