Haijai.com


ทัชพอยด์ ที่ว่าด้วยเรื่องการกิน 2


 
เปิดอ่าน 1472

ทัชพอยด์ ที่ว่าด้วยเรื่องการกิน 2

 

 

 

“การต่อสู้ระหว่างพ่อแม่กับลูกในเรื่องอาหารเป็นเรื่องน่าโมโหและตึงเครียด”

 

 

 

การให้อาหารเด็กเป็นภาระที่ยิ่งใหญ่ของพ่อแม่  เริ่มตั้งแต่ที่ลูกยังเป็นตัวอ่อนอันน่าตื่นเต้นอยู่ในมดลูกคนที่กำลังจะเป็นพ่อแม่   คนที่กำลังจะเป็นพ่อแม่ก็จะรู้สึกว่า “นี่คือชีวิตของคนเราต่อไปนี้เรื่องการเจริญเติบโตของลูกในท้องขึ้นอยู่กับเราแล้วการเลี้ยงดูให้อาหารลูกจะต้องเป็นหน้าที่ของเรา   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบทั้งหมดของพ่อแม่” พ่อแม่อาจจะเริ่มรู้สึกถึงบทบาทใหม่นี้ตั้งแต่ก่อนที่ลูกจะเกิด และหลังจากการคลอดแล้ว ถึงแม้ว่าการให้อาหารอาจนำไปสู่ความกังวล แต่การให้อาหารก็เป็นบ่อเกิดแห่งความรื่นรมย์มากกว่า ตั้งแต่ครั้งแรกสุดที่ลูกเริ่มดื่มนมหรือกินอาหารครับ

 

 

ทัชพอยต์หนทางแห่งพัฒนาการที่คาดการณ์

 

ก้าวย่างในเส้นทางที่พ่อแม่ผู้เสียสละและเปี่ยมไปด้วยความรับผิดชอบและลูกของพวกเขาเดินไปนั้นเป็นสิ่งที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้มีบางครั้งที่เด็กจะกินอาหารยาก  สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรค์ที่ต้องฟันฝ่า  ซึ่งผมเรียกว่า  “ ทัชพอยต์” ที่มักจะเกิดนำหน้าความเปลี่ยนแปลงบางอย่างของเด็กนั่นเอง

 

 

เมื่อเด็กที่มีความตั้งใจแรงกล้าต้องการมีส่วนร่วมในการกินไม่ว่าจะเป็นความพยายามจะถือขวดนมเอง   การหัดดื่มนมจากถ้วย   การใช้ช้อน  หรือการโยนก้อนอาหารจากเก้าอี้นั้งทานของเขาลงไปบนพื้น  พ่อแม่ก็อาจรู้สึกว่าเป็นการท้าทาย  ทัชพอยต์เหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กพร้อมที่จะรับบทบาทใหม่ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมในการดูแลตนเอง  พ่อแม่อาจจะรู้สึกว่าลูกจะหลุดจากกรอบที่กำหนด  จึงอาจจะพยายามที่จะกลับมาควบคุมสถานการณ์   ด้วยเกรงว่าเด็กที่พวกเขาเคยเข้าใจได้ดีจะเปลี่ยนแปลงไป   แต่อันที่จริง   พ่อแม่ก็ที่ควรเรียนรู้ที่จะปล่อยวางและรู้สึกภาคภูมิใจกับสติปัญญาหรือความชำนาญใหม่ๆของลูกได้  และเมื่อพ่อแม่ยอมรับความจริงข้อนี้ได้  การให้อาหารก็จะกลับกลายเป็นบ่อเกิดแห่งความรื่นรมย์และเป็นเวลาที่พิเศษของครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง

 

 

ที่ผมเรียกการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ว่า ทัชพอยต์  ก็เพราะผมพบว่าพ่อแม่ที่หลงไหลในการเป็นพ่อแม่  สามารถจะประเมินบทบาทตังเองใหม่อีกครั้งถ้าพวกเขาได้รับข้อมูลที่จำเป็นได้ทันท่วงที  ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของเด็ก   ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพัฒนาการในอนาคตของเด็กเอง เราหวังว่าบทที่สองในหัวข้อเรื่อง  “ทัชพอยต์ในการให้อาหาร”  จะช่วยประนีประนอมระหว่างความเป็นตัวของตัวเองที่ลูกต้องการกับการที่คุณต้องการควบคุมให้ลูกกินอย่างราบรื่นเรียบร้อย  และเมื่อคุณเตรียมตัวคุณเองสำหรับช่วงเวลาเหล่านี้  คุณอาจพบว่ามันง่ายกว่าที่จะเปลี่ยนรายการอาหารให้ลูก  และค่อยให้ลูกทานสิ่งเหล่านั้น

 

 

“ภาพหลอนจากวัยเด็ก”

 

ในขณะที่ทารกกำลังเติบโต   ความรับผิดชอบของพ่อแม่ในเรื่องการเลี้ยงดู  อาจจะเหมือนมีมากขึ้นเรื่อยๆไม่แปลกเลยที่พ่อแม่จะพบว่า  การให้อาหารลูกไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเมื่อเมื่อลูกอยากเป็นเอกเทศ   ด้วยการเลือกอาหารเอง  คุณแม่ของผมนั้นเองนั้น   เป็นผู้หญิงที่อ่อนไหวและน่ายกย่อง  แต่เธอก็ไม่ยอมปล่อยให้น้องชายของผมกินอาหารเอง   สิ่งที่ผมจำได้เมื่อยังเด็ก  ก็คือ  การที่คุณแม่คะยั้นคะยอ  ร้องเพลงและพยายามป้อนอาหารเข้าไปในปากของน้องชายของผมในแต่ละเมื้อไม่ต่ำกว่าสองชั่วโมง “นะลูกนะ แค่คำเดี่ยว แม่ขอร้อง” คุณแม่เฝ้าแต่ขอร้องแล้วขอร้องอีก   ถึงแม้จะไม่ได้ผลก็ตาม

 

 

ประสบการณ์นี้ได้กลายเป็น  “ภาพหลอน”  ในวัยเด็กของผม  นี่เป็นสำนวนที่เซลม่า เฟรลเบิร์ก ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเกี่ยวกับเด็กเป็นผู้เริ่มใช้หมายถึงผลกระทบบางอย่างของความทรงจำในวัยเด็กที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใหญ่   ภาพหลอนนี้ได้ช่วยเตรียมอนาคตให้ผม เพราะในที่สุด ผมก็ได้กลายเป็นแพทย์ที่สามารถเปลี่ยนความรักของพ่อแม่ไปสู่ความใกล้ชิดในทางบวกของการเลี้ยงดูโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการให้อาหาร  พ่อแม่หลายท่านได้ค้นพบ  “ ภาพหลอน”  เกี่ยวกับความทรงจำในวัยเด็กของตนเอง  เมื่อพวกเขาได้ใช้ทัชพอยต์ในการให้อาหารลูกๆของพวกเขาเอง

 

 

ยกตัวอย่างเช่น  ในปลายขวบปีแรก เด็กๆควรได้เป็นคนตัดสินใจในในเรื่องการเลือกและปริมาณของอาหารเอง   พ่อแม่ส่วนมากรู้สึกว่าการมอบหน้าที่นี้เป็นเรื่องยาก   แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ไม่มีพ่อแม่ท่านใดที่จะบังคับให้เด็กกินได้สำเร็จครับ ในสงครามเกี่ยวกับอาหารนั้น พ่อแม่จะเป็นฝ่ายแพ้อย่างแน่นอนเพราะนั้นสิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้ก้เพียงแต่แนะนำอาหารที่ดีมีประโยชน์แก่ลุกเท่านั้น

 

 

การให้อาหารตนเองและการเลือกอาหารด้วยตนเองนั้น  เป็นเป้าหมายที่สำคัยของเด็กทุกคน   พ่อแม่ควรเรียนรู้ที่จะยอมแพ้ต่อความรู้สึกดีๆที่เคยเลี้ยงลูกภายในอ้อมแขนมาเป็นการยอมรับเด็กอายุหนึ่งขาบร่วมโต๊ะทานข้าวถึงแม้เธอหรือเขาจะสนใจในการปล่อยอาหารให้หลุดจากมือลงพื้น   เพื่อทดลองแรงดึงดูดของโลกมากกว่าให้ลงไปในปากของตน แต่ในท้ายที่สุดความสนุกสนานของการอยู่ร่วมกันที่เกิดขึ้นในมื้ออาหารนั้นเองที่จะช่วยเรื่องพัฒนาการในการทานอาหารที่ดีของลูกต่อไป

 

 

เมื่อคุณพ่อคุณแม่พยายามดิ้นรนในเรื่องอาหารของลูกมากเกินไป เช่นลูกต้องกินอะไร ในปริมาณเท่าใด  ดูเหมือนความหิวของลูกจะไม่ใช่ประเด็นแล้วนะครับ   ทั้งที่ความหิว  เป็นสัญชาติญาณพื้นฐานของมนุษย์ที่ควบคุมที่สมองส่วน  ที่เก่าแก่ตรงไปตรงมาที่สุดของเรา   แต่อย่างไรก็ตาม  ส่วนที่ซับซ้อนกว่าในสมองเด็กก็กำลังเคลื่อนไหวอยู่ด้วยและอาจเข้าไปลบล้างความหิวลงได้เช่นกัน  ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ  เด็กกำลังเริ่มเคลือบแคลงและถามตัวเองว่า “เราต้องกินเพราะคุณแม่บอกว่าเราต้องกินด้วยหรือ   คุณแม่จะบังคับให้เรากินได้หรือ”  เมื่อใดที่เด็กคิดเช่นนี้  ซึ่งแน่นอนการรู้จักตั้งคำถามเช่นนี้เป็นหนทางหนึ่งในการดิ้นรนต่อสู้เมื่อนั้นแหละครับแค่ความหิวไม่สามารถทำให้เด็กกินได้แล้วครับ   และเมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาในเรื่องอาหารระหว่างพ่อแม่   กับลูกแล้วละก็ความหมายแรกเริ่มของอาหารที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกายเป็นบ่อเกิดแห่งความรื่นรมย์ก็จะหายไป

 

 

ในบางครั้ง การดิ้นรนต่อสู้ระหว่างกันนี้ก็เกิดจาก “ภาพหลอน” ในวัยเด็กของพ่อแม่นั่นเองหรือบางครั้งก็เกิดจากข้อจำกัดในเรื่องการดูด  การกลืน  การเคี้ยว การพยายามบังคับให้กินสิ่งใดมากเกินไป ฯลฯ  องค์ประกอบเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกัน  การต่อสู้ระหว่างพ่อแม่กับลูกในเรื่องอาหารเป็นเรื่องน่าโมโหและตึงเครียด   พ่อแม่ทั่วโลกต่างก็ตระหนักดีถึงความสำคัญของอาหาร ดุจเดียวกับอากาศและพวกเขาต่างก็ห่วงใยในเรื่องความอยู่รอด และการเจริญเติบโตของลูกๆแต่ในส่วนของเด็กๆเอง  พวกเขาก็มีความชอบส่วนตัวบางอย่างที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็กรวมทั้งธรรมเนียมประเพณีของพ่อแม่ก็เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง  ที่จะได้สร้างอุปนิสัยในการกินแก่ลูกได้ด้วยเช่นกัน

(Some images used under license from Shutterstock.com.)