© 2017 Copyright - Haijai.com
FEAR VS PANIC ATTACKS ต่างกันอย่างไร
ความกลัวเป็นอารมณ์ประเภทหนึ่ง ที่ช่วยให้มนุษย์เรารู้จักระวังอันตราย และปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอด แต่หากมีความกลัวมากเกินไป จนกระทบกิจวัตรประจำวัน ทางการแพทย์เรียกว่าโรคตื่นตระหนัก หรือแพนิก (Panic Attack) ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
ความกลัว
• จัดเป็นความเครียดพื้นฐาน ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ จึงรู้ที่มาที่ไป
• สามารถจัดการให้สงบลงได้ ไม่กระทบการดำเนินชีวิตประจำวัน
• มีอาการไม่รุนแรง เช่น อาการมือเย็น หน้าซีด ใจเต้นเร็วกว่าปกติเล็กน้อย
โรคตื่นตระหนก
• เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 3-10 นาที โดยไม่เลือกเวลา และสถานที่
• อาการแต่ละครั้งกินเวลานานตั้งแต่ไม่กี่นาที ถึง 30 นาทีก็มี โดยเกิดขึ้นร่วมกับความหวาดกลัวรุนแรง
• พบมากในวัยทำงาน
• มีอาการใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
HOW TO วิธีผ่อนคลายเมื่อเกิดอาการตื่นตระหนก
• นอนหงายบนเตียงหรือพื้นราบ โดยเลือกห้องที่เงียบสงบ
• วางมือบนหน้าท้อง ไม่เกร็งร่างกาย ค่อยๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ไล่ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
• ขณะผ่อนคลาย ให้สูดลมหายใจเข้า-ออกช้าๆ นับ 1, 2, 3 ในใจ เพื่อช่วยให้ผ่อนลมหายใจได้ยาวขึ้น
• สังเกตว่า ถ้าลมหายใจเริ่มยาวขึ้น และเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ให้ทำต่ออีกสัก 3-5 นาทีแล้วค่อยพัก
หากมีอาการมากกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ควรปรึกษาจิตแพทย์ค่ะ
ศิริกร โพธิจักร
(Some images used under license from Shutterstock.com.)