Haijai.com


ใส่บอลลูน เพื่อลดความอ้วน


 
เปิดอ่าน 3585

บอลลูนลดอ้วน

 

 

“ความอ้วน” เป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการ เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด ทั้งยังส่งผลต่อรูปลักษณ์ภายนอก  ทำให้หลายคนไม่มั่นใจในตัวเอง เทคนิคลดความอ้วนมากมายถูกนำมาเผยแพร่ ทั้งแบบปากต่อปาก หรือผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และสังคมออนไลน์ ได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ประเดิมชัย คงคำ อายุรศาสตร์โรงพยาบาลและผู้ป่วยนอก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการลดความอ้วนในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์มาเป็นตัวช่วย แต่วิธีดังกล่าวจะเหมาะกับใครและมีข้อจำกัดอย่างไรบ้างนั้น ต้องติดตาม

 

 

การใส่บอลลูนเพื่อลดความอ้วนได้รับการคิดค้นและพัฒนามาตั้งแต่ประมาณ 10 ปีที่แล้ว โดยเกิดขึ้นหลังการักษาด้วยวิธีผ่าตัดลดความอ้วน แต่สาเหตุที่บอลลูนลดความอ้วนยังไม่เป็นที่แพร่หลายในอดีตนั้น เนื่องจากเมื่อก่อนวัสดุที่ใช้บวกกับเทคนิคการประกอบบอลลูนยังไม่ดีนัก ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มาก เช่น บอลลูนแตกรั่ว กลายเป็นชิ้นเล็กๆ ไหลไปอุดตันลำไส้เล็ก แต่ปัจจุบันวัสดุที่ใช้และเทคนิคการทำบอลลูนนั้น ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จึงลดลงอย่างเห็นได้ชัด จึงเริ่มมีผู้สนใจใช้วิธีนี้กันมากขึ้น

 

 

ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ได้รับรองแล้วว่า การใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหาร สามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย และช่วยลดน้ำหนักได้ในระดับหนึ่ง

 

 

การใส่บอลลูนมีขั้นตอนอย่างไร

 

ทำได้โดยการใส่บอลลูนที่ยังไม่ได้เติมน้ำเข้าไปทางปากของผู้ป่วย โดยใช้กล้องส่องผ่านทางเดินอาหารเข้าไปในกระเพาะอาหาร แล้วจึงเติมน้ำเข้าไปในบอลลูนที่ปริมาตร 400 มิลลิลิตร จากนั้นปล่อยบอลลูนไว้ในกระเพาะอาหาร วิธีนี้จะทำให้พื้นที่ในกระเพาะอาหารลดลง ช่วยให้อิ่มเร็วขึ้น

 

 

ยกตัวอย่าง จากเดิมที่เคยรับประทาน 2 จาน จึงรู้สึกอิ่มอาจจะรับประทานแค่ 1 จาน ก็รู้สึกอิ่มแล้ว ประเด็นคือ เมื่อรู้สึกอิ่มแล้วต้องหยุดรับประทาน อย่าพยายามรับประทานต่อ เมื่อรับประทานน้อยลง บวกกับเลือกแต่อาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายร่วมด้วย ก็จะช่วยให้น้ำหนักลดลงได้

 

 

ใครบ้างที่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีใส่บอลลูน

 

สิ่งหนึ่งที่อยากให้ทุกคนพึงระลึกไว้เมื่อต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำหัตถการก็คือ หลัก 6 ประการ ได้แก่ ประโยชน์ โทษ ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ทางเลือกอื่น และความพร้อมของทีมบุคลากร ผู้ทำการรักษาและสถานที่ สำหรับการลดน้ำหนักด้วยการใส่บอลลูน หากพิจารณาตามหลัก 6 ประการที่กล่าวมา มีรายละเอียด ดังนี้

 

1.ประโยชน์ จากการรวบรวมข้อมูลการศึกษาขนาดใหญ่ที่ทำในผู้ป่วยประมาณ 1,600 คน พบว่า การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารสามารถลดน้ำหนักได้ประมาณร้อยละ 10 วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีความอ้วนในระดับปานกลางเท่านั้น หากอ้วนมากกว่านี้พบว่าไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงอะไร นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ใส่บอลลูนควบคู่กับการออกกำลังกาย และผู้ที่ลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว พบว่า กลุ่มที่ใส่บอลลูนสามารถลดน้ำหนักได้ประมาณ 6 กิโลกรัม ในขณะที่กลุ่มที่ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว ลดได้ประมาณ 3 กิโลกรัม เห็นได้ว่าน้ำหนักจะลดลงเพียงปานกลาง ไม่ได้ลดลงมาก

 

 

2.โทษ ผลข้างเคียงของการใส่บอลลูนที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน พบได้ประมาณ 1 ใน 3 หรือประมาณร้อยละ 30 เช่นเดียวกับการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบได้ประมาณ 1 ใน 3 เช่นกัน สาเหตุของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากถูกบอลลูนเสียดสี

 

 

เพราะฉะนั้น ผู้ที่ใส่บอลลูนจึงต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารควบคู่ไปตลอดระยะเวลาที่ใส่บอลลูน ซึ่งส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใส่เป็นระยะเวลา 6-12 เดือน อีกประเด็นหนึ่งที่พบประมาณ 1 ใน 5 ของผู้ที่ใส่บอลลูนคือ ผู้ป่วยไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงของการใส่บอลลูนได้ จึงต้องมานำบอลลูนออกด้วยการส่องกล้องผ่านทางเดินอาหารเข้าไปในกระเพาะอาหาร เพื่อเอาน้ำในบอลลูนออก แล้วดึงบอลลูนที่แฟบลงแล้วออกมา นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ แต่พบได้น้อยมากประมาณร้อยละ 1 เช่น บอลลูนแตก มีชิ้นส่วนไปอุดตันทางเดินอาหาร

 

 

3.ข้อบ่งชี้ การพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธีใส่บอลลูน ผู้ป่วยต้องมีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้

 

1). ผู้ป่วยเป็นโรคอ้วน หรือต้องเป็นโรคที่มีสาเหตุจากความอ้วน

 

 

2). ผู้ป่วยต้องอ้วนแค่ปานกลาง หากอ้วนมากกว่านี้ ควรรักษาด้วยวิธีการอื่นจะเหมาะสมกว่า เช่น การผ่าตัด

 

 

3). ผู้ป่วยเคยใช้วิธีลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกายมาแล้ว

 

 

แต่ปรากฏว่าไม่สามารถลดน้ำหนักได้ ทั้ง 3 ข้อนี้ คือข้อบ่งชี้ว่าผู้ป่วยน่าจะได้รับการใส่บอลลูน เพื่อช่วยในการลดน้ำหนัก ถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ตามที่ระบุไว้ก็ไม่ควรทำ

 

 

4.ข้อห้าม ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์หรือข้อบ่งชี้ว่าสามารถทำได้ แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มที่มีข้อห้ามดังต่อไปนี้ก็ไม่สามารถทำได้ ซึ่งกลุ่มต้องห้ามในการใส่บอลลูน ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคลำไส้อักเสบ ผู้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ อาจเป็นตั้งแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง เพราะอาจมีเลือดออกได้ถ้าใส่บอลลูน ผู้ที่มีความผิดปกติทางกายวิภาคของทางเดินอาหาร ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตเวช หรือใช้สารเสพติด เพราะอาจทำให้การดูแลเป็นไปด้วยความลำบาก ผู้ที่มีโรคทางอายุรกรรมที่เป็นข้อห้ามในการส่องกล้องหรือลดน้ำหนัก กลุ่มผู้ป่วยที่มีการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารผิดปกติ กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาที่ทำให้เกิดแผลในทางเดินอาหาร (เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ยาลดการอักเสบ)

 

 

ผู้ทีแพ้ซิลิโคน เนื่องจากบอลลูนทำจากซิลิโคน หากใส่ในผู้ที่แพ้ซิลิโคน อาจเกิดปัญหายุ่งยากตามมาได้ ที่สำคัญคือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถมารับการติดตามการรักษาได้สม่ำเสมอ ไม่ควรใส่บอลลูน เนื่องจากระหว่างที่ใส่บอลลูน 6-12 เดือน ผู้ป่วยจะต้องมาพบแพทย์เป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อตรวจเช็คสุขภาพ และติดตามเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำกาย เป็นต้น

 

 

5.ทางเลือกอื่น เมื่อผู้ป่วยมารับคำปรึกษาเรื่องการลดน้ำหนักด้วยวิธีใส่บอลลูน ต้องพิจารณาทางเลือกอื่นด้วย ได้แก่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นวิธีที่ควรแนะนำเป็นอันดับแรกในคนที่อ้วนปานกลาง สำหรับคนที่อ้วนมากๆ การใส่บอลลูนไม่ช่วยอะไรมากนัก เนื่องจากลดได้ไม่มาก เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว

 

 

อย่างไรก็ตามการใส่บอลลูนอาจช่วยผู้ป่วยที่อ้วนมากๆ ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยต้องลดความอ้วนด้วยวิธีการผ่าตัด แต่น้ำหนักที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อกระบวนการในการผ่า เช่น การดมยา ผู้ป่วยจึงต้องมาใส่บอลลูนเพื่อลดน้ำหนักก่อนผ่าตัดประมาณ 3-6 เดือน เมื่อน้ำหนักลดลงได้ระดับหนึ่ง การผ่าตัดอาจจะง่ายขึ้น

 

 

6.ความพร้อมของทีมบุคลากรผู้ทำการรักษาและสถานที่ การใส่บอลลูนก็คือ การส่งกล้องและใส่วัสดุเข้าไปที่กระเพาะอาหาร ดังนั้น แพทย์ที่ทำการรักษาด้วยวิธีนี้ให้ท่าน จึงควรเป็นแพทย์ที่มีวุฒิบัตร หรือมีความสามารถที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย สมาคมแพทย์ส่องกล้องทางเดินอาหารไทย หรือราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ยืนยันว่าแพทย์ท่านนี้สามารถทำการส่องกล้องได้อย่างปลอดภัย

 

 

มีทีมงานที่ดี สถานที่พร้อม สำหรับการใช้เครื่องมือส่องกล้องใส่บอลลูน แพทย์ควรเข้ารับการอบรมเพิ่มเติมจากอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย เนื่องจากมีเทคนิคที่ต้องเรียนรู้อยู่พอสมควร

 

 

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นรายละเอียดเบื้องต้นเท่านั้น หากท่านต้องการลดน้ำหนักด้วยวิธีใส่บอลลูน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องก่อน ว่าที่มีความจำเป็นต้องลดน้ำหนักหรือไม่ ถ้าจำเป็นต้องลด จำเป็นต้องใช้วิธีนี้หรือเปล่า เพราะการลดน้ำหนักสามารถทำได้หลายวิธี การใส่บอลลูนอาจไม่เหมาะกับตัวท่านก็ได้

 

 

สำหรับผู้ที่ใส่บอลลูนจนครบกำหนด 6-12 เดือน (ไม่ควรใส่บอลลูนนานเกิน 12 เดือน เนื่องจากคุณภาพของวัสดุจะเริ่มลดลงเมื่อใส่นานกว่านั้น) แล้วกังวลว่าน้ำหนักจะขึ้นหรือเปล่า ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับตัวท่านเอง เพราะถ้าหากกลับไปรับประทานอาหารมากเกิน หรือรับประทานแต่อาหารหวาน มัน ของทอด แป้ง และไม่ออกกำลังกาย ความอ้วนก็จะกลับมาหาท่านอีกครั้งอย่างแน่นอน

 

 

สุดท้ายนี้ สิ่งหนึ่งที่อยากฝากไว้เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพก็คือ “การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด” แน่นอนว่าโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างเราไม่สามารถป้องกันได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องรักษาไปตามกระบวนการขั้นตอน แต่หากต้องเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เรื่องความอ้วน จริงๆ แล้วถือว่าเป็นโรคที่ป้องกันได้ และสามารถรักษาได้ตั้งแต่ต้นมือ

 

 

ดังนั้น เราจึงต้องพยายามดูแลตนเองอย่างถูกวิธี อีกอย่างหนึ่งคือเมื่อพูดถึงความอ้วน คนจำนวนหนึ่งมักจะนึกถึงเรื่องความสวยความงามมาเป็นอันดับแรก ตรงนี้อยากให้มองเป็นประเด็นรอง และมองเรื่องของสุขภาพเป็นประเด็นหลักมากกว่า เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของหลายโรค ทั้งความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ ข้อเข่าเสื่อม และอื่นๆ

 

 

รศ.นพ.ประเดิมชัย คงคำ

อายุรศาสตร์โรงพยาบาลและผู้ป่วยนอก

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





สิวอุดตันเกิดจาก สิวฮอร์โมน คอลลาเจน สิวไขมัน สิวหัวแข็ง AviClear AviClear Laser สิวไต สิวเสี้ยน หน้าขาวใส หน้าแพ้สาร สิวข้าวสาร หน้าใสไร้สิว หน้าไหม้แดด สิวหัวขาว หน้าแห้ง อาการนอนกรน วิธีลดไขมันทั้งตัว ผิวขาว ผิวหน้า ผู้หญิงนอนกรน หน้ากระจ่างใส วิธีลดไขมันในร่างกาย หน้าเนียนใส หน้าเนียน หน้าหมองคล้ำเกิดจาก กดสิวใกล้ฉัน กดสิวเสี้ยน กดสิว หน้าใส สิวอุดตัน หน้าหมองคล้ำ สิวอักเสบ สิว สิวหัวช้าง หน้าขาว สิวขึ้นคาง สิวผด ครีมลดรอยสิว วิธีแก้การนอนกรนผู้ชาย แก้อาการนอนกรนผู้หญิง วิธีลดหน้าท้องแบบเร่งด่วน Sculpsure ลดไขมันในร่างกาย วิธีลดไขมัน ลดไขมันต้นขา สลายไขมันหน้า ไตรกลีเซอไรด์ เซลลูไลท์ วิธีแก้นอนกรน ลดไขมัน Coolsculpting ทำกี่ครั้ง Sculpsure กับ Coolsculpting นอนกรนเกิดจาก Morpheus8 สลายไขมันหน้าท้อง วิธีลดพุงผู้หญิงเร่งด่วน 3 วัน Body Slim ลดไขมันทั้งตัว วิธีลดพุงผู้ชาย Morpheus8 กับ Ulthera ลดพุงเร่งด่วน วิธีลดไขมันต้นขา ลดพุง ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความน่ารู้ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความรักษาอาการนอนกรน บทความ Morpheus บทความ Coolsculpting บทความโปรแกรมดูแลผิวหน้า ข่าวและกิจกรรม romrawin รมย์รวินท์ Plinest Pico หลุมสิว เลเซอร์ฝ้า เลเซอร์ฝ้า กระ IV Weight Loss Thermage Body Pico Laser ราคา สิว กลืนบอลลูนราคา วิธีลดน้ำหนัก วิธีแก้อาการนอนกรน อาการนอนกรน บทความโปรแกรมรักษาอาการนอนกรน เลเซอร์รีแพร์ ดึงหน้าที่ไหนดี ผ่าตัดดึงหน้าราคา Thermage FLX ผ่าตัดดึงหน้า ดึงหน้าราคา ผ่าตัดดึงหน้าที่ไหนดี ดึงหน้า vs ร้อยไหม ศัลยกรรมดึงหน้าราคา เครื่องสลายไขมันด้วยความเย็น Ultraformer MPT ราคา ลดเซลลูไลท์ ฟิลเลอร์แก้มตอบราคา CoolSculpting vs Emsculpt ลดน้ำหนัก วิธีสลายไขมัน สลายไขมัน Alexandrite Laser Dynamic Tech Morpheus Pro สารเติมเต็ม ฟิลเลอร์แท้ ฟิลเลอร์ปลอม เลเซอร์ขนหน้าอก Coolsculpting vs Coolsculpting Elite Morpheus8 ราคา สลายไขมันด้วยความเย็นราคา สลายไขมันด้วยความเย็น ฟิลเลอร์ใต้ตาราคา ดึงหน้า Ultherapy Prime vs Ulthera SPT IPL เลเซอร์ขนแขน YAG Laser Diode Laser ไฮยาลูรอน ฟิลเลอร์น้องชายอันตรายไหม ฉีดสิว Emtone 1 week 1 Kilo ลดน้ำหนัก กลืนบอลลูน Exo Hair Reborn หลังฉีดฟิลเลอร์คาง ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม Coolsculpting Fit Firm Emsculpt Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex