© 2017 Copyright - Haijai.com
Check Risk Check List มะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในคนไทย และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน การตรวจพบความผิดปกติที่ลำไส้ใหญ่ได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม พบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างชัดเจน
ใครบ้างที่เสี่ยง ?
1.อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
2.ญาติสายตรงเป็นมะเร็งทางเดินอาหาร
3.เคยตรวจพบติ่งเนื้อผิดปกติในลำไส้ใหญ่
4.การดื่มสุราและการสูบบุหรี่
สัญญาณอันตราย
1.ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน หรือมีเลือดออกทางทวารหนัก
2.มีการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
3.ลักษณะอุจจาระเรียวยาวกว่าปกติ
4.ปวดท้อง ไม่สบายท้อง
5.อาการของลำไส้อุดตัน เช่น ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายอุจจาระหรือผายลมลดลง
6.อาการอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด โลหิตจาง คลำได้ก้อนในท้อง
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
แนะนำให้เริ่มตรวจประเมินเบื้องต้นทั้งผู้ชายและผู้หญิง เมื่ออายุ 50 ปี โดยวิธีการตรวจทำได้ดังนี้
1.การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Fecal occult blood test : FOBT)
2.การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Sigmoidoscope)
3.การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscope)
4.การตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ (Double contrast barium enema)
อย่าลืมนะคะว่า ยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ อัตราการเสียชีวิตก็จะยิ่งลดลงค่ะ
พญ.มนพัทธ์ ผาติโกเมศ
(Some images used under license from Shutterstock.com.)