Haijai.com


โรคเอสแอลอี SLE โรคพุ่มพวง


 
เปิดอ่าน 9139

ทางออกผู้ป่วยเอสแอลอี ตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

 

 

Q : เรียนคุณหมอชัญวลี ดิฉันป่วยเป็นโรคเอสแอลอีมา 2 ปีแล้วค่ะ ต้องกินยาเพื่อควบคุมอาการ ซึ่งเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ ขณะนี้อายุ 30 ปี แต่งงานมาได้ 3 ปีแล้ว อยากมีลูก แต่เกรงว่าจะมีปัญหาระหว่างตั้งครรภ์และลูกอาจไม่แข็งแรง เพราะคุณหมอที่รักษาก็บอกว่ามีได้ แต่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เลยอยากขอคำแนะนำและขอกำลังใจจากคุณหมอชัญวลีค่ะ

 

 

A : เคยเจอคนท้องขณะเป็นโรคเอสแอลอีหลายคน มีทั้งเสียชีวิตด้วยโรคนี้ และคลอดได้อย่างปลอดภัยทั้งแม่และลูก ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น มีปัจจัยอะไรเกี่ยวข้องบ้าง มาดูกันค่ะ

 

 

โรคเอสแอลอีเป็นโรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue Disease) ที่เกิดจากการแพ้ภูมิคุ้มกันของร่างกายตนเองโดยไม่ทราบสาเหตุ บ้างว่าอาจเกี่ยวกับพันธุกรรม ทำให้ภูมิต้านทานตนเองทำลายเนื้อเยื่อร่างกายของตนเอง จนก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังทั่วร่างกาย โรคนี้พบมากในชาวเอเชีย ประมาณ 1 : 1,000 ประชากร ร้อยละ 90 เกิดในผู้หญิง โดยพบได้ทุกช่วงอายุ พบมากในช่วงอายุ 15-45 ปี

 

 

โรคนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่าโรคลูปัส ชื่อเต็มคือ Systemic Lupus Erythematosus ที่เมืองไทยนิยมเรียกว่าโรคพุ่มพวง เพราะ คุณพุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องฉายาราชินีลูกทุ่ง เสียชีวิตด้วยโรคนี้ในปี พ.ศ.2535

 

 

6 กลุ่มอาการที่พบบ่อย

 

ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีไข้ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ปวดข้อ และมีอาการของระบบต่างๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค แต่ไม่ได้พบทุกอาการ โดยมีกลุ่มอาการที่พบบ่อย เช่น

 

1.ผิวหนังอักเสบ เกิดผื่นคล้ายรูปผีเสื้อที่ใบหน้า (Malar Rash) ผื่นตามลำตัว (Discoid Rash) ผิวหนังไวต่อแสงแดด

 

 

2.เนื้อเยื่ออักเสบ มีแผลอักเสบในปาก ข้ออักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวอักเสบ

 

 

3.ไตอักเสบ มีไข่ขาวรั่วออกมาจากไต ไตเสื่อม ไตวาย

 

 

4.ระบบประสาทสมองอักเสบ มีการชัก มีอาการของโรคจิตโดยไม่มีสาเหตุ

 

 

5.ระบบหลอดเลือดและระบบเลือดอักเสบ ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดแดงแตกจนเกิดโลหิตจาง ความดันโลหิตสูง

 

 

6.ภูมิต้านทานผิดปกติ จะพบภูมิต้านทานต่อนิวเคลียสของเซลล์ (ANA = Antinuclear Antibody) และภูมิต้านทานที่ผิดปกติอื่นๆ อีกหลายชนิด บางชนิดทำให้มีอาการรุนแรง

 

 

เมื่อรักษาโรคนี้ โรคจะดำเนินไปเป็น 2 ระยะ คือ ระยะโรคสงบ ผู้ป่วยแทบไม่มีอาการผิดกติอะไร กินยาน้อยลง และระยะโรคกำเริบ ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดข้อ มีไข้ เมื่อตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการจะพบความผิดกติของภูมิต้านทานและการอักเสบเรื้อรังที่อวัยวะต่างๆ

 

 

ในผู้ป่วยโรคเอสแอลอีเพศหญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ พบว่าโรคนี้ไม่ทำให้เป็นหมัน สามารถมีลูกได้ตามปกติ มีผู้ป่วยบางรายเท่านั้นที่มีปัญหาเลือดไม่ไปเลี้ยงรังไข่ ทำให้ไข่ไม่ค่อยตก จึงมีลูกยาก อย่างไรก็ตาม เมื่ออยากมีลูก ต้องระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยควรปฏิบัติตัวดังนี้ค่ะ

 

 

6 ข้อควรปฏิบัติ

 

สำหรับผู้ป่วยเอสแอลอีตั้งครรภ์

 

1.บางรายไม่ควรมีลูก เช่น ระยะโรคกำเริบ ไตอักเสบ ไตเสื่อม ไตวาย รักษาด้วยยาที่อาจทำให้เด็กในครรภ์พิการ ความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมได้ เป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ แพทย์จะแนะนำวิธีคุมกำเนิด ซึ่งโรคเอสแอลอีมีข้อห้ามในการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด

 

 

2.ยารักษาโรคแอสแอลอีบางชนิดมีผลต่อทารกในครรภ์ เช่น ไซโคลฟอสฟาไมด์ (Cyclophosphamide) และเมโธเทรกเซท (Methotrexate) ทำให้ทารกพิการ ห้ามกินในช่วงตั้งครรภ์ 1-3 เดือน บางชนิด เช่น เลฟลูโนไมด์ (Leflunomide) แม้หยุดยาแล้วยังห้ามตั้งครรภ์นานถึง 3 ปี เพราะยาทำให้เด็กพิการ กว่าจะขับออกจากร่างกายจนหมดใช้เวลานาน 2 ปี ดังนั้น ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยาที่มีผลต่อทารกในครรภ์เสียก่อน

 

 

3.ควรตั้งครรภ์หลังจากโรคสงบแล้วนาน 6 เดือน เพราะเป็นระยะที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ที่มีผลต่อแม่และทารกในครรภ์น้อยสุด แม้กระนั้นขณะตั้งครรภ์ก็มีโอกาสที่โรคระยะสงบจะกลับเข้าสู่ระยะโรคกำเริบได้ถึงร้อยละ 25-60 แต่พบว่าสามารเพิ่มยากลุ่มสเตียรอยด์ขนาดสูง เพื่อควบคุมโรคได้ โดยไม่มีอันตรายต่อการตั้งครรภ์

 

 

4.อัตราความปลอดภัย ผู้ป่วยโรคเอสแอลอีมีโอกาสตั้งครรภ์โดยปราศจากภาวะแทรกซ้อน ลูกและแม่แข็งแรงถึงร้อยละ 81 แต่ร้อยละ 19 มีโอกาสตั้งครรภ์โดยมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดอันตรายต่อแม่และลูก

 

 

5.ภาวะแทรกซ้อนของโรคเอสแอลอีที่มีต่อทารกในครรภ์ พบมากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า ได้แก่ ทารกขาดอาหารในครรภ์ ทารกเสียชีวิตในครรภ์ นอกจากนั้นทารกยังมีโอกาสเป็นโรคเอสแอลอี (Neonatal Lupus) จากภูมิต้านทานของแม่ที่ส่งผ่านทารกไปยังลูก ส่งผลให้ทารกบางรายมีการเต้นของหัวใจไม่ปกติ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ (Complete Heart Block) หากเป็นมาก อาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือเสียชีวิตหลังคลอดได้

 

 

6.เมื่อตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์ทันที สูติแพทย์มักจะดูแลร่วมกับอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเอสแอลอี เพื่อเฝ้าระวังการกำเริบของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น หญิงตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ในบางกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ชักจากครรภ์เป็นพิษ (Eclampsia) ตับอักเสบ ไตอักเสบรุนแรง เกล็ดเลือดต่ำ อาจต้องยุติการตั้งครรภ์เพื่อช่วยชีวิตแม่ไว้ก่อน

 

 

สรุป โรคเอสแอลอีไม่ทำให้มีลูกยาก ในกรณีโรคอยู่ในช่วงสงบนาน 6 เดือน สามารถปล่อยให้ตั้งครรภ์ได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน หากแพทย์อนุญาตจึงปล่อยให้ตั้งครรภ์ได้ โดยกินสารโฟเลตก่อนปล่อยให้ตั้งครรภ์นาน 1 เดือน เมื่อตั้งครรภ์ถือว่าเป็นครรภ์เสี่ยงสูง (High Risk Pregnancy) ควรฝากครรภ์ทันที

 

 

การดูแลเอาใจใส่ขณะตั้งครรภ์อย่างละเอียดของแพทย์ และคนไข้เอง แม้มีภาวะแทรกซ้อนก็จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาได้ จึงมีโอกาสสูงที่ทั้งแม่และลูกจะแข็งแรงปลอดภัยค่ะ

 

 

พญ.ชัญวลี ศรีสุโข

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น CoolSculpting romrawin รมย์รวินท์ ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขนถาวร เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Pico Pico NCTF 135 HA Rejuran Belotero Revive Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra Sculptra Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse UltraClear Aviclear Laser AviClear Laser Aviclear Aviclear AviClear Accure Laser Accure สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite NAD+ therapy NAD+ ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน Vaginal Lift Apex