Haijai.com


ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม


 
เปิดอ่าน 2657

ป้องกันข้อเข่าเสื่อม

 

 

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมมีทั้งลักษณะของเข่าโก่ง หรือเข่าบิด ขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้ว่าเป็นมากน้อยอย่างไร แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคนไข้ที่จะมาโรงพยาบาล คือ จะมีปัญหาเรื่องอาการปวดและเริ่มกังวลใจถึงความผิดปกติ ซึ่งถ้าปล่อยไว้จนเข่าโก่ง เข่าบิด ซึ่งเป็นลักษณะอาการที่แสดงออกชัดเจนของโรค การรักษาจะค่อนข้างยากขึ้น และการรักษาจะได้ผลไม่ดีเท่ากับกรณีที่ยังไม่เสื่อมมาก

 

 

กลุ่มเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

 

 การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีเกิน 10% แล้ว อีกประมาณ 9-10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากกว่า 20% ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นข้อเข่าเสื่อม พบว่าคนที่อายุมากกว่า 75 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ถึง 80-90%

 

 

 คนไข้ข้อเข่าไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งกับพื้นนานๆ การพับเพียบ ขัดสมาธิ นั่งยองๆ เพราะจะมีแรงกดต่อข้อเข่าค่อนข้างมาก ต้องระวังโดยเฉพาะผู้สูงอายุ

 

 

 คนที่มีน้ำหนักตัวมาก จะมีผลต่อข้อด้วย โดยเฉพาะข้อเข่าที่ต้องรองรับน้ำหนักตัว

 

 

 คนที่เคยได้รับบาดเจ็บเกี่ยวกับข้อเข่ามาก่อน เช่น หมอนรองกระดูกเข่าหรือเอ็นเข่าขาด กระดูกที่เข่าหักหรือเคลื่อน เหล่านี้ก็จะทำให้ข้อเข่าสูญเสียความมั่นคง มีปัญหาเรื่องข้อเข่าที่อาจเสื่อมก่อนกำหนดได้

 

 

 คนที่มีปัญหาเรื่องโรคข้ออักเสบอยู่แล้ว เช่น โรคเก๊าต์ โรครูมาตอยด์ รวมถึง กลุ่มคนที่มีความพิการของข้อมาก่อน เช่น พิการมาแต่กำเนิด หรือข้อเข่าเคลื่อน หรือหลุดแล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็จะทำให้ข้อเข่าเสื่อมง่ายเช่นกัน

 

 

การตรวจวินิจฉัยและการรักษา

 

การรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การดูแลตัวเองเบื้องต้น กับการผ่าตัด การดูแลตัวเองเบื้องต้น คือ ให้คนไข้ดูแลตัวเองเบื้องต้นโดยยังไม่ใช้ยา สำหรับคนที่ยังไม่เป็นโรค หรืออยู่ในช่วงเริ่มต้นของอาการ เช่น คนที่มีอาการปวดเกร็งบริเวณข้อเข่า แต่เข่ายังไม่ถึงกับบวมหรืออักเสบ เราจะใช้น้ำอุ่นประคบ แต่ถ้ามีอาการบวมแดงให้ใช้น้ำเย็นประคบ ให้ใส่สนับเข่าเพื่อเป็นการพยุงเข่า และลดการนั่งคุกเข่า หรือนั่งยองๆ

 

 

หากคนไข้มีอากรปวดมากควรใช้ไม้เท้า เพื่อลดการลงน้ำหนักที่ข้อเข่าได้ถึง 15% รวมถึงหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได ในคนที่มีน้ำหนักตัวมากควรลดน้ำหนักตัวลง ถ้ายังมีอาการปวดแพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยการใช้ยาและทำกายภาพบำบัด และถ้าไม่ได้ผลแพทย์จะพิจารณาผ่าตัด

 

 

นพ.ทวีเกียรติ รัศมีสุนทรางกูล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ

โรงพยาบาลวิภาวดี

 

 

ข้อเข่าเสื่อม - สุขภาพ - Haijai.com

 

โรคข้อเข่าเสื่อม คืออะไร - สุขภาพ - Haijai.com

 

ปัญหาข้อเข่าเสื่อม - สุขภาพ - Haijai.com

 

ใส่รองเท้าส้นสูงระวังโรคข้อเข่าเสื่อม - สุขภาพ - Haijai.com

 

ปวดข้อเข่า หลัง ข้อนิ้วมือ คอ

 

โรคข้อเสื่อม 6 สมุนไพรไทยช่วยได้ - สุขภาพ - Haijai.com

 

การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า - สุขภาพ - Haijai.com

 

โรคข้อเสื่อมถ้าไม่รักษาจะเกิดอะไร

 

หักข้อต่อ ก๊อบแก๊บ ส่อโรคกระดูกเสื่อม - สุขภาพ - Haijai.com

 

ออกกำลังกล้ามเนื้อข้อต่อหัวเข่า - สุขภาพ - Haijai.com

 

อาหารรักษามวลกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกพรุน - สุขภาพ - Haijai.com

(Some images used under license from Shutterstock.com.)