Haijai.com


อาหารรักษามวลกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกพรุน


 
เปิดอ่าน 3392

ปกป้องมวลกระดูกด้วยอาหาร

 

 

กระดูกในร่างกายของเราประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ กระดูกส่วนนอก และ กระดูกส่วนใน เมื่อคนเรามีอายุที่มากขึ้น มวลกระดูกจะมีความหนาแน่นลดน้อยลง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง กระดูกจึงเปราะ แตก หรือหักได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนตามมา เป็นเรื่องอันตรายและทรมาน โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ที่มวลกระดูกไม่ได้ดี หรือหนาแน่นเหมือนเมื่อวัยหนุ่มสาว

 

 

ความหนาแน่นของมวลกระดูก

 

ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงช่วงก่อนอายุ 30 ปี มวลกระดูกจะมีความหนาแน่นมากที่สุด แต่เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไปแล้ว ความหนาแน่นของกระดูกจะเริ่มลดลง การสลายของกระดูกจะเร็วกว่าการสร้าง ทำให้กระดูกบางลงและอ่อนแอ การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density) หรือ BMD จะช่วยให้เรารู้ถึงความหนาแน่นของกระดูกในส่วนต่างๆ ของร่างกาย การตรวจวินิจฉัยจะใช้วิธีการตรวจทางรังสีที่เรียกว่า Bone Densitometer การตรวจมวลกระดูกสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และผู้ที่อาจประสบกับภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย ซึ่งภาวะกระดูกพรุนคือภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูกลดลง โครงสร้างของกระดูกเสื่อมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในผู้สูงอายุ และวัยหมดประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่กระดูกเกิดภาวะเสื่อมตามวัย กระดูกเปราะบาง มีโอกาสหักได้ง่าย

 

 

โดยปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่ายขึ้นคือ ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เพราะรังไข่หยุดการทำงาน การผลิตฮอร์โมนจะลดลง โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ร่างกายของผู้หญิงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก การได้รับแคลเซียมหรือวิตามินดีน้อย การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ รวมถึงน้ำอัดลม ปัจจัยทางด้านพันธุกรรมรวมถึงโรคประจำตัวบางชนิด และการใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

 

 

ปกป้องมวลกระดูกด้วยอาหาร

 

กระดูกของคนเรามีการพัฒนาและค่อยๆ เติบโตตั้งแต่เรายังอยู่ในครรภ์ของแม่ ไปจนถึงอายุ 25-30 ปี เพราะฉะนั้นการเลือกบริโภคอาหารเพื่อรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก และเป็นการสะสมแคลเซียมตั้งแต่เนิ่นๆ ก็เป็นการช่วยให้มวลกระดูกแข็งแรงตามที่ควรจะเป็น การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อมวลกระดูกเสียแต่วันนี้ ป้องกันปัญหาเกี่ยวกับกระดูกในอนาคต การเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินแร่ธาตุช่วยในการบำรุงกระดูก ก่อนอื่นเราต้องดูก่อนว่า แร่ธาตุชนิดใดที่มีความสำคัญต่อกระดูกกันบ้าง

 

1.แคลเซียม (Calcium) แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีมากในร่างกาย พบได้มากในกระดูกและฟัน ช่วยในการป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน การเสริมแคลเซียมด้วยอาหาร พบมากในอาหารประเภท นมสด ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง งาดำ ผักใบเขียว เต้าหู้ เป็นต้น

 

 

การดูดซึมแคลเซียมขึ้นอยู่กับระดับของวิตามินดีในร่างกาย ถ้าร่างกายขาดวิตามินดี หรือวิตามินดีอยู่น้อย ร่างกายก็จะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยเช่นกัน ดังนั้น วิธีการที่จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีเพิ่มมากขึ้น คือ ควรให้ร่างกายได้รับแสงแดดบ้าง

 

 

2.ไนอะซีน (Niacin) จัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบี ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินชนิดนี้ได้จากโปรตีนในอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยจะทำหน้าที่ช่วยน้ำย่อยในการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน ให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ มีส่วนสำคัญในการดูดซึมแคลเซียม สามารถพบได้ในอาหารประเภท ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ปลา เป็ด ไก่ เป็นต้น

 

 

3.แมงกานีส (Manganese) ทำหน้าที่ในการกระตุ้นเอนไซม์จำเป็น มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับร่างกาย ช่วยในการปกป้องกระดูกไม่ให้สูญเสียแคลเซียมมากเกินไป นอกจากนี้ประโยชน์อื่นๆ ของแมงกานีสคือ ช่วยเรื่องการตอบสนองของกล้ามเนื้อ ให้สามารถยืดหดตัวได้ดี ช่วยให้ความจำดีลดอาการหงุดหงิด พบได้ในอาหารประเภท ผักใบเขียว ผักกะหล่ำ ไข่ ตับ ถั่ว เนื้อสัตว์ และ อาหารทะเล เป็นต้น

 

 

4.วิตามินดี (Vitamin D) ทำหน้าที่เสริมในการดูดซึมแคลเซียม และฟอสฟอรัสให้กับกระดูกและฟัน ปกติแล้วร่างกายเราได้รับวิตามินดีจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากับแสงแดด โดยจะทำปฏิกิริยากับผิวหนัง เกิดการสร้างวิตามินดี นอกจากนี้วิตามินดียังพบได้ในอาหารประเภท น้ำมันตับปลา ปลาทูน่า และปลาแซลมอน เป็นต้น

 

 

5.ฟอสฟอรัส (Phosphorus) เป็นแร่ธาตุที่อยู่ภายในเซลล์ทั่วร่างกาย โดยทำงานร่วมกับแคลเซียมในรูปของแคลเซียมฟอสเฟต ทำหน้าที่ช่วยรักษาสมดุลกรดด่างของของเหลวในเซลล์ ทั้งยังช่วยในการปกป้องกระดูกและฟัน แหล่งอาหารที่มีฟอสฟอรัสคือ อาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง ปลาเล็กปลาน้อย (ที่สามารถรับประทานได้ทั้งตัว) เนยแข็ง ถั่วต่างๆ

 

 

ดังนั้น เราควรปกป้องมวลกระดูกของเราตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน หรือเสี่ยงต่อกระดูกแตกหักได้ง่าย เมื่อวัยสูงขึ้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่บำรุงแคลเซียม เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก จึงเป็นวิธีที่ใกล้ตัวที่สามารถปฏิบัติได้ แต่ก็ต้องทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผลดีกับกระดูกของเราในระยะยาว

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความน่ารู้ romrawin รมย์รวินท์ ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex