Haijai.com


ไตวายเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง


 
เปิดอ่าน 6779

ไตวายเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง

 

 

ปัจจุบันอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังทั่วโลกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3-10 ของจำนวนประชากรแต่ละประเทศ ในประเทศไทยพบว่าจำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะที่ต้องล้างไต มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ป่วยเดิมที่อยู่ในระบบในแต่ละปี โดยหักจนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตออกไปแล้ว ในขณะนี้เรามีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ต้องล้างไตอยู่ประมาณ 30,000 คน ซึ่งจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น หมายถึงสูญเสียในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องคุณภาพชีวิตของตัวผู้ป่วยเอง ภาระค่าใช้จ่าย และทรัพยากรบุคคลที่จะช่วยกันพัฒนาประเทศชาติ ปัญหาของไต จึงไม่ใช่ปัญหาไกลตัว เราทุกคนต้องใส่ใจ

 

 

ไต มีอยู่ 2 อัน ตำแหน่งอยู่ค่อนไปทางด้านหลัง เมื่อเอามือเท้าเอว บริเวณที่นิ้วโป้งแตะอยู่คือตำแหน่งของไต ไตมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ คือ

 

 กรองของเสียและเกลือแร่ ที่ร่างกายไม่ต้องการแล้ว ขับออกมาในรูปของปัสสาวะ

 

 

 ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ และความเป็นกรดด่างของร่างกาย

 

 

 ผลิตฮอร์โมนบางตัว อาทิ เช่น อิริโทรพอยอิติน (erythropoietin) ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง

 

 

สาเหตุและกลไกการเกิดโรค

 

สาเหตุของการเกิดไตวายเรื้อรังมีอยู่ 3 ประมาณ ได้แก่

 

 การป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน (ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของโรคไต) ความดันเลือดสูง และเกาต์

 

 

 ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ได้แก่ โรคเอสแอลอี ซึ่งสามารถทำให้การทำงานของไตเสื่อมลง และโรคโปรตีนรั่วทางปัสสาวะ (nephritic syndrome) ซึ่งโดยปกติ หน่วยไตสามารถกั้นไม่ให้โปรตีนรั่วออกมา แต่ในผู้ป่วย nephritic syndrome โปรตีนจะถูกขับออกมามาก ทำให้ผู้ป่วยเสียโปรตีน และเกิดอาการบวมตามมา

 

 

 การใช้ยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณ ยาแผนปัจจุบัน ได้แก่ ยาแก้ปวดข้อต่างๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป หรือการใช้ยาแผนโบราณที่ไม่มีการศึกษาอย่างเพียงพอ ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย นอกจากนี้ อาหารบางชนิด เช่น มะเฟืองบางสายพันธุ์ ก็เกิดพิษต่อไตได้

 

 

เมื่อไตได้รับผลกระทบจากความผิดปกติต่างๆ ในเบื้องต้น จะยังไม่เป็นไตวายเรื้อรัง แต่เมื่อถูกกระทบนานๆ แล้วไม่สามารถแก้ไขให้หายได้ ก็จะทำให้หน่วยกรองไตมีจำนวนลดลง จนเกิดภาวะที่ไตทำงานไม่เพียงพอหรือโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งจะมีความผิดปกติในการทำหน้าที่ทั้ง 3 ประการ คือ

 

 ด้านการขับน้ำ ไตจะไม่สามารถขับน้ำออกได้ตามปกติ ทำให้ตัวบวม และมีของเสียคั่งในเลือด ซึ่งถ้าหากของเสียมีปริมาณสูง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตได้

 

 

 ด้านสมดุลของเกลือแร่และความเป็นกรดด่างในร่างกาย ผู้ป่วยจะมีภาวะเกลือแร่แปรปรวน โซเดียมอาจจะสูงหรือต่ำผิดปกติ โปแตสเซียมจะมีค่าสูงขึ้น เลือดมีความเป็นกรดมากขึ้น

 

 

 ด้านการสังเคราะห์ฮอร์โมน ไตจะไม่สามารถสังเคราะห์อิริโทรพอยอิติน ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยจึงเกิดภาวะเลือดจางและซีด

 

 

ในเบื้องต้นการสูญเสียการทำหน้าที่ทั้ง 3 ประการของไตจะเกิดขึ้นน้อย แต่เมื่อไตเสื่อมมากขึ้นเรื่อยๆ จนการทำงานของไตเหลือน้อยกว่า 6% จะทำให้อาการรุนแรงอย่างมาก ภาวะของเสียในเลือดที่มีปริมาณสูงจะไปรบกวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายจนผิดปกติไป เช่น สมองจะรับรู้และตอบสนองช้าลง ซึม หมดสติ หรือเส้นเลือดต่างๆ จากที่เคยป้องกันน้ำซึมผ่านก็ปล่อยให้มีน้ำรั่วเข้ามาที่ปอด เกิดภาวะน้ำท่วมปอดได้ ระบบขับถ่ายและระบบกลืนอาหารทำงานผิดปกติ เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จนผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้เลย ซึ่งเมื่อเกิดภาวะเหล่านี้มากๆ ผู้ป่วยก็จะเสียชีวิตได้หากปล่อยทิ้งไว้

 

 

เมื่อไตได้รับผลกระทบจากความผิดปกติต่างๆ ในเบื้องต้นจะยังไม่เป็นไตวายเรื้อรัง แต่เมื่อถูกกระทบนานๆ แล้วไม่สามารถแก้ไขให้หายได้ ก็จะทำให้หน่วยกรองไตมีจำนวนลดลง จนเกิดภาวะที่ไตทำงานไม่เพียงพอหรือโรคไตวายเรื้อรัง

 

 

สัญญาณเตือน

 

โรคไตมีข้อเสีย คือ ถ้าเป็นน้อยๆ จะยังไม่มีอาการ จะเริ่มมีอาการแสดงให้เห็นก็ต่อเมื่อ เป็นมากพอสมควรแล้ว ดังนั้น เมื่อใดที่ร่างกายมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าไตของเรามีปัญหามากพอสมควรแล้ว คือมากกว่าระยะปานกลาง

 

1.บวม อาการบวมของโรคไตเป็นการบวมน้ำ เพราะไตจะขับน้ำไม่ออก น้ำที่ค้างในตัวจะเคลื่อนไหวไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพราะฉะนั้นเวลายืน จึงมีอาการบวมที่ขา เริ่มตั้งแต่อุ้งเท้า ข้อเท้า หน้าแข็ง แต่เมื่อนอนจะเปลี่ยนมาบวมที่หลัง บางคนนอนมากก็จะบวมที่ตา อาการบวมเป็นอาการสำคัญที่พาผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุด ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยเพื่อแยกจากโรคหัวใจและตับแข็ง

 

 

2.ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเองตามอายุ คือ อายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้น แต่อีกส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากโรคไต ภาวะไตวายจะกระทบต่อการสร้างฮอร์โมน ที่ควบคุมความดันโลหิตในร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อีกปัจจัยหนึ่งคือผู้ป่วยโรคไตจะมีน้ำและเกลือแร่คั่งอยู่ในร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่มีความดันโลหิตสูงขึ้น ต้องเช็คไตว่าเสื่อมลงหรือไม่

 

 

3.ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะเป็นหน้าต่างของไต เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการผลิตของไต ซึ่งเราจะแบ่งพิจารณาเป็น 2 ส่วน คือ ในแง่ปริมาณและคุณภาพ ในแง่ปริมาณผู้ป่วยจะมีปัสสาวะน้อยกว่า 400 ซีซีต่อวัน หรือปัสสาวะออกมาไม่สมดุลกับปริมาณน้ำที่ดื่มเข้าไป และในแง่ของคุณภาพ เช่น การตรวจพบเม็ดกรวดในปัสสาวะแสดงถึงการมีนิ่ว ปัสสาวะมีสีแดงคล้ายน้ำล้างเนื้อแสดงว่ามีเม็ดเลือดแดงปนมา หน่วยไตอาจมีการอักเสบ ปัสสาวะมีฟองมาก อาจจะมาจากโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เป็นต้น

 

 

การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง ต้องเริ่มต้นรักษาที่สาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ก็ต้องควบคุมให้ได้ และต้องหยุดยั้งไม่ให้ไตเสื่อมมากขึ้น เนื่องจากโณคไตวายเรื้อรังเป็นแล้วไม่หาย มีแต่จะรุนแรงขึ้น เพราะหน่วยกรองไตที่ทำงานได้มีจำนวนน้อยลง

 

 

ขั้นตอนการรักษา

 

การรักษาโรคไตวายเรื้อรัง ต้องเริ่มต้นรักษาที่สาเหตุ เช่น ถ้าเป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ก็ต้องควบคุมให้ได้ และหยุดยั้งไม่ให้ไตเสื่อมมากขึ้น เนื่องจากโรคไตวายเรื้อรังเป็นแล้วไม่หาย มีแต่จะรุนแรงขึ้น เพราะภาวะในการกรองของเสียเพิ่มขึ้น การชะลอไม่ให้ไตเสื่อมทำได้โดย การลดอาหารที่มีโปรตีนสูง เพราะโปรตีนจะทำให้เกิดของเสียในเลือดที่เรียกว่า Blood urea nitrogen (BUN) ซึ่งจะถูกขับออกที่ไต ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น ผู้ป่วยจึงควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนต่ำ และเป็นโปรตีนคุณภาพ เช่น เนื้อปลา นอกจากนี้แพทย์อาจจะสั่งยาบางชนิดที่สามารถ ชะลอความเสื่อมของไตได้ เช่น ยาลดความดันโลหิตในกลุ่ม ACEI และ ARB ในกรณีที่ผู้ป่วยภาวะเลือดจาง แพทย์อาจให้ธาตุเหล็กในรูปยารับประทานหรือยาฉีด ถ้าอาการรุนแรง

 

 

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ที่รับประทาน ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ตลอดจนระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะไตของผู้ป่วยทำงานได้น้อยลง โอกาสที่ยาจะค้างในร่างกายจนเกิดความเป็นพิษ จึงมีมากกว่าคนปกติ

 

 

อย่างไรก็ตามเนื่องจากเมื่อเป็นโรคนี้นานไปเรื่อยๆ การทำงานของไตจะลดลง เมื่อถึงระยะหนึ่งผู้ป่วยจะต้องรับการรักษาทดแทนไต หรือการล้างไต ซึ่งประกอบด้วยการฟอกเลือด การล้างไตผ่านช่องท้อง และการปลูกถ่ายไต

 

 

เนื่องจากการที่มีอาการย่อมบ่งชี้ว่าโรคไตเรื้อรัง ได้ดำเนินมาถึงขั้นรุนแรงแล้ว ทุกคนจึงควรป้องกันโดยการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการตรวจค่า BUN และ creatinie หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในกรณีที่เป็นโรคเรื้อรังก็ต้องคุมอาการของโรคให้ดี สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ถ้ามีความผิดปกติใดๆ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที และในกรณีที่ต้องการรับประทานยาหรืออาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

 

 

สุดท้ายอยากให้ท่านผู้อ่านได้รูจักและตระหนักว่า โรคไต เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย หากเป็นแล้ว จะกระทบต่อคุณภาพชีวิต และมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เพราะฉะนั้นอยากให้ทุกคนเข้าใจ ถึงสาเหตุและการป้องกันดังที่กล่าวมาแล้ว รวมทั้งถ้าเป็นไปได้ให้ตรวจเช็คร่างกาย โดยเน้นตรวจไตเป็นประจำทุกปี ร่วมกับการป้องกันความเสี่ยงอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โรคไตย่างกรายเข้าสู่ตัวเรา เพราะว่าทุกคนทุกอายุล้วนมีโอกาสเป็นโรคไตได้ทั้งนั้น

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความน่ารู้ romrawin รมย์รวินท์ ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex