Haijai.com


เป็นเบาหวานบวกไขมันในเลือดสูงยิ่งอันตราย


 
เปิดอ่าน 2582

เบาหวาน + ไขมัน ยิ่งอันตราย

 

 

เมื่อพูดถึง “ไขมัน” สาวๆ หลายคนคงร้อง “อี๋...” กันเลยใช่ไหมคะ แต่ไขมันนั้นแท้จริงแล้วไม่ได้มีแต่ส่วนร้ายเสมอไป ยังมีไขมันที่เป็นส่วนดีอยู่ด้วย เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับโลกของไขมันให้มากขึ้นค่ะ

 

 

เจาะเลือดตรวจไขมัน

 

เวลาไปตรวจสุขภาพประจำปี เคยสงสัยกันไหมค่ะว่า เวลาที่เราเจาะเลือดตรวจไขมันนั้น ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? การเจาะเลือดตรวจไขมันหรือที่เรียกว่า Lipid profile นั้น ประกอบไปด้วยการตรวจไขมันทั้งหมด 4 ตัว ดังนี้ค่ะ

 

1.อันดับแรกคือ ไขมันไม่ดี ทางการแพทย์เรียกว่า Low-Density Lipoprotein (LDL) cholesterol ไขมันตัวนี้เปรียบเสมือนวายร้ายในหลอดเลือดของเรา ไขมันไม่ดีจะเข้าไปสะสมในชั้นผนังหลอดเลือด ยิ่งมี LDL cholesterol มาก ก็ยิ่งมีการสะสมของชั้นไขมันในผนังหลอดเลือดมากขึ้น เปรียบได้กับท่อน้ำที่ปกติแล้วจะเป็นท่อโล่งๆ น้ำไหลผ่านได้ดี แต่พอมีตะกรันไปสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ขนาดของท่อน้ำก็จะค่อยๆ เล็กลง

 

 

ถ้าไขมันตัวนี้ไปสะสมอยู่ที่เส้นเลือดของหัวใจเป็นปริมาณมาก จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ จนกระทั่งเกิดการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหมือนมีของหนักมาทับ อาจมีอาการเจ็บร้าวไปที่กราม แขน หรือสะบักได้ หากท่านใดที่มีอาการดังกล่าว ให้รีบขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง หากอยู่คนเดียวให้โทรเรียก “1669” สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติโดยทันที

 

 

2.มาต่อกันด้วยอันดับที่สอง คือ ไขมันดี หรือที่เรียกว่า High-Density Lipoprotein (HDL) cholesterol ซึ่ง HDL cholesterol นี้ เปรียบเสมือนพระเอกช่วยนำวายร้าย หรือ LDL cholesterol กลับไปกำจัดที่จับ ดังนั้น ถ้าเรามี HDL cholesterol มาก ก็จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองได้ ว่าแต่เราจะเพิ่มจำนวนพระเอก และลดจำนวนตัวร้ายในร่างกายของเราได้อย่างไรล่ะ สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ แต่คนทั่วไปมักมีข้ออ้างสารพัดที่จะไม่ทำ นั่นก็คือ

 

การออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาทีขึ้นไป

 

 

ลดการรับประทานน้ำตาลและแป้ง โดยเปลี่ยนไปรับประทานธัญพืชไม่ขัดสีแทน เช่น ข้าวกล้องและขนมปังโฮลวีต เป็นต้น

 

 

เลิกสูบบุหรี่ นอกจากจะทำให้ไขมันดีเพิ่มขึ้น ยังลดความเสี่ยงมะเร็งปอดและถุงลมโป่งพองได้อีกด้วย

 

 

ลดน้ำหนัก แต่ไม่ใช่การไปหาซื้อยาลดน้ำหนักมารับประทานนะคะ ค่อยๆ ลดน้ำหนักให้ได้เดือนละ 1 กิโลกรัม โดยการคุมอาหาร ออกกำลังกาย ถ้าไขมันลดลงได้ 1 ปอนด์ หรือ 0.45 กิโลกรัม จะทำให้ไขมันดี (HDL) เพิ่มขึ้นได้ถึง 1%

 

 

3.ไขมันตัวต่อไปที่เราจะพูดถึงก็คือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ซึ่งมักจะสูงในผู้ป่วยโรคหัวใจและเบาหวาน จึงจัดว่าเป็นวายร้ายเช่นกัน แต่ยังไม่ร้ายเท่ากับตัว LDL cholesterol ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจมากกว่าไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็จะทำให้ค่าไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ถ้าไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นมากๆ อาจจะทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่อย่างรุนแรง ปวดร้าวทะลุถึงหลัง นอนหงายไม่ได้ มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน เป็นอาการที่ทรมานมาก และมักได้รับการวินิจฉัยล่าช้า เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ซ่อนอยู่ด้านหลังของช่องท้อง และมีอวัยวะอื่นๆ ล้อมรอบเป็นจำนวนมาก แพทย์จึงมักคิดถึงโรคอื่นๆ ที่พบได้บ่อยมากกว่าก่อนที่จะคิดถึงโรคนี้ อย่างไรก็ตามโรคนี้จัดเป็นโรคที่รุนแรง อาจทำให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายล้มเหลวจนกระทั่งเสียชีวิตได้

 

 

4.อันดับสุดท้าย คือ Total cholesterol คำนี้เรามักคุ้นหูกันดี โดยเกิดจากการรวมตัวกันของไขมันทั้งหมดในร่างกาย ที่สามารถตรวจได้ หากว่ากันตามจริงแล้ว Total cholesterol = HDL cholesterol + LDL cholesterol + คอเลสเตอรอลที่ล่องลอยเป็นอิสระในเลือด + คอเลสเตอรอลที่จับกับ Lipoprotein ชนิดอื่นๆ

 

 

ดังนั้น การที่ค่า Total cholesterol สูง หลายคนจึงมักแปลผลว่าไม่ดี แต่แท้จริงแล้วค่า Total cholesterol ที่สูง อาจเกิดจากไขมันดีที่สูงเพียงตัวเดียว แต่ค่าไขมันตัวอื่นปกติก็ได้ ดังนั้นค่า Total cholesterol จึงไม่ค่อยใช้ในทางการแพทย์มากนัก แต่จะให้ความสำคัญกับปริมาณของ LDL cholesterol เป็นหลัก

 

 

เบาหวาน + ไขมัน ยิ่งอันตราย

 

โรคเบาหวานแท้จริงแล้วมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด แต่ที่รู้จักกันดีมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด โดยเบาหวานชนิดที่ 1 จะเกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มักตรวจพบในคนอายุน้อย จึงต้องฉีดอินซูลินสังเคราะห์เข้าไปทดแทน แต่ในนี้เราจะมาเน้นกันที่ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน โดยตัวอินซูลินจะทำหน้าที่พาน้ำตาลเข้าไปในเซลล์ เพื่อนำไปสร้างเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย เมื่อร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ร่างกายจึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ จึงเหลือน้ำตาลในกระแสเลือดปริมาณมาก ซึ่งเราสามารถวินิจฉัยการเกิดโรคเบาหวานได้จากการตรวจหาปริมาณน้ำตาลในเลือด โดยต้องมีการอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

 

หากระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100mg/dl แปลว่า ปกติ

 

 

หากมากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg/dl ขึ้นไป จากการตรวจทั้งหมด 2 ครั้ง แปลว่า เป็นโรคเบาหวาน

 

 

หากอยู่ในช่วงระหว่าง 100-125 mg/dl แปลว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น จึงต้องรีบควบคุมอาหารและออกกำลังกาย เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดลงมาให้เป็นปกติ

 

 

นอกจากนี้ยังมีการวินิจฉัยโรคเบาหวานแบบไม่ต้องอดอาหาร ด้วยการดูค่าน้ำตาลสะสม (HbA 1c) หากมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 6.5% ก็สามารถวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้เช่นกัน

 

 

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่วมกับมีระดับไขมันในเลือดที่สูง มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมองได้มากขึ้น ซึ่งทั้งสองโรคนี้ แท้จริงแล้วมีสาเหตุการเกิดร่วมกันอย่างหนึ่ง คือ “อาหาร” หรือที่เรามักได้ยินบ่อยๆ ว่า “You are what you eat” กล่าวคือ ถ้าเราเลือกที่จะรับประทานอาหารกลุ่มที่มีน้ำตาลและไขมันสูงเป็นประจำ เช่น เค้ก เบเกอรี่ กาแฟเย็นใส่วิปปิ้งครีม ที่มักมีโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมกันอยู่บ่อยๆ ร่วมกับการไม่ออกกำลังกาย เราก็จะได้รับ “ของสมนาคุณ” ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และถ้าหากยังไม่มีการปรับพฤติกรรม อีกทั้งควบคุมอาการต่างๆ ได้ไม่ดี ก็จะก่อให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกาย คราวนี้โรคแทรกซ้อนต่างๆ ก็พากันเดินพาเหรดตามมาอีกเป็นกระพรวน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต มีปลายมือปลายเท้าชา การมองเห็นค่อยๆ ลดลงจนกระทั่งเกิดตาบอดได้

 

 

การรักษา

 

ระหว่างการรักษา ผู้ป่วยไม่ควรปรับยาเอง และควรไปตามนัดทุกครั้ง ผู้ป่วยหลายคนมักคิดว่าต้องกินยาไปตลอดชีวิต ซึ่งไม่เป็นความจริง หากโรคต่างๆ ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น เช่น เป็นเบาหวานแล้ว แต่ระดับน้ำตาลไม่สูงมาก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จนสามารถลดขนาดยาหรือหยุดยาได้ในที่สุด

 

 

นอกจากนี้โรคอื่นๆ ที่เกิดพร้อมๆ หรือตามหลังเบาหวานก็จะลดลงไปตามๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ระดับความดันโลหิตก็จะค่อยๆ ลดลง ระดับไขมันไม่ดีลดลง ระดับไขมันดีเพิ่มขึ้น รวมทั้งไขมันต่างๆที่สะสมตามหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขาก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกัน

 

 

ปัจจุบันการรักษาไขมันจะเน้นรักษาตามอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดเป็นหลัก ไม่ได้ดูตามค่าของระดับไขมันอีกต่อไป แต่จะยังใช้ระดับไขมัน LDL cholesterol เพื่อติดตามผลการรักษา เช่น ในผู้ที่มีแต่โรคไขมันในเลือดสูง แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด (ไม่มีโรคเบาหวานและโรคไต) ควรควบคุมปริมาณของ LDL cholesterol ให้อยู่ในระดับ < 130 mg/dl

 

 

ส่วนในผู้ที่เป็นทั้งเบาหวานและไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมปริมาณของ LDL cholesterol ให้อยู่ในระดับ < 100 mg/dl ซึ่งการเริ่มยาและการปรับยาจะขึ้นอยู่กับการปรึกษาร่วมกัน ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยแต่ละราย โดยยาที่ใช้ในการรักษาไขมันในเลือดสูง มีอยู่ด้วยกันหลายตัว แต่ตัวที่นิยมใช้กันมากในการลดระดับของ LDL cholesterol ก็คือ กลุ่ม Statins เช่น Simvastatin, Atorvastatin, Rosuvastatin ส่วนกลุ่ม Fibrates จะใช้ในกรณีที่อยู่ป่วยมีระดับของไตรกลีเซอไรด์สูงๆ เพื่อป้องกันโรคตับอ่อนอักเสบ ดังที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

 

 

จะเห็นได้ว่า “การป้องกัน” ดีกว่า “แก้ไข” เพราะเมื่อเกิดโรคใดโรคหนึ่งแล้ว โอกาสที่โรคอื่นๆ จะเกิดตามมาก็มีมากขึ้น ดังนั้น การหันมาควบคุมอาหารและออกกำลังกายตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค คือ สิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะ... “สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องลงมือทำ”

 

 

พญ.พลอย ลักขณะวิสิฏฐ์

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





สิวอุดตันเกิดจาก สิวฮอร์โมน คอลลาเจน สิวไขมัน สิวหัวแข็ง AviClear AviClear Laser สิวไต สิวเสี้ยน หน้าขาวใส หน้าแพ้สาร สิวข้าวสาร หน้าใสไร้สิว หน้าไหม้แดด สิวหัวขาว หน้าแห้ง อาการนอนกรน วิธีลดไขมันทั้งตัว ผิวขาว ผิวหน้า ผู้หญิงนอนกรน หน้ากระจ่างใส วิธีลดไขมันในร่างกาย หน้าเนียนใส หน้าเนียน หน้าหมองคล้ำเกิดจาก กดสิวใกล้ฉัน กดสิวเสี้ยน กดสิว หน้าใส สิวอุดตัน หน้าหมองคล้ำ สิวอักเสบ สิว สิวหัวช้าง หน้าขาว สิวขึ้นคาง สิวผด ครีมลดรอยสิว วิธีแก้การนอนกรนผู้ชาย แก้อาการนอนกรนผู้หญิง วิธีลดหน้าท้องแบบเร่งด่วน Sculpsure ลดไขมันในร่างกาย วิธีลดไขมัน ลดไขมันต้นขา สลายไขมันหน้า ไตรกลีเซอไรด์ เซลลูไลท์ วิธีแก้นอนกรน ลดไขมัน Coolsculpting ทำกี่ครั้ง Sculpsure กับ Coolsculpting นอนกรนเกิดจาก Morpheus8 สลายไขมันหน้าท้อง วิธีลดพุงผู้หญิงเร่งด่วน 3 วัน Body Slim ลดไขมันทั้งตัว วิธีลดพุงผู้ชาย Morpheus8 กับ Ulthera ลดพุงเร่งด่วน วิธีลดไขมันต้นขา ลดพุง ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความน่ารู้ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความรักษาอาการนอนกรน บทความ Morpheus บทความ Coolsculpting บทความโปรแกรมดูแลผิวหน้า ข่าวและกิจกรรม romrawin รมย์รวินท์ Plinest Pico หลุมสิว เลเซอร์ฝ้า เลเซอร์ฝ้า กระ IV Weight Loss Thermage Body Pico Laser ราคา สิว กลืนบอลลูนราคา วิธีลดน้ำหนัก วิธีแก้อาการนอนกรน อาการนอนกรน บทความโปรแกรมรักษาอาการนอนกรน เลเซอร์รีแพร์ ดึงหน้าที่ไหนดี ผ่าตัดดึงหน้าราคา Thermage FLX ผ่าตัดดึงหน้า ดึงหน้าราคา ผ่าตัดดึงหน้าที่ไหนดี ดึงหน้า vs ร้อยไหม ศัลยกรรมดึงหน้าราคา เครื่องสลายไขมันด้วยความเย็น Ultraformer MPT ราคา ลดเซลลูไลท์ ฟิลเลอร์แก้มตอบราคา CoolSculpting vs Emsculpt ลดน้ำหนัก วิธีสลายไขมัน สลายไขมัน Alexandrite Laser Dynamic Tech Morpheus Pro สารเติมเต็ม ฟิลเลอร์แท้ ฟิลเลอร์ปลอม เลเซอร์ขนหน้าอก Coolsculpting vs Coolsculpting Elite Morpheus8 ราคา สลายไขมันด้วยความเย็นราคา สลายไขมันด้วยความเย็น ฟิลเลอร์ใต้ตาราคา ดึงหน้า Ultherapy Prime vs Ulthera SPT IPL เลเซอร์ขนแขน YAG Laser Diode Laser ไฮยาลูรอน ฟิลเลอร์น้องชายอันตรายไหม ฉีดสิว Emtone 1 week 1 Kilo ลดน้ำหนัก กลืนบอลลูน Exo Hair Reborn หลังฉีดฟิลเลอร์คาง ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม Coolsculpting Fit Firm Emsculpt Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex