Haijai.com


ข้อสะโพกเทียมไม่แท้แต่แก้ได้


 
เปิดอ่าน 7619

ข้อสะโพกเทียมไม่แท้แต่แก้ได้

 

 

ข้อสะโพกเป็นข้อหนึ่งในร่างกายที่ต้องรับน้ำหนักตัวของเรามากที่สุด ผู้ที่มีปัญหาข้อสะโพกจะเคลื่อนไหวข้อสะโพกได้ไม่ดี รู้สึกปวดทรมานทุกครั้งเวลาเดินลงน้ำหนัก บางรายปวดมากจนเดินไม่ไหว ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วย “การผ่าตัดเปลี่ยนสะโพกเทียม”

 

 

ข้อสะโพกเป็นรอยต่อระหว่ากระดูกเชิงกรานกับกระดูกต้นขา ประกอบไปด้วย 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนที่เป็นหัวกระดูกสะโพกมีรูปร่างกลมเหมือนลูกบอล และส่วนที่อยู่บนสุดของกระดูกต้นขา ส่วนของหัวกระดูกจะอยู่พอดีภายในส่วนที่เรียกว่เบ้าสะโพก ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกะทะครึ่งวงกลมอยู่ในกระดูกเชิงกราน ทั้งหัวกระดูกสะโพกและเบ้าสะโพกจะมีผิวกระดูกอ่อนเคลือบอยู่ ผิวกระดูอ่อนนี้มีลักษณะเรียบเป็นมันสีขาวคล้ายไข่มุก ทำให้เวลาที่มีการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกทั้งขณะที่เราเดินหรือลุกนั่งเป็นอย่างราบรื่น ไม่รู้สึกเจ็บปวด นอกจากนี้ข้อสะโพกยังมีส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อเป็นส่วนประกอบ ส่วนแรกเป็นเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างหัวสะโพกและเบ้าสะโพก ช่วยให้ข้อมือความมั่นคง อีกส่วนมีส่วนมีลักษณะเป็เนื้อเยื่อบางคลุมบริเวณทั้งหมดของข้อสะโพก ในข้อปกติภายในเนื้อเยื่อนี้ มีของเหลวที่ทำหน้าที่หล่อลื่นช่วยให้ข้อเคลื่อนไหวได้ราบรื่น

 

 

โรคของข้อสะโพกที่พบบ่อยในคนไทย

 

-โรคหวกระดูกสะโพกขาดเลือด เกิดจากภาวะที่มีเลือดไปเลี้ยงหัวกระดูกสะโพกได้น้อยกว่าปกติ ทำให้หัวกระดูกสะโพกค่อยๆ ตายลงจนผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ และมีอาการเจ็บปวดอย่างมากเวลาเดินลงน้ำหนัก โรคนี้มักพบในคนอายุ 30-40 ปี ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ

 

 

-โรคข้อสะโพกเสื่อม ส่วนใหญ่พบในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยมักมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับข้อสะโพกตั้งแต่เด็ก ซึ่งมักพบในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ อาการของโรคเกิดจากผิวข้อสะโพกสึกกร่อนและไม่เรียบ หรือการที่มีหัวสะโพกไม่กลมรับไปกับเบ้าสะโพก ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อสะโพกผิดปกติ เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวได้ลำบาก และมีอาการเจ็บปวด

 

 

-โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ก่อให้เกิดอาการอักเสบแบบ ไม่ติดเชื้อเกิดได้กับข้อต่างๆ ทั่วร่างกาย มีอาการอักเสบแบบเป็นๆ หายๆ นานเข้าจึงทำให้ผิวข้อมีการสึกกร่อนและถูกทำลายไป

 

 

-ข้อสะโพกหัก พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคกระดูพรุน นอกจากนี้ยังเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรงได้อีกด้วย

 

 

ผู้ที่ควรผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

 

ผู้ป่วยต้องได้รับการลงความเห็นจากแพทย์ว่าเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โดยมากแล้วผู้ป่วยมักจะมีลักษณะดังนี้

 

-ปวดข้อสะโพกตลอดเวลาไม่ว่าจะเดินหรือเคลื่อนไหวลุกนั่ง

 

-ข้อสะโพกติดหรือเคลื่อนไหวได้ลำบาก

 

-รับการรักษาแบบประคับประคอง เช่น รับประทานยาแก้ปวด ทำกายภาพบำบัด แล้วอาการไม่ดีขึ้น

 

-ข้อสะโพกเสื่อมในระยะสุดท้าย

 

 

-หัวกระดูกสะโพก

 

 

เมื่อได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ปฏิเสธการรักษา เนื่องจากความทรมานที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเข้ารัการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้ ยกเว้นผู้ป่วยที่มีอากรข้อสะโพกติดเชื้อ ผู้ที่มีภาวะทางอายุกรรมไม่ค่อยดี มีโรคประจำตัวที่รุนแรง และมีความเสี่ยงสูงหากเข้ารับการผ่าตัด เช่น โรคหัวใจบางอย่าง หรือผู้ที่สูงอายุมากๆ เป็นต้น

 

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน  ปัจจุบันยังคงมีการค้นคว้าพัฒนาตัวข้อเทียมอยู่เรื่อยๆ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของผู้ป่วย โดยเทคโนโลยีปัจจุบันจะเน้นไปที่ตัววัสดุ ที่นำมาทำเป็นหัวสะโพกกับเบ้าสะโพก หรือที่เรียกว่า bearing surface

 

 

ปัญหาที่พบหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม คือ ข้อสะโพกเทียมอาจเกิดการหลุดได้ในช่วง 2-3 เดือนแรก เมือ่ผ่านช่วงนี้ไปจะไม่ค่อยพบปัญหาอะไรอีก ดังนั้น หลังการผ่าตัดผู้ป่วย จึงต้องระมัดระวังเรื่องของการลุกนั่งยืนเดินให้มาก

 

 

-วัสดุข้อสะโพกเทียม

 

เดิมทีวัสดุที่ใช้ทำหัวสะโพกจะเป็นโลหะผสมโคบอลต์โครเมียม เบ้าสะโพกทำจากโพลีเอธิลีน ซึ่งมีใช้มานานแล้ว แต่อายุการใช้งานจะอยู่ที่ประมาณ 10-15 ปีเท่านั้น เพราะถ้านานกว่านี้ วัสดุจะเริ่มสึกกร่อน ทำให้ข้อสะโพกหลวมและหลุด ดังนั้น เมื่อครบอายุการใช้งานจึงต้องผ่าตัดเปลี่ยนใหม่อีกครั้ง

 

 

ปัจจุบันมีการคิดค้นวัสดุใหม่ที่มีอายุการใช้งานนานกว่าขึ้นมาแทน ได้แก่ เซรามิค โดยใช้ทำทั้งส่วนหัวสะโพกและเบ้าสะโพก หรือใช้ทำเฉพาะหัวสะโพก ส่วนเบ้าสะโพกใช้เป็นโพลีเอธีลีน ที่ได้รับการพัฒนาแล้วก็ได้ ข้อสะโพกเทียมที่คิดค้นขึ้นใหม่นี้ มีอัตราการสึกกร่อนต่ำ จึงอยู่ได้นานประมาณ 20-30 ปี เหมาะสำหรับผู้ป่วยวัยทำงานที่ยังมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันอยู่มาก แต่ราคาค่อนข้างสูง คือ สูงกว่าข้อสะโพกเทียมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันประมาณ 30-40% (ราคาของข้อสะโพกเทียมทั่วไป ถูกที่สุดอยู่ที่ประมาณ 60,000 บาท ไม่รวมค่าบริการทางการแพทย์)

 

 

-เทคโนโลยีการผ่าตัด

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบมาตรฐานดั้งเดิม ต้องผ่าแผลกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร เพื่อให้เห็นภายในชัดเจนที่สุด ช่วยให้การวางตำแหน่งข้อสะโพกเทียมแม่นยำมากที่สุด เพราะการวางตำแหน่งข้อเทียมเปรียบเสมือนการสร้างบ้าน ถ้าวางตำแหน่งผิดจะสผลต่ออายุการใช้งาน หรืออาจเกิดปัญหาข้อสะโพกหลุดได้ง่าย ปัจจุบันเทคโนโลยีการผ่าตัดมุ่งเน้นที่การผ่าตัดแบบแผลเล็ก เนื้อเยื่อบาดเจ็บน้อย โดยแผลจะมีขนาดประมาณ 6-8 เซนติเมตร นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการผ่าตัดด้วย เพื่อให้การวางตำแหน่งของข้อเทียมมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ข้อดีของการผ่าตัดแบบแผลเล็ก คือ ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยกว่า ฟื้นตัวได้เร็วกว่า สามารถลุกเดินได้ภายใน 1-2 วันหลังการผ่าตัด และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบมาตรฐานดั้งเดิม

 

 

-การดูแลหลังการผ่าตัด

 

ปัญหาที่พบหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม คือ ข้อสะโพกเทียมอาจเกิดการหลุดได้ในช่วง 2-3 เดือนแรก เมื่อผ่านช่วงนี้ไป จะไม่ค่อยพบปัญหาอะไรอีก ดังนั้น หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจึงต้องระมัดระวังเรื่องของการลุกนั่งยืนเดินให้มาก โดยแพทย์จะให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยอย่างละเอียด รวมทั้งเรื่องของการทำกายภาพบำบัดและการบริหาร เพื่อช่วยให้การเคลื่อนไหวและความแข็งแรงค่อยๆ กลับมาดีดังเดิม สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ในกรณีที่ข้อสะโพกเทียมหลุด แพทย์อาจจะพิจารณาแก้ไขด้วยการผ่าตัด หรือใช้วิธีดึงให้ข้อสะโพกเทียมเข้าที่ทั้งนี้แล้วแต่กรณี

 

 

ปัจจุบันการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในประเทศไทยมีความก้าวหน้ามาก อยู่ในระดับดี มีมาตรฐานสูง มีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยจึงไม่ควรกังวลจนเกินไป หากวิตกในเรื่องของค่าใช้จ่าย ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้ทำการรักษา เพื่อหาตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับความปวดอีกต่อไป

(Some images used under license from Shutterstock.com.)