© 2017 Copyright - Haijai.com
เป็นรองช้ำ ทำไงดี
“โรครองช้ำ” หรือ “โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ” ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดใต้ฝ่าเท้า (Inferior of plantar heel pain) ที่พบบ่อยที่สุด โรคนี้มีความเสี่ยงสูงขึ้นในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป กลุ่มคนน้ำหนักตัวมาก คนที่มีกิจกรรมต้องเดินหรือวิ่งมากๆ คนทำอาชีพที่ต้องยืนนานๆ การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม หรือภาวะฝ่าเท้าแบน/อุ้งเท้าโก่งมากเกินไป ก็จะมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากยิ่งขึ้น
อาการสำคัญของผู้ป่วย คือ อาการปวดเหมือนมีอะไรมาทิ่มหรือแทงที่ฝ่าเท้า เมื่อลงเดิน 2-3 ก้าวแรกหลังจากตื่นนอน (start-up pain) แต่เมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น ทั้งนี้อาการปวดอาจมากขึ้นได้ในช่วงระหว่างวันและ/หรือหลังจากที่เท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน เช่น ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน และยิ่งมีการเคลื่อนไหวมากก็จะรู้สึกปวดมากขึ้น
การรักษาโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดโดยมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1.แช่เท้าในน้ำเย็นเพื่อลดการอักเสบ
2.รับประทานหรือทายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อลดการอักเสบ
3.ทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การฝึกยืดเอ็นร้อยหวาย ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ
ข้อมูลอ้างอิง
Hurwitz AS, Brice JH, Overby BA, Evenson KR (2005). “Direct use of the Cincinnati Prehospital Stroke Scale by lapersons” .PrehospEmerg Care. 9 (3):
นพ.ธนวัฒน์ สุขสมบูรณ์
(Some images used under license from Shutterstock.com.)