© 2017 Copyright - Haijai.com
พรหม
พรหมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ (พระไตรปิฎก เล่มที่ 35 พระอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์ ข้อ 1,107) คือ รูปพรหม (พรหมที่ยังมีรูปร่าง) กับอรูปพรหม (พรหมที่ไม่มีรูปร่างแล้ว เหลือแต่จิต) ผมจะพูดเพียงสั้นๆ เพราะว่าเรื่องพรหมยังห่างไกลสำหรับคนทั่วไปที่ยังต้องทำมาหากิน
ชั้นที |
ชื่อ |
อายุขัยเฉลี่ย (กัป) |
1 |
ปาริสัชชา |
1/4 – 1/3 |
2 |
ปุโรหิตา |
1/2 |
3 |
มหาพรหมา |
1 |
4 |
ปริตตาภา |
2 |
5 |
อัปปมาณาภา |
4 |
6 |
อาภัสสรา |
8 |
7 |
ปริตตสุภา |
16 |
8 |
อัปปมาณสุภา |
32 |
9 |
สุภกิณหะ |
64 |
10 |
อสัญญสัตว์ |
500 |
11 |
เวหัปผลา |
500 |
12 |
อวิหา |
1,000 |
13 |
อตัปปา |
2,000 |
14 |
สทัสสา |
4,000 |
15 |
สุทัสสี |
8,000 |
16 |
อกนิฏฐะ |
16,000 |
อรูปพรหม
1.อากาสานัญจายตนภพ อายุเฉลี่ยประมาณ 20,000 กัป
2.วิญญาณัญจายตนภพ อายุเฉลี่ยประมาณ 40,000 กัป
3.อากิญจัญญายตนภพ อายุเฉลี่ยประมาณ 60,000 กัป
4.เนวสัญญานาสัญญายตนภพ อายุเฉลี่ยประมาณ 84,000 กัป
ผู้ที่จะเป็นพรหมได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่เจริญภาวนาจนได้ฌานเท่านั้น แม้ว่าทำบุญมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่ได้เจริญภาวนาจนได้ฌาน ก็จะเป็นพรหมไม่ได้ โดยผู้ที่ไปเกิดในชั้นอตัปปา (ชั้น 13) ขึ้นไปจะไม่เกิดเป็นมนุษย์อีกแล้ว เพราะจะต้องเป็นพระอนาคามีเท่านั้น ถึงจะไปชั้นนี้ได้ และจะเสวยพรหมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์
(Some images used under license from Shutterstock.com.)