Haijai.com


โรคลำไส้ขาดเลือดในผู้สูงอายุ


 
เปิดอ่าน 8866

โรคลำไส้ขาดเลือดในผู้สูงอายุ

 

 

ลำไส้ขาดเลือด

 

คนราอาจจะปวดท้องได้จากหลายสาเหตุ บางคนปวดจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร นิ่วในถุงน้ำดี ตับอ่อนอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ โรคต่างๆ เหล่านี้เป็นโรคที่พบบ่อย วินิจฉัยได้ง่ายจึงไม่ค่อยมีปัญหา แต่บางคนปวดท้องแบบหาสาเหตุไม่ได้ง่ายๆ ใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารแล้วก็ไม่พบแผล ใช้อัลตราซาวนด์ตรวจแล้วก็ไม่พบนิ่วหรือสาเหตุอื่น ตับอ่อนอักเสบก็ไม่ใช่ไส้ติ่งอักเสบก็ห่างไกล ปวดท้องเป็นๆ หายๆ จนน้ำหนักลดเนื่องจากกลัวการกินอาหาร เพราะมันทำให้มีอาการปวดท้องจาก “ลำไส้ขาดเลือด”

 

 

ผู้อ่านส่วนใหญ่คงจะคุ้นเคยกับโรคหัวใจขาดเลือด เพราะเคยได้อ่าน ได้ยิน ได้พบผ่านมามากกว่า แต่จริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะอะไรก็เป็นโรคขาดเลือดได้ทั้งนั้น เช่น สมองขาดเลือดเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ไตขาดเลือดจนไตวาย ลำไส้ขาดเลือดจนปวดท้อง และขาขาดเลือดเวลาเดินแล้วปวดน่อง

 

 

ไขมัน ตัวการสำคัญทำลำไส้ขาดเลือด

 

ลำไส้ของคนเราได้รับเลือดมาเลี้ยงเหมือนอวัยวะอื่น เวลาหลังอาหารลำไส้ทำงานมากกว่าปกติ ต้องใช้เลือดมาเลี้ยงมากกว่าปกติ เพื่อทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหาร แต่ถ้าเลือดไหลมาเลี้ยงไม่เพียงพอก็จะทำให้ปวดท้องเช่นเดียวกับการเจ็บหน้าอกในกรณีหัวใจขาดเลือด การที่เลือดมาเลี้ยงลำไส้ไม่เพียงพอเกิดจากการที่หลอดเลือดแดงมันตีบตันจากไขมัน (คอเลสเตอรอล) ไปพอกพูนใต้เยื่อบุหลอดเลือดแดง ทำให้มันแข็งตับตีบลงๆ เมื่อมันตีบลงถึงจุดหนึ่ง จะทำให้เกิดอาการขาดเลือดหลังอาหาร การขาดเลือดนี้จะยิ่งเป็นมากขึ้นถ้ามีปัจจัยมาเสริม เช่น เกิดมีลิ่มเลือดมาอุดตรงที่ตีบ จากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ บางกรณีคนไข้อาจจะปวดท้องไม่รุนแรง ค่อยเป็นค่อยไป แต่ในบางกรณีอาจเกิดอาการปวดท้องรุนแรงเนื่องจากเลือดถูกปิดกั้นตัดขาด เช่น เกิดมีลิ่มเลือดมาอุดตรงบริเวณที่ตีบ กรณีรุนแรงนี้จะกลายเป็นเรื่องฉุกเฉินขึ้นมาทันที

 

 

สูงวัย กลุ่มเสี่ยง

 

คนที่เป็นโรคนี้ส่วนมากมักจะเป็นคนสูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มักจะไม่เป็นกับคนหนุ่มคนสาว นอกจากเรื่องความแก่ ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นก็คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ระดับไขมัน (คอเลสเตอรอล) ในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ความอ้วน ทำงานนั่งโต๊ะ ขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ และถ้าเคยมีโรคขาดเลือดของอวัยวะอื่น เช่น หัวใจ สมอง และขาอยู่ด้วยก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น

 

 

กลัวการกิน อาการสำคัญ

 

คนที่เป็นโรคนี้มีอาการสำคัญอยู่อย่างหนึ่งคือ “กลัวการกิน” ในคนที่มีอาการขาดเลือดแบบค่อยเป็นค่อยไป อาการปวดท้องมักเกิดขึ้นหลังอาหารมื้อใหญ่ประมาณ 15-30 นาที คือ ตอนที่ลำไส้เริ่มทำงานย่อยอาหาร อาการปวดมักจะเป็นแบบตื้อๆ ปวดไม่ชัด มักจะอยู่แถวๆ กลางท้องหรือที่ท้องส่วนบน แต่อาจจะเกิดส่วนไหนของท้องก็ได้แล้วแต่ว่าส่วนไหนขาดเลือด คนไข้อาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ ท้องอืด ท้องเดิน เมื่อมีอาการมากเข้าก็จะเกิดความกลัวการกินอาหาร ทำให้น้ำหนักตัวลดลง

 

 

วินิจฉัย ต้องตรวจมากกว่าธรรมดา

 

ถ้าหมอสงสัยโรคนี้ เนื่องจากตรวจร่างกายธรรมดาไม่สามารถบอกได้ หมอก็ต้องใช้วิธีตรวจอย่างอื่นช่วย เช่น ส่องกล้องแยกโรคในกระเพาะอาหาร ทำอัลตราซาวนด์แยกโรคนิ่วในถุงน้ำดี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แยกโรคตับ ตับอ่อน ไต และม้าม เมื่อตรวจอย่างว่านั้นเสร็จแล้วไม่พบสาเหตุ ก็จำเป็นต้องใช้อัลตราซาวนด์ชนิดพิเศษตรวจหลอดเลือดลำไส้ แต่วิธีที่เห็นหลอดเลือดลำไส้ที่แน่นอนชัดเจนที่สุด คือ การเอกซเรย์หลอดเลือดลำไส้ โดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือด หรือการใส่สายสวนเข้าหลอดเลือดลำไส้แล้วฉีดสารทึบรังสี เหมือนการสวนหัวใจในการตรวจคนไข้หัวใจขาดเลือด

 

 

การรักษามี 2 แบบ

 

เมื่อวินิจฉัยได้แน่ชัดแล้ว การรักษาโรคนี้ทำได้ 2 แบบ คือ แบบผ่าตัด กับ แบบไม่ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความมากน้อยของโรค การรักษาแบบผ่าตัด ผ่าลงไปทำการเลาะตะกรันไขมัน (plaque) ที่พอกหลอดเลือดออก ทำให้ช่องทางไหลของเลือดหายตีบ หรืออีกแบบหนึ่งคือ ผ่าตัดลงไปทำบายพาส คือ เอาหลอดเลือดเทียมหรือหลอดเลือดดำจากส่วนขามาต่อให้เลือดไหลอ้อมตรงที่ตีบไปเลี้ยงลำไส้ วิธีไม่ผ่าตัดใช้ได้ในบางกรณี คือ ใช้วิธีการสวนหลอดเลือดแดงลำไส้แล้วใช้บอลลูน (ลูกโป่ง) ขยายส่วนตีบ บอลลูนจะไปดันให้ตะกรันไขมัน (plague) ให้ยุบตัวติดผนังหลอดเลือดแดงเสร็จแล้วเอาหลอดตาข่ายที่เขาเรียกว่าสเต๊นท์ (stent) สอดใส่ค้ำผนังคลอดเลือดและตะกรันที่ถูกขยายไว้ ไม่ให้มันยุบตีบกลับเข้ามาใหม่ เช่นเดียวกับการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจที่ท่านผู้อ่านหลายคนคงจะเคยได้ยินได้อ่าน หรือได้ถูกทำมาบ้างแล้ว

 

 

โรคนี้ควรรักษาเสียแต่เนิ่นๆ เมื่อมันยังไม่เป็นมากไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะการขาดเลือดที่เป็นไม่มากจากการตีบของหลอดเลือด อาจจะเกิดเป็นมากขึ้นมาอย่างเฉียบพลันเมื่อไหร่ก็ได้ เช่น เมื่อหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจที่อาจจะหลุดไปอุดตรงบริเวณที่ตีบ ทำให้เกิดการปิดกั้นหลอดเลือดลำไส้อย่างสมบูรณ์ เป็นผลให้ลำไส้ขาดเลือดอย่างรุนแรง ทำให้มันตาย ในบางรายลำไส้ตายมากต้องผ่าตัดทิ้งไปมาก เหลือลำไส้ที่ปกติไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต คือ ดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้น้อยเกินไป ทำให้ขาดอาหารมากขึ้นๆ จนอยู่ไม่ได้อีกต่อไป

 

 

โรคลำไส้ขาดเลือดถึงแม้ว่าเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่ก็เกิดขึ้นได้ ถ้าคุณปวดท้องหลังอาหารโดยหาสาเหตุไม่พบ ต้องคิดถึงโรคนี้ไว้บ้าง โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นผู้สูงอายุ และยิ่งต้องคิดถึงโรคนี้มากขึ้น เมื่อปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย และถ้าเป็นไปได้ควรจะลด ละ เลิก ปัจจัยเสี่ยง เช่น งดสูบบุหรี่ ลดการกินไขมัน ลดน้ำหนัก และใส่ใจในการรักษาโรคเบาหวานตามที่แพทย์แนะนำ

 

 

นพ.นริศ เจนวิริยะ

ศัลยแพทย์

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความน่ารู้ romrawin รมย์รวินท์ ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex