Haijai.com


เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลี่ยงมะเร็ง


 
เปิดอ่าน 1861

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic drinks)

 

 

เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งทางเดินอาหารส่วนล่าง (colorectum ซึ่งหมายถึงทางเดินอาหารส่วนลำไส้ใหญ่ต่อกับไส้ตรงถึงทวารหนัก) เต้านม ตับ ปาก คอ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร

 

 

นานมาแล้วเคยมีงานวิจัยหลายชิ้นกล่าวว่า การดื่มบรั่นดีหรือวิสกี้ปริมาณน้อย (ฝรั่งใช้คำว่า 1 shot) ต่อวัน (ถือเป็น moderate drinking ช่วยทำให้สุขภาพของระบบหลอดเลือดดี เพราะจากการตรวจศพของผู้ที่ดื่มสุราในปริมาณนี้แล้วตายด้วยอุบัติเหตุนั้น มีหลอดเลือดที่อยู่ในสภาพดีทั้งร่างกาย ปราศจากการสะสมของไขมันชนิดเลว ความจริงเรื่องนี้ไม่น่าประหลาดใจ เพราะอาจมองในอีกมุมได้ว่า คนเหล่านี้มีโอกาสตายอยู่ข้างถนน เนื่องจากเมาตั้งแต่ยังหนุ่มสาวก่อนที่ไขมันมีโอกาสเกาะผนังเส้นเลือด ซึ่งมักเกิดในผู้สูงอายุ

 

 

ที่สำคัญคือ มีผลงานวิจัยในลักษณะเดียวกัน ซึ่งศึกษาในผู้ที่มีพฤติกรรม ดื่มหนัก (แล้วไม่ประสบอุบัติเหตุตายเสียก่อน) พบว่า ผลการศึกษาออกมาในทางตรงกันข้าม คือ มีโอกาสที่หลอดเลือดตีบตัน เนื่องจากมีไขมันเกาะผนังเส้นเลือดสูงกว่าคนวัยเดียวกันที่ไม่ดื่ม ทั้งนี้เพราะแอลกอฮอล์นั้นเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงกว่าแป้ง (แอลกอฮอล์ 1 กรัม ให้พลังงาน 7 กิโลแคลอรี ในขณะที่แป้ง 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี) ดังนั้น ผู้ที่ดื่มหนักย่อมอิ่มและมีพลังงานเหลือเฟือ จนถูกนำไปสร้างเป็นไขมันเพิ่มในเลือดได้

 

 

ดื่มหนัก มีโอกาสที่หลอดเลือดตีบตัน เนื่องจากมีไขมันเกาะผนังเส้นเลือดสูงกว่าคนวัยเดียวกันที่ไม่ดื่ม

 

 

รศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ

นักพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)