
© 2017 Copyright - Haijai.com
สวาด ยาแก้ไอ
สวาด เป็นพืชที่พบทั่วไปในเขตร้อนชื้น ในประเทศไทยมี 2 ชนิด ชนิดที่พบทั่วไปและนิยมนำมาใช้ทำยาพบมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคใต้บริเวณชายหาดริมทะเล ป่าเปิดทั่วไป และพบได้ในที่ระดับความสูงถึง 200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ภาคเหนือเรียกว่า “ป่าขี้แฮด” ภาคใต้เรียกว่า “หวาด” อีกชนิดพบเฉพาะในภาคใต้ โดยมีชื่อเรียก เช่น ง้ายแดง ง้ายใหญ่
สวาดหรือป่าขี้แฮดในภาษาเหนือนั้น มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย มีหนาม ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม และติดผลในเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ยังไม่พบรายงานความเป็นพิษ สิ่งที่ควรระวังคือหนามที่เกิดจากผิวตั้งตรง หรือโค้งลง สวาดชนิดนี้นอกจากในประเทศไทยแล้ว ยังพบมีการกระจายพันธุ์ในประเทศศรีลังกา อินเดีย สิกขิม เนปาล พม่า จีน ไต้หวัน ภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย
ใบสวาด ยาสามัญประจำบ้าน ใช้เป็นยาแก้ไอ เป็นส่วนประกอบสำคัญในตำรับยาประสะมะแว้ง โดยมีส่วนประกอบสำคัญอื่นๆ คือ ใบตามหม่อน ใบกะเพรา หนักอย่างละ 4 ส่วน ขมิ้นอ้อย หนัก 3 ส่วน ลูกมะแว้งต้น ลูกมะแว้งเครือ หนักอย่างละ 8 ส่วน บดเป็นผงผสมน้ำสุก ใส่พิมเสพอควร ทำเป็นเม็ดหนักเม็ดละ 0.2 กรัม ใช้เป็นยาแก้ไอแก้เสมหะ ละลายน้ำมะนาวผสมเกลือรับประทาน หรือใช้อม ขนาดรับประทานสำหรับเด็ก ครั้งละ 1-2 เม็ด ผู้ใหญ่ ครั้งละ 5-7 เม็ด ขนาดบรรจุ 30 เม็ด
ตำรายาไทยใช้ ใบ เป็นยาขับลม แก้จุกเสียด แก้ปัสสาวะพิการ ชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส และพบในจังหวัดภาคกลางตอนใต้ คือ ประจวบคีรีขันธ์ แต่เรียกชื่อผิดเพี้ยนกันไปบ้าง โดยชาวประจวบคีรีขันธ์เรียกการละเล่นนี้ว่า “หมากหลุม”
เมล็ดสวาดได้มาจากฝักที่แก่จัด มีน้ำหนักเบา ปัจจุบันหาได้ยาก เนื่องจากสวาดขึ้นในป่า เมื่อป่าน้อยลง ต้นสวาดจึงพลอยหายากไปด้วย ลูกสวาดเมื่อแกะออกจากเปลือกใหม่ๆ จะคายมือ แต่เมื่อเล่นไปนานลูกจะลื่นเป็นมัน ทำให้หยอดลูกลงขุมได้รวดเร็วขึ้น บางแห่งหาลูกสวาดไม่ได้ จึงใช้ลูกแก้วแทน แต่ลูกแก้วมีน้ำหนักมาก ควักยากและเวลาหยอดลงหลุมมีเสียงดัง ไม่เพราะเหมือนลูกสวาด
การเล่นหมากขุมเล่นได้ตั้งแต่เด็กเล็กที่พอจะนับเลขได้จนถึงหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ ส่วนมากผู้สูงอายุมักจะมีลูกหลานมานั่งเล่นเป็นเพื่อน ให้คลายความเหงาและคลายเครียด ประโยชน์ของการเล่นหมากขุมมีหลายประการดังนี้
• ประการแรก เป็นการสนุกสนานพักผ่อนหย่อนใจในยามว่าง
• ประการที่สอง ถ้าผู้เล่นเป็นเด็กทำให้รู้จักคิดเลขไปในตัว ตั้งแต่แจกลูกขุมละเจ็ดลูก และเมื่อเล่นไปก็คิดคำนวณได้ว่าในขุมนั้นมีลูกอยู่เท่าใด เป็นการฝึกสมองด้านคณิตศาสตร์
• ประการที่สาม ทำให้ตาไว เช่น ดูการเล่นของคู่ต่อสู้ได้ทัน ไม่ถูกโกง และสามารถนับลูกหลากขุมที่อยู่ในขุมได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งมองดูขุมที่จะเดินต่อไปได้ แม่นยำว่าขุมใดเป็นขุมตายหรือขุมเป็น จึงช่วยให้ตาไวและสมองไว เพราะในการเล่นมีกติกาห้ามนับลูก เป็นการเอาเปรียบฝ่ายตรงกันข้าม
• ประการที่สี่ เป็นการประหยัด ผู้ปกครองไม่ต้องซื้อของเล่นที่มีราคาแพง เป็นการสิ้นเปลือง ทั้งในวันหยุดลูกหลานก็ได้อยู่กับบ้านเล่นหมากขุม ไม่ต้องออกไปเที่ยวเตร่
• ประการที่ห้า ลูกหลานรู้จักเก็บงำข้าวของให้มีระเบียบ เมื่อเล่นหมากขุมเสร็จแล้ว ผู้เล่นต้องรู้จักเก็บรางหมากขุมและลูกให้เรียบร้อย เช่น รางหมากขุมอาจจะสอดไว้ใต้โต๊ะ ในตู้ มิให้วางเกะกะ ลูกหมากขุมก็เก็บใส่กล่องไว้ โดยนับจำนวนให้ครบ เพื่อได้เล่นในโอกาสต่อไป
การเล่นหมากขุมมิใช่เป็นการพนัน นอกจากว่าก่อนเล่นจะมีการสัญญากันว่า ผู้แพ้ต้องถูกเขกหัวเข่า หรือต้องดื่มน้ำหนึ่งแก้ว บางทีเล่นกันจนผู้แพ้ทุกรอบต้องดื่มน้ำกันจนพุงกาง
กล่าวโดยสรุปคือ ใบสวาดสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับลม แก้จุกเสียด แก้ปัสสาวะพิการ ส่วนลูกสวาดก็มีประโยชน์ด้านสันทนาการ ทำให้สนุกสนานผ่อนคลาย ทั้งยังฝึกสมอง และสร้างระเบียบวินัยให้กับผู้เล่นอีกด้วย
ศ.ดร.ภก.วงศ์สถิต ฉั่วกุล
(Some images used under license from Shutterstock.com.)