© 2017 Copyright - Haijai.com
การเรียนรู้ชะลอสมองเสื่อม
ทีมผู้ศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงโรคสมองเสื่อม 24 ราย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตีคอลเลจลอนดอน สหราชอาณาจักร พบว่า ปัจจัย 9 ประการที่ส่งผลให้เกิดโรคสมองเสื่อม คือ การหยุดเรียนรู้หลังอายุ 15 ปี ความดันโลหิตต่ำ โรคอ้วน การสูญเสียการได้ยินในวัยกลางคน การสูบบุหรี่ ภาวะซึมเศร้า การขาดการออกกำลังกาย การปลีกตัวจากสังคม และโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ โดยหากป้องกัน 9 ปัจจัยนี้ได้ทั้งหมด อัตราการเกิดโรคดังกล่าวทั่วโลก จะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
โดยสิ่งสำคัญเร่งด่วน 3 ประการที่ควรปฏิบัติ คือ ขยันเรียนรู้เมื่ออายุยังน้อย (เพราะการเรียนไม่จบชั้นมัธยมขณะอายุยังน้อย เพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม) หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ส่งผลต่อการสูยเสียการได้ยินในช่วงวัยกลางคน (เพราะการได้ยินจะช่วยกระตุ้นสมองได้ดีกว่าประสาทสัมผัสด้านอื่นๆ) และหยุดสูบบุหรี่ ซึ่งนอกจากช่วยสุขภาพหัวใจแล้ว ยังช่วยสุขภาพสมองด้วย
แม้ว่าโรคสมองเสื่อมจะพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่อย่าลืมว่าสมองมีการเปลียนแปลงตลอดช่วงชีวิต ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่า
SECOND LANGUAGE
งานวิจัยที่ทำโดยวิทยาลัยเอดินบะระ สหราชอาณาจักรพบว่า ผู้ที่สามารถพูดได้ตั้งแต่ 2 ภาษาขึ้นไป มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมช้าลงถึง 4-5 ปี เท่ากับว่า การขยันเรียนรู้เมื่ออายุยังน้อยนั้นไม่ใช่การเรียนรู้อะไรก็ได้ แต่คือการเรียนภาษาเพิ่มเติม เพราะการต้องสั่งให้สมองสลับการทำงานระหว่างการใช้ภาษาหนึ่งกับอีกภาษาหนึ่งอย่างสม่เสมอ ช่วยทำให้สมองได้ฝึกฝนตลอดเวลา
FACT : องค์การอนามัยโลกรายงานว่า จะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเป็น 131 ล้านรายในปี ค.ศ.2050 ซึ่งคิดเป็น 3 เท่าของปัจจุบัน หากคนอายุน้อยยังไม่เร่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
(Some images used under license from Shutterstock.com.)