
© 2017 Copyright - Haijai.com
ฝันร้ายในเด็กเล็กทำให้เด็กกลัว
ฝันร้ายเป็นฝันที่น่ากลัว อาจทำให้เด็กตื่นขึ้นมา ทำให้เขาร้องไห้ หรือตัวสั่นด้วยความตกใจกลัวและวิ่งไปที่เตียงของคุณ ฝันร้ายของเด็กต้องการการปลอบขวัญจากพ่อแม่ เด็กทุกคน (รวมทั้งผู้ใหญ่) ล้วนต้องเคยฝันร้ายทั้งสิ้น แต่สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 หรือ 6 ปีฝันร้ายกำลังทำให้ไม่สบายใจมากที่สุด เพราะอะไรหรือครับ? ในวัย 2 และ 3 ขวบเด็กไม่สามารถเข้าใจได้ว่าฝันคืออะไร หรือนั่นไม่ใช่เรื่องจริง แล้วเขาจะแน่ใจได้อย่างไรว่าฝันร้ายจะไม่เกิดขึ้นกับเขาจริงๆ ? พอถึงอายุ 4 และ 5 ขวบเด็กเริ่มจะเข้าใจว่าฝันไม่ใช่เรื่องจริง แต่ความเข้าใจของเขานั้นยังคงไม่มั่นคง นอกจากนั้นเด็กในวัยนี้ยังต้องการที่จะเชื่อหรือคิดถึงฝันที่ “ดี” ของเขาในด้านบวก ในแง่ที่ดี แต่เขาก็ยังไม่สามารถเลิกเชื่อในฝันที่ “ไม่ดี” ได้ แม้ว่าเด็กจะเข้าใจว่าฝันร้ายไม่ใช่เรื่องจริงแล้วก็ตาม แต่เขายังคงถูกทิ้งให้เผชิญกับความรู้สึกน่าตกใจ กลัวที่ทำให้เขาอกสั่นขวัญแขวนไม่หาย
ฝันร้ายทำให้เด็กกลัวที่จะกลับไปนอนต่อ บางครั้งเด็กอาจจะจำความฝันนั้นไม่ได้ แต่เขาจำความรู้สึกในตอนนั้นได้อย่างแน่นอน ความกลัวการเข้านอนอาจก่อตัวขึ้น ถ้าเด็กคนนั้นฝันร้ายบ่อยๆ ซึ่งสมควรที่เขาจะได้รับการปลอบประโลมและความเข้าใจจากคุณ บางครั้งฝันร้ายเกิดขึ้นเมื่อเด็กที่กำลังนอนหลับอยู่นั้นไม่สบายตัว เช่น แขนชากระเพาะปัสสาวะเต็มปรี่หรือเย็นเท้าเมื่อผ้าห่มเลื่อนหลุดจากเตียง ความรู้สึกทางกายภาพที่สร้างความรำคาญดูเหมือนว่าจะแสดงออกในฝันร้ายคล้ายๆ กับเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องน่ากลัวที่ “ผลักดัน” หรือกระตุ้นให้เด็ก (หรือผู้ใหญ่) ตื่นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานั้น
ฝันร้ายจะเกิดขึ้นมากที่สุดในเวลาที่เด็กกำลังผ่านพ้นช่วงเวลาที่ตึงเครียด เช่น คุณแม่มีน้องใหม่ ความเจ็บปวดชอกช้ำใจ คุณพ่อคุณแม่เดินทางไปที่อื่นฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุของฝันร้ายหากความเครียดนั้นเห็นได้ชัดเจน ก็จะเข้าใจฝันร้ายได้ง่ายขึ้น และควรพูดให้ลูกคลายกังวลในเรื่องฝันร้ายนี้อีกครั้งว่า “แน่นอนว่าหนูกังวลตอนกลางคืน เพราะหนูเคยกังวลในตอนกลางวันมาแล้ว ตั้งแต่หมาตัวนั้นวิ่งไล่หนู แม่กำลังจะร้องเพลงแถมให้อีกเพลง อุ้มโยกแถมให้อีกครั้ง และเราจะคุยเรื่องนี้ให้จบในคืนนี้เลยก็ได้ ถ้าลูกจะหาแม่ คุณแม่จะรีบเข้ามาหา เมื่อหนูเรียกดังๆ นะ” เป้าหมายคือช่วยลูกของคุณให้เรียนรู้ที่จะเอาชนะความกลัวในฝันร้ายด้วยตัวเขาเอง และเขาจะทำได้สำเร็จ ถึงแม้ว่าอาจไม่ใช่ในช่วงปีที่เขากำลังอ่อนไหวต่อสิ่งเหล่านี้มากที่สุดอย่างช่วงนี้ก็ตาม
มีเหตุผลที่เจ็บปวดยิ่งไปกว่านั้นที่ทำให้เด็กฝันร้ายเด็กเล็กที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับความตายของสมาชิกในครอบครัว ญาติ หรือเพื่อน จะกลัวการนอนหลับ เพราะพวกเขาอาจเชื่อมโยงความตายกับการนอนหลับเข้าด้วยกัน การที่ผู้ใหญ่อธิบายการตายอาจทำให้การนอนหลับน่ากลัวมากยิ่งขึ้น “หนูแค่ปิดตาและเข้านอน-ตลอดกาล” หรือ “เหล่านางฟ้าได้มาถึงและพาเขาไปขณะที่เขากำลังนอนหลับ” มีแนวโน้มว่าฝันร้ายกำลังจะเกิดขึ้นแล้วครับ เป็นการยากที่จะทำให้เด็กรู้สึกอุ่นใจ หลังจากเกิดการตายขึ้น เพราะว่าความตายนั้นเป็นเรื่องยากที่ใครจะเข้าใจได้ เด็กๆ อาจรู้สึกตื่นกลัวเมื่อพ่อแม่โศกเศร้าอย่างเห็นได้ชัดและแยกตัวพวกเขาเองออกไป แต่การให้ข้อมูลที่ง่ายชัดเจนและระมัดระวัง ก็จะช่วยให้เด็กไม่กลัวและไม่ฝันร้ายได้อย่างแน่นอน เช่น “คนเราตายเมื่อพวกเขาแก่มากๆ ป่วยมากๆ หรือเมื่อเขาประสบอุบัติเหตุร้ายแรง เมื่อตายพวกเขาไม่ได้เข้านอน ร่างกายของพวกเขาจะหยุดทำงาน พวกเขาไม่สามารถคิดไม่สามารถรู้สึกหรือเคลื่อนไหวได้ และชีวิตของพวกเขาจบสิ้นลง แต่เรายังจดจำคนที่เราห่วงใยเสมอหลังจากพวกเขาตาย”
ช่วงที่คาดว่าเด็กจะฝันร้าย จะเกิดขั้นตอนหรือทัชพอยต์ในพัฒนาการของเด็ก เด็กวัย 2 และ 3 ปี อาจฝันร้ายว่าตัวเองหลงทาง หรือตกอยู่ในอันตราย โดยไม่มีพ่อแม่ช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ ถึงแม้ “ปีศาจ” ดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหา แต่การแยกกันก็เป็นประเด็น เด็กวัย 4 ถึง 6 ปีที่ปกติ และมีสุขภาพดีที่พยายามจะจัดการความรู้สึกใหม่ที่ก้าวร้าวของเขาเอง มักฝันร้ายและกลัวความกลัวใหม่ในตอนกลางวัน (เกี่ยวกับผึ้งหรือลิฟท์ เป็นต้น) หรือเสียงดัง (เช่น เสียงฟ้าผ่า, รถดับเพลิง, สุนัขเห่า) ส่งผลอย่างไม่คาดคิด กลายเป็นฝันร้ายในตอนกลางคืน เด็กวัย 4 ขวบมักจะอ้อนวอนคุณว่า “ช่วยดูที่ในตู้หรือใต้เตียงให้หน่อย” ว่ามีปีศาจหรือแม่มดอยู่หรือไม่ ในวัยนี้ปีศาจและแม่มด อาจเป็นตัวแทนความรู้สึกภายในตัวเองที่ทำให้เขากลัว เขากำลังเรียนรู้ที่จะจัดการความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรงที่เกิดขึ้นใหม่และกำลังถูกกระตุ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การถูกทิ้งไว้เพียงลำพัง การไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ รวมทั้งตนเองได้ ความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ควรได้รับความเข้าใจจากคุณ เพื่อให้เขารู้จักเผชิญหน้าและเรียนรู้ที่จะจัดการกับสิ่งเหล่านี้
ฝันร้ายนั้นแตกต่างจากความกลัวยามค่ำคืน ความกลัวในยามค่ำคืนโดยปกติแล้วเกิดขึ้นประมาณสองชั่วโมงหลังจากเด็กนอนหลับ ส่วนที่ฝันร้ายเกิดขึ้นหลังจากนั้นหลายชั่วโมง เด็กจะตื่นขึ้นจากฝันร้าย กลัวและจะเตรียมพร้อมบอกพ่อแม่ว่า “หนูกลัว” เด็กที่โตกว่าจะพูดได้ว่า “หนูฝันร้าย” ส่วนความกลัวในยามค่ำคืน เด็กที่โตกว่าจะพูดได้ว่า “หนูฝันร้าย” ส่วนความกลัวในยามค่ำคืน เด็กที่กรีดร้องมักจะไม่ตื่น จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น และไม่สามารถพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้ หากเขาตื่น จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น และไม่สามารถพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้ หากเขาตื่น เขามักจะนอนต่อทันที แต่ถ้าเป็นฝันร้ายเด็กมักจะกลัวหลังจากนั้นและอาจมีปัญหาในการนอนต่อความกลัวยามค่ำคืนมักจะหายไป หลังจากอายุประมาณ 6 ปี ส่วนฝันร้ายนั้น มักมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในช่วงอายุ 4-6 ปีกระนั้น ก็ตาม ฝันร้ายก็เกิดขึ้นได้กับทุกคนตั้งแต่อายุ 2 ขวบจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่รู้สึกเครียดหรือกดดัน
(Some images used under license from Shutterstock.com.)