Haijai.com


น้ำตาลเทียม สารให้ความหวาน


 
เปิดอ่าน 12047

น้ำตาลเทียม ใช้ได้ปลอดภัยจริงหรือ

 

 

เมื่อพูดถึงความหวานหลายคนคงนึกถึงน้ำตาล หรืออาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ขนมหวาน น้ำหวาน ลูกอมต่างๆ บางคนอาจนึกถึงผลของการรับประทานหวาน เช่น กินหวานแล้วฟันผุ อ้วน เบาหวาน หรือทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หลายคนจึงหันไปใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลทราย แต่ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่า เอ๊ะ...สารให้ความหวานเหล่านี้ทำมาจากอะไร เป็นสารเคมีหรือไม่ หากรับประทานแล้วจะมีผลกระทบต่อสุขภาพเราอย่างไร กินแล้วจะทำให้เป็นมะเร็งหรือเปล่า เราจะมาไขข้อข้องใจเหล่านี้กันค่ะ

 

 

สารให้ความหวานคือสารที่ให้รสหวาน โดยในทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และ สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ

 

 

สารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

 

สารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการจะเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต และให้พลังงานแก่ร่างกาย ดังนั้น หากรับประทานมากๆ อาจกระทบต่อสุขภาพ ทำให้ฟันผุ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน เบาหวาน โดยเฉพาะเบาหวานในเด็ก และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ สารให้ความหวานกลุ่มนี้ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดีคือ น้ำตาลทราย ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง ฟอกสี หรือไม่ฟอกสี ต่างก็ให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมือนกัน น้ำตาลชนิดอื่นที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน ได้แก่ น้ำผึ้ง น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลฟรุกโตส ไซรัปต่างๆ น้ำหวาน น้ำเชื่อม น้ำผลไม้เข้มข้น เป็นต้น

 

น้ำตาลแอลกอฮอล์ (Sugar alcohol) เป็นสารให้ความหวานประเภทมีคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานเช่นเดียวกับน้ำตาลทราย แต่ดูดซึมได้ช้าจึงมักถูกขับออกจากร่างกายก่อนนำไปใช้ประโยชน์ มีหลายชนิดที่นิยมใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ซอร์บิทอล (Sorbitol) ไซลิทอล (Xylitol) เนื่องจากน้ำตาลชนิดนี้ให้ความหวานโดยไม่ทำให้ฟันผุ เราจึงมักพบน้ำตาลชนิดนี้เป็นส่วนประกอบในลูกอมและหมากฝรั่ง

 

 

ข้อดีอีกอย่างของน้ำตาลชนิดนี้คือ ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูงมาก เมื่อเทียบกับน้ำตาลทราย จึงช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ปัจจุบันมีการนำน้ำตาลชนิดนี้มาจำหน่ายในรูปแบบของน้ำเชื่อม เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม แม้น้ำตาลชนิดนี้จะไม่ทำให้ฟันผุ และใช้ได้ในผู้ป่วยเบาหวาน แต่ก็อย่าลืมว่าน้ำตาลแอลกอฮอล์นี้ยังคงให้พลัง

 

 

ดังนั้น จึงไม่สามารถนำมาใช้ในผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักได้ ที่สำคัญไม่ควรรับประทานน้ำตาลแอลกอฮอล์เกินวันละ 30-50 กรัม เพราะอาจทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ท้องเดินได้ หากรับประทานในรูปของหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาลที่ใช้น้ำตาลแอลกอฮอล์แทน ส่วนใหญ่สามารถรับประทานได้วันละไม่เกิน 8 เม็ด (ใน 8 เม็ดมีน้ำตาลแอลกอฮอล์ไม่เกิน 30 กรัม)

 

 

ซึ่งโดยปกติผู้ผลิตจะมีการเขียนระบุปริมาณไว้ที่ข้างซองอยู่แล้ว เราในฐานะผู้บริโภคอาจต้องใส่ใจอ่านสักนิด เพื่อประโยชน์ของตัวเอง

 

 

สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ

 

สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ คือ สารที่ให้รสหวานแต่ให้พลังงานต่ำกว่าน้ำตาล หรือบางชนิดอาจไม่ให้พลังงานเลย จึงมักนำมาใช้แทนน้ำตาลทราย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก สารให้ความหวานกลุ่มนี้มีหลายชนิดที่นิยมใช้กัน ได้แก่

 

1.แอสปาแทม (Aspartame) คือ สารให้ความหวานที่มีลักษณะเป็นผลึกผงสีขาว ไม่มีกลิ่น ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะให้รสหวานอร่อยถูกใจ ผู้ทดสอบชิมมากกว่าหญ้าหวานและซูโครส เป็นสารประเภทโปรตีน ประกอบด้วยกรดอะมิโนหลัก 2 ชนิด คือ กรดแอสปาร์ติก และฟีนิลอะลานีน เมื่อถูกความร้อนจะเปลี่ยนเป็นรสขม

 

 

ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า ฟีนิลคีโตยูเรีย (Phenylketonuria – PKU) เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความบกพร่องในการสร้างเอนไซม์ย่อยฟีนิลอะลานีน ทำให้เกิดภาวะฟีนิลอะลานีนสะสมในเลือดมากผิดปกติ เป็นอันตรายต่อสมองได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข จึงออกกฎหมายให้มีคำเตือนระบุบนฉลากบรรจุภัณฑ์ที่มีแอสปาแทมเป็นส่วนประกอบว่า “ผลิตภัณฑ์นี้มีฟีนิลอะลานีน ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฟีนิลคีโตยูเรีย”

 

 

แอสปาแทมนิยมใส่ในเครื่องดื่มบางชนิด เช่น น้ำอัดลม นมเปรี้ยว ลูกอม และใช้บรรจุซองหรืออัดเม็ดเป็นน้ำตาลเทียม ส่วนใหญ่ขนาดที่บรรจุ 1 ซองทั่วไปในท้องตลาดจะมีน้ำหนัก 1 กรัม มีแอสปาแทมเป็นส่วนประกอบ 38 มิลลิกรัม สำหรับปริมาณที่องค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้บริโภคได้อย่างปลอดภัย โดยไม่เกิดอันตรายใดๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ คือ ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือไม่เกิน 50 ซองต่อวัน

 

 

2.ซูคราโลส (Sucralose) เป็นสารให้ความหวานที่สังเคราะห์ขึ้นมา มีโครงสร้างทางเคมีอยู่ในรูปที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ และไม่ทำให้ฟันผุ มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 600 เท่า ทนความร้อนได้ดี มักใช้แทนน้ำตาลในเครื่องดื่มต่างๆ น้ำผลไม้ หมากฝรั่ง ขนมหวานแช่แข็ง เบเกอรี่ เจลาติน การศึกษาวิจัยกว่า 100 ชิ้น ยืนยันว่า การใช้ซูคราโลสไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่เพื่อความมั่นใจด้านความปลอดภัย องค์การอนามัยโลกและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงแนะนำให้บริโภคได้ไม่เกิน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

 

 

3.แซ็กคาริน (Saccharin) หรือขัณฑสกร เป็นสารให้ความหวานที่มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี มีรสหวานกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า หากใช้ผสมอาหารในปริมาณมากไปจะให้ความรู้สึกขมแทนหวาน มีกลิ่นโลหะปนมนุษย์เริ่มมีการนำขัณฑสกรมาใช้ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2343 ปัจจุบันมักใช้ผสมในผัก ผลไม้ดอง เครื่องดื่มต่างๆ ไอศกรีม ขนมหวาน แยม น้ำสลัด

 

 

การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ขัณฑสกรกระตุ้นให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนู แต่กลไกการเกิดมะเร็งเช่นนี้กลับไม่พบในมนุษย์ ดังนั้น หลายประเทศจึงยังอนุญาตให้มีการใช้ขัณฑสกรในอาหารได้ แต่จะต้องมีฉลากระบุข้อความบอกผู้บริโภคว่า “การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ อาจทำให้เป็นอันตรายได้ เนื่องจากมีสารแซ็กคาริน ทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง” ในประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้ขัณฑสกรในเครื่องดื่ม แต่ในยุโรปอนุญาตให้ใส่ขัณฑสกรได้ไม่เกิน 80-100 มิลลิกรัมต่อลิตร องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้บริโภคได้อย่างปลอดภัย โดยไม่เกิดอันตรายใดๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ คือ ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

 

 

อย่างไรก็ตามการได้รับขัณฑสกร 5-25 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลาติดต่อกันหลายวัน หรือรับประทานครั้งเดียว 100 กรัม อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง ซึมและชักได้ ในรายที่แพ้อาการผื่นผิวหนังร่วมด้วย

 

 

4.เอซีซัลเฟมเค (Acesulfame K) ถูกค้นพลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 เป็นสารให้ความหวานที่มีรสหวานกว่าน้ำตาล 200 เท่า มีรสขมที่ปลายลิ้น ให้กลิ่นโลหะ ทนความร้อนและละลายน้ำได้ดี การศึกษาวิจัยกว่า 100 ชิ้น ยืนยันตรงกัน ในด้านความปลอดภัยของการใช้เอซีซัลเฟมเค จนสุดท้ายปี พ.ศ.2531 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้สามารถนำสารชนิดนี้ไปใช้ผสมในอาหารได้ ส่วนใหญ่นิยมใช้ผสมในเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาล ลูกอม โยเกิร์ต ชา กาแฟสำเร็จรูป พุดดิ้ง ครีมเทียม และนำไปใช้ผสมกับสารให้ความหวานแทนน้ำตาลชนิดอื่น ในยุโรปและองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใส่ในเครื่องดื่มได้ไม่เกิน 350 มิลลิกรัมต่อลิตร และจำกัดการรับประทานไม่เกิน 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

 

 

5.สตีวิโอไซด์ (Stevioside) หรือ หญ้าหวาน มีสาร Steviol glycosides ซึ่งเป็นสารให้ความหวานตามธรรมชาติที่สกัดมาจากใบของหญ้าหวาน มีรสหวานแหลม มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า หากรับประทานในปริมาณมากจะให้รสขมปลายลิ้น จากการศึกษาด้านพิษวิทยาพบว่า สตีวิโอไซด์เป็นสารให้ความหวานที่ค่อนข้างปลอดภัยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้น แต่เพื่อความมั่นใจ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก ได้ออกประกาศให้จำกัดการบริโภคสตีวิโอไซด์ไม่เกินวันละ 4 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

 

 

ปัจจุบันสตีวิโอไซด์นิยมใช้ทดแทนน้ำตาลทรายในเครื่องดื่ม นมเปรี้ยว ขนมหวานต่างๆ ในประเทศไทยมีการนำมาใช้ในรูปของน้ำตาลเทียมที่มีลักษณะเป็นผงละเอียด และใช้ผสมกับน้ำตาลทราย ลักษณะเป็นผลึกน้ำตาลทราย ซึ่งกลุ่มที่เป็นผลึกน้ำตาลทรายจะให้คาร์โบไฮเดรตและพลังงาน คิดเป็นครึ่งหนึ่งของน้ำตาลทราย ที่สำคัญคือ ไม่สามารถใช้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานได้ แต่สามารถใช้เพื่อลดพลังงานในผู้ที่ต้องการควบคุมพลังงานหรือกำลังลดน้ำหนักได้

 

 

6.หล่อฮังก๊วย เป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีรสหวานติดลิ้น เพราะมีสารให้ความหวานตามธรรมชาติ ชื่อ โมโกไซด์อยู่ 30% มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 150-300 เท่า แต่ไม่ให้พลังงาน และไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้น มักใช้ต้มผสมรวมในเครื่องดื่มสมุนไพร เช่น น้ำจับเลี้ยงหรือผสมในลูกอม จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยนิฮอนและมหาวิทยาลัยฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น พบว่าหล่อฮังก๊วยมีสารที่ช่วยต่อต้านเนื้องอก และยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกใต้ผิวหนังได้ อย่างไรก็ตามนักวิจัยยังต้องมีการศึกษาวิจัยด้านนี้เพิ่มเติมอีก

 

 

เห็นได้ว่าปัจจุบันมีสารให้ความหวานมากมายที่เป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค ทั้งแบบที่ให้คุณค่าทางโภชนาการและไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ สำหรับผู้บริโภคที่กำลังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือควบคุมพลังงานจากอาหาร การใช้น้ำตาลเทียมที่ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยต่อสุขภาพในปริมาณไม่มากนัก นับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถจำกัดการบริโภคน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย และช่วยเพิ่มความหวานให้กับชีวิตได้

 

 

เอกหทัย แซ่เตีย

นักกำหนดอาหาร

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





สิวอุดตันเกิดจาก สิวฮอร์โมน คอลลาเจน สิวไขมัน สิวหัวแข็ง AviClear AviClear Laser สิวไต สิวเสี้ยน หน้าขาวใส หน้าแพ้สาร สิวข้าวสาร หน้าใสไร้สิว หน้าไหม้แดด สิวหัวขาว หน้าแห้ง อาการนอนกรน วิธีลดไขมันทั้งตัว ผิวขาว ผิวหน้า ผู้หญิงนอนกรน หน้ากระจ่างใส วิธีลดไขมันในร่างกาย หน้าเนียนใส หน้าเนียน หน้าหมองคล้ำเกิดจาก กดสิวใกล้ฉัน กดสิวเสี้ยน กดสิว หน้าใส สิวอุดตัน หน้าหมองคล้ำ สิวอักเสบ สิว สิวหัวช้าง หน้าขาว สิวขึ้นคาง สิวผด ครีมลดรอยสิว วิธีแก้การนอนกรนผู้ชาย แก้อาการนอนกรนผู้หญิง วิธีลดหน้าท้องแบบเร่งด่วน Sculpsure ลดไขมันในร่างกาย วิธีลดไขมัน ลดไขมันต้นขา สลายไขมันหน้า ไตรกลีเซอไรด์ เซลลูไลท์ วิธีแก้นอนกรน ลดไขมัน Coolsculpting ทำกี่ครั้ง Sculpsure กับ Coolsculpting นอนกรนเกิดจาก Morpheus8 สลายไขมันหน้าท้อง วิธีลดพุงผู้หญิงเร่งด่วน 3 วัน Body Slim ลดไขมันทั้งตัว วิธีลดพุงผู้ชาย Morpheus8 กับ Ulthera ลดพุงเร่งด่วน วิธีลดไขมันต้นขา ลดพุง ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความน่ารู้ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความรักษาอาการนอนกรน บทความ Morpheus บทความ Coolsculpting บทความโปรแกรมดูแลผิวหน้า ข่าวและกิจกรรม romrawin รมย์รวินท์ Plinest Pico หลุมสิว เลเซอร์ฝ้า เลเซอร์ฝ้า กระ IV Weight Loss Thermage Body Pico Laser ราคา สิว กลืนบอลลูนราคา วิธีลดน้ำหนัก วิธีแก้อาการนอนกรน อาการนอนกรน บทความโปรแกรมรักษาอาการนอนกรน เลเซอร์รีแพร์ ดึงหน้าที่ไหนดี ผ่าตัดดึงหน้าราคา Thermage FLX ผ่าตัดดึงหน้า ดึงหน้าราคา ผ่าตัดดึงหน้าที่ไหนดี ดึงหน้า vs ร้อยไหม ศัลยกรรมดึงหน้าราคา เครื่องสลายไขมันด้วยความเย็น Ultraformer MPT ราคา ลดเซลลูไลท์ ฟิลเลอร์แก้มตอบราคา CoolSculpting vs Emsculpt ลดน้ำหนัก วิธีสลายไขมัน สลายไขมัน Alexandrite Laser Dynamic Tech Morpheus Pro สารเติมเต็ม ฟิลเลอร์แท้ ฟิลเลอร์ปลอม เลเซอร์ขนหน้าอก Coolsculpting vs Coolsculpting Elite Morpheus8 ราคา สลายไขมันด้วยความเย็นราคา สลายไขมันด้วยความเย็น ฟิลเลอร์ใต้ตาราคา ดึงหน้า Ultherapy Prime vs Ulthera SPT IPL เลเซอร์ขนแขน YAG Laser Diode Laser ไฮยาลูรอน ฟิลเลอร์น้องชายอันตรายไหม ฉีดสิว Emtone 1 week 1 Kilo ลดน้ำหนัก กลืนบอลลูน Exo Hair Reborn หลังฉีดฟิลเลอร์คาง ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม Coolsculpting Fit Firm Emsculpt Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex