Haijai.com


น้ำตาล ประเภทน้ำตาล สารให้ความหวาน


 
เปิดอ่าน 15853

เบาหวานมา

 

 

“ลดหวาน ลดอ้วน ลดโรค” เป็นแคมเปญรณรงค์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่โปรโมตให้คนไทยลดการบริโภคความหวานส่วนเกิน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โดยฌฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือกลุ่มโรค NCDs (non-communicable diseases) เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินหรืออาจจะเคยเห็นผ่านตามาบ้างตามสื่อโฆษณาต่างๆ เนื้อหาต่อไปนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าทำไมการบริโภคหวานที่มากเกินไปจึงเป็นอันตราย

 

 

น้ำตาล แค่ไหนจึงพอดี

 

“น้ำตาล” เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตที่ให้ความหวานและให้พลังงาน น้ำตาลปริมาณ 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี และน้ำตาล 1 ช้อนชา ให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี หรือเทียบเท่ากับพลังงานที่ได้จากการรับประทานข้าวประมาณ 1 ใน 4 ทัพพี นั่นแปลว่า หากคุณบริโภคน้ำตาลในปริมาณมาก ร่างกายก็จะได้รับพลังงานส่วนเกินเช่นกัน

 

 

ข้อมูลจากการสำรวจพบว่า การบริโภคน้ำตาลของประชากรไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี พ.ศ. 2544 พบคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ย 19.9 ช้อนชาต่อวัน และอีก 10 ปีต่อมา ตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 25 ช้อนชาต่อวัน คิดเป็นพลังงานส่วนเกินวันละ 500 กิโลแคลอรี หรือเปรียบเสมือนการรับประทานข้าวเพิ่มขึ้นวันละ 6 ทัพพี อัตราการบริโภคน้ำตาลที่มากขึ้นนั้น สอดคล้องกับอัตราการเกิดโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้น และมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2583 ประชากร 642 ล้านคนทั่วโลกจะป่วยเป็นโรคเบาหวาน

 

 

ในภาวะปกติเมื่อน้ำตาลถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน เพื่อทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินไปเก็บในรูปของไกลโคเจนสำรองไว้ใช้เป็นพลังงาน ทว่าพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไปและต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน มีผลทำให้กระบวนการตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้

 

 

นอกจากนี้การบริโภคน้ำตาลในปริมาณมาก ยังมีความสัมพันธ์ชัดเจนกับโรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคอ้วน รวมถึงภาวะไขมันสะสมในตับ เป็นต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน เลือกรับประทานแต่พอเหมาะจะช่วยลดความรุนแรง และช่วยป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวได้

 

 

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประชาชนทั่วไปบริโภคน้ำตาลส่วนเกิน (added sugar) ไม่เกิน 5% ของพลังงานที่ได้จากอาหร 2,000 กิโลแคลอรี หรือไม่เกิน 6 ช้อนชา9ต่อวัน ซึ่งตรงกับคำแนะนำของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข น้ำตาลส่วนเกินมักพบมากใน ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม และขนมหวานต่างๆ ผู้บริโภคควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการเลือกบริโภค การอ่านฉลากโภชนาการก่อนตัดสินใจซื้อ จะช่วยลดการได้รับน้ำตาลส่วนเกินได้

 

 

น้ำตาลส่วนเกิน (added sugar)

 

หมายถึง น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือโมเลกุลคู่ที่เติมลงในอาหาร นอกเหนือจากน้ำตาลตามธรรมชาติที่มีในอาหารทั้งที่เป็นอาหารปรุงเองและอาหารอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงน้ำตาลธรรมชาติที่เติมเพิ่ม เช่น น้ำผึ้ง น้ำหวาน น้ำเชื่อม และน้ำผลไม้คั้น

 

 

เลือกกินน้ำตาล ช่วยได้หรือไม่

 

บางคนอาจกำลังสงสัยว่าน้ำตาลมีมากมายหลายชนิด แล้วมีชนิดไหนบ้างหรือไม่ที่สามารถบริโภคได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องโรคต่างๆ ที่จะตามมา ก่อนจะตอบคำถามนี้ เรามารู้จักกับประเภทของน้ำตาลกันก่อนดีกว่าค่ะ โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งประเภทของน้ำตาลได้ เป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่

 

1.น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด มีคุณสมบัติละลายน้ำได้และให้ความหวาน ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยอีก น้ำตาลที่พบในกลุ่มนี้ คือ

 

 น้ำตาลกลูโคส (glucose) เป็นชนิดน้ำตาลที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย และเป็นแหล่งพลังงานสำคัญให้กับเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะเซลล์สมองและเซลล์เม็ดเลือด แหล่งที่พบตามธรรมชาติ ได้แก่ ผักและผลไม้ทั่วไป

 

 น้ำตาลฟรุคโตส (fructose) หรือที่เรียกกันว่า น้ำตาลผลไม้ เป็นน้ำตาลชนิดที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการตอบสนองต่ออินซูลิน แหล่งที่พบตามธรรมชาติ ได้แก่ ในผลไม้ทั่วไป เช่น มะม่วง แตงโม เชอร์รี่ และพบมากในน้ำผึ้ง นอกจากนี้ยังพบในน้ำเชื่อมและเครื่องดื่มต่างๆ ที่ผสมน้ำตาล ซึ่งจะพบในรูปแบบของ high fructose corn syrup

 

 น้ำตาลกาแลคโตส (galactose) เป็นชนิดน้ำตาลที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายน้ำตาลกลูโคส มักพบรวมอยู่กับน้ำตาลกลูโคสในรูปของน้ำตาลโมเลกุลคู่ พบได้ในนมและผลิตภัณฑ์จากนม

 

 

2.น้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide) เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุลมารวมกัน มีคุณสมบัติละลายน้ำได้และให้ความหวาน ร่างกายไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที จะต้องผ่านกระบวนการย่อยโดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์จำเพาะ จนได้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อนจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย น้ำตาลที่พบในกลุ่มนี้ ได้แก่

 

 น้ำตาลซูโครส (sucrose) หรือ น้ำตาลทราย น้ำตาลอ้อย เป็นชนิดน้ำตาลที่เกิดจากการรวมกันของน้ำตาลกลูโคส และน้ำตาลฟรุคโตส ต้องอาศัยเอนไซม์ซูเครสในการย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว แหล่งที่พบตามธรรมชาติ ได้แก่ อ้อย หัวบีต และผลไม้ที่มีรสหวาน

 

 น้ำตาลมอลโตส (maltose) น้ำตาลชนิดนี้เกิดจากการรวมกันของน้ำตาลกลูโคส 2 โมเลกุล ต้องอาศัยเอนไซม์มอลเตสในการย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว แหล่งที่พบตามธรรมชาติ ได้แก่ ข้าวมอลต์ ข้าวบาร์เลย์ และเมล็ดธัญพืชที่กำลังงอก

 

 น้ำตาลแลคโตส (lactose) เป็นชนิดน้ำตาลที่เกิดจากการรวมกันของน้ำตาลกลูโคส และน้ำตาลกาแลคโตส ต้องอาศัยเอนไซม์แลคเตสในการย่อยให้เป็นน้ำตาล โมเลกุลเดี่ยว น้ำตาลชนิดนี้พบได้เฉพาะในนม ไม่พบในพืช

 

 

แต่ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ ต่างก็สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและให้พลังงานได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การเลือกบริโภคน้ำตาลไม่ว่าจะชนิดใดก็ตามต้องคำนึงถึงปริมาณร่วมด้วย อย่างไรก็ตามยังมีน้ำตาลบางประเภทที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ จึงไม่ให้พลังงาน หรือบางกลุ่มให้พลังงานได้แต่น้อย รวมเรียกว่า “สารให้ความหวานแทนน้ำตาล” (sugar sweetener) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักและมีใช้กันแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เพื่อการควบคุมน้ำหนักและควบคุมการบริโภคน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน

 

 

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

 

น้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohol) หรือ โพลีออลล์ (polyols) น้ำตาลกุล่มนี้ถึงแม้บางชนิดจะให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ แต่การดูดซึมจะช้ากว่ามาก ส่วนใหญ่จึงถูกขับถ่ายออกจากร่างกายก่อนที่จะดูดซึมไปใช้ประโยชน์ นิยมใช้กันมากในวงการผลิตอาหาร โดยเฉพาะลูกอมและหมากฝรั่ง เป็นต้น

 

 

วัตถุให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือไม่ให้พลังงาน (non-nutritive sweetener) สารให้ความหวานในกลุ่มนี้จะมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายหลายเท่า จึงใช้ปริมาณน้อยกว่า ด้วยคุณสมบัติที่ไม่ให้พลังงานและไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น จึงถูกนำมาใช้เติมในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ จุดประสงค์เพื่อลดสัดส่วนของน้ำตาลที่เป็นส่วนประกอบและลดพลังงาน

 

 

อย่างไรก็ตามการบริโภคสารให้ความหวานดังกล่าวในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลเสียต่อร่างกายได้ จึงมีการกำหนดปริมาณที่ยอมรับได้ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตราย (acceptable daily intake ; ADI) ดังแสดงรายละเอียดในตาราง

 

วัตถุที่ให้ความหวาน

ระดับความหวานเทียบกับน้ำตาลทราย

ADI (มิลลิกรัมต่อ น้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน)

ปริมาณ ซองสูงสุดตาม ADI

อเซซัลเฟม-เค

200 เท่า

15

23

แอสปาร์เทม

200 เท่า

50

75

นีโอเตม

7,000 – 13,000 เท่า

0.3

23

แซ็กคาริน

600 – 700 เท่า

15

45

ซูคราโลส

600 เท่า

5

23

สารสกัดจากหญ้าหวาน

200 – 400 เท่า

4

9

*วัตถุที่ให้ความหวาน 1 ซอง น้ำหนักรวม 1 กรัม ซึ่งแต่ละชนิดจะมีปริมาณ % ของวัตถุให้ความหวานต่างกัน

 

 

ความหวานส่วนเกินจัดเป็นภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ การปรับพฤติกรรมเพื่อลดหวาน เช่น ชิมก่อนปรุง อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ลดการบริโภคเครื่องดื่มหรือขนมที่มีน้ำตาลสูง เป็นหลักปฏิบัติที่ง่ายและดีต่อสุขภาพ

 

 

การเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมพลังงานส่วนเกิน อย่างไรก็ตามควรเลือกบริโภคแต่พอเหมาะ เพราะการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลปริมาณที่มากเกินไป ย่อมส่งผลเสียได้เช่นกัน

 

 

อุษณีย์ ยะตินันท์

นักกำหนดอาหาร

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





สิวอุดตันเกิดจาก สิวฮอร์โมน คอลลาเจน สิวไขมัน สิวหัวแข็ง AviClear AviClear Laser สิวไต สิวเสี้ยน หน้าขาวใส หน้าแพ้สาร สิวข้าวสาร หน้าใสไร้สิว หน้าไหม้แดด สิวหัวขาว หน้าแห้ง อาการนอนกรน วิธีลดไขมันทั้งตัว ผิวขาว ผิวหน้า ผู้หญิงนอนกรน หน้ากระจ่างใส วิธีลดไขมันในร่างกาย หน้าเนียนใส หน้าเนียน หน้าหมองคล้ำเกิดจาก กดสิวใกล้ฉัน กดสิวเสี้ยน กดสิว หน้าใส สิวอุดตัน หน้าหมองคล้ำ สิวอักเสบ สิว สิวหัวช้าง หน้าขาว สิวขึ้นคาง สิวผด ครีมลดรอยสิว วิธีแก้การนอนกรนผู้ชาย แก้อาการนอนกรนผู้หญิง วิธีลดหน้าท้องแบบเร่งด่วน Sculpsure ลดไขมันในร่างกาย วิธีลดไขมัน ลดไขมันต้นขา สลายไขมันหน้า ไตรกลีเซอไรด์ เซลลูไลท์ วิธีแก้นอนกรน ลดไขมัน Coolsculpting ทำกี่ครั้ง Sculpsure กับ Coolsculpting นอนกรนเกิดจาก Morpheus8 สลายไขมันหน้าท้อง วิธีลดพุงผู้หญิงเร่งด่วน 3 วัน Body Slim ลดไขมันทั้งตัว วิธีลดพุงผู้ชาย Morpheus8 กับ Ulthera ลดพุงเร่งด่วน วิธีลดไขมันต้นขา ลดพุง ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความน่ารู้ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความรักษาอาการนอนกรน บทความ Morpheus บทความ Coolsculpting บทความโปรแกรมดูแลผิวหน้า ข่าวและกิจกรรม romrawin รมย์รวินท์ Plinest Pico หลุมสิว เลเซอร์ฝ้า เลเซอร์ฝ้า กระ IV Weight Loss Thermage Body Pico Laser ราคา สิว กลืนบอลลูนราคา วิธีลดน้ำหนัก วิธีแก้อาการนอนกรน อาการนอนกรน บทความโปรแกรมรักษาอาการนอนกรน เลเซอร์รีแพร์ ดึงหน้าที่ไหนดี ผ่าตัดดึงหน้าราคา Thermage FLX ผ่าตัดดึงหน้า ดึงหน้าราคา ผ่าตัดดึงหน้าที่ไหนดี ดึงหน้า vs ร้อยไหม ศัลยกรรมดึงหน้าราคา เครื่องสลายไขมันด้วยความเย็น Ultraformer MPT ราคา ลดเซลลูไลท์ ฟิลเลอร์แก้มตอบราคา CoolSculpting vs Emsculpt ลดน้ำหนัก วิธีสลายไขมัน สลายไขมัน Alexandrite Laser Dynamic Tech Morpheus Pro สารเติมเต็ม ฟิลเลอร์แท้ ฟิลเลอร์ปลอม เลเซอร์ขนหน้าอก Coolsculpting vs Coolsculpting Elite Morpheus8 ราคา สลายไขมันด้วยความเย็นราคา สลายไขมันด้วยความเย็น ฟิลเลอร์ใต้ตาราคา ดึงหน้า Ultherapy Prime vs Ulthera SPT IPL เลเซอร์ขนแขน YAG Laser Diode Laser ไฮยาลูรอน ฟิลเลอร์น้องชายอันตรายไหม ฉีดสิว Emtone 1 week 1 Kilo ลดน้ำหนัก กลืนบอลลูน Exo Hair Reborn หลังฉีดฟิลเลอร์คาง ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม Coolsculpting Fit Firm Emsculpt Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex