Haijai.com


เส้นทางสู่การเข้าใจตนเอง


 
เปิดอ่าน 1390

เส้นทางสู่การเข้าใจตนเอง

 

 

หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของสังคม อารมณ์ และพัฒนาการเฉพาะตัวของเด็กในช่วงวัย 1 ขวบกันไปในฉบับที่แล้ว คุณพ่อคุณแม่คงจะพอทราบแล้วว่าเรื่องต่างๆ เหล่านี้ มีผลต่อการเรียนรู้ของลูกอย่างไรบ้าง เพื่อที่ลูกจะได้เติบโตไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ และต่อจากนี้ไปเราจะมาทำความเข้าใจเด้กในเรื่องของเส้นทางสู่การเข้าใจตนเองของลูกกันคะ

 

 

ในช่วงขวบปีแรกของชีวิตเด็กต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด และเข้าใจถึงความเป็นตัวตนของพวกเขาจากพ่อแม่ และผู้ที่เลี้ยงดู เด็กแต่ละคนมีความต้องการในเรื่องของความชอบ ไม่ชอบที่ไม่เหมือนกัน พ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู ต้องให้ความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของเด็กให้ได้ ต้องเอาใจใส่หาว่าสาเหตุใดทำไมลูกถึงร้องบอกว่าชอบ ไม่ชอบอะไร ทำอย่างไรลูกถึงรู้สึกสบายตัว ซึ่งมีความแตกต่างกัน ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกันได้ ในช่วงวัยอันสำคัญนี้เป็นช่วงของเส้นทางแรกที่เด็กในวัย 1 ขวบ จะเรียนรู้ สะสมประสบการณ์ การเข้าสังคม เพื่อเป็นบุคลิกเฉพาะตัวของตนเองเมื่อเติบโตขึ้นไปกว่านี้

 

 

เด็กๆ ในวัยนี้ยังไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมของตนเองดีพอ และก็ไม่รู้ว่าจะสื่อสารอย่างไรเพื่อให้พ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูเข้าใจได้ว่าเขาต้องการอะไร หรือไม่ต้องการอะไร การร้องไห้จึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งของเด็กที่สามารถจะสื่อออกมาให้พ่อแม่ได้สังเกตกันคะ  ซึ่งเด้กบางคนอาจร้องไห้โยเย้ไม่อาจรู้ได้ว่าทำไมถึงร้อง ต้องใช้ความใส่ใจจากพ่อแม่ รวมถึงผู้เลี้ยงดู จนสามารถเข้าใจและรู้จังหวะ หาสาเหตุได้ว่าทำไมเด็กถึงร้องไห้ โดยการเข้าใจ ให้ความอบอุ่น อุ้มและโอบกอด  พูดคุย ร้องเพลง ซึ่งจะทำให้เด็กรู้และสัมผัสได้ถึงความรักที่พ่อแม่มีให้เขา การที่เด็กได้รับการเอาใจใส่จากพ่อแม่ และผู้ดูแลเป็นอย่างดีนั้น ถือเป็นการสื่อสารระหว่างเด็กกับพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูได้เป็นอย่างดีอีกวิธีหนึ่งค่ะ

 

 

“พ่อแม่ต้องเข้าใจว่าในบางครั้งการร้องไห้ของลูก อาจหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งอาจไม่ใช่สาเหตุจากการไม่สบายตัว หิว เหนื่อย ง่วงนอน หนาวไป ร้อนไป เสียงดังเกินไป แต่ลูกร้องไห้ อาจมีสาเหตุมาจากการไม่ชอบต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งทำอย่างไรก็ไม่ยอมหยุดร้อง ‘แม่ หนูไม่อยากอยู่ที่นี้’ ก็อาจเป็นไปได้

 

 

เด็กกับการเข้าสังคม : ในขวบปีแรกเด็กๆ มักสนใจเพื่อในวัยเดียวกัน เมื่อเจอเพื่อนใหม่วัยเดียวกัน โกๆ จะสนใจที่จะนั่งใกล้กัน สนใจที่จะสัมผัสเพื่อน จับผม จับตัว ซึ่งผู้ดูแลต้องให้ความใส่ใจ เพราะในบางครั้งความสนใจอาจล้ำเส้นทำให้เพื่อนไม่ชอบได้ค่ะ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)