Haijai.com


ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ในผู้หญิง


 
เปิดอ่าน 2654

มะเร็งภัยเงียบ

 

 

‘มะเร็ง’ ซึ่งเป็นภัยเงียบของผู้คนส่วนใหญ่ เพราะเหตุว่ามะเร็งบางชนิดไม่มีอาการบ่งบอก มารู้อีกทีก็สายเสียแล้ว เนื่องจากเป็นมากแล้ว การรักษาก็ค่อนข้างจะยุ่งยาก เพราะการรักษาด้วยการผ่าตัดธรรมดาก็คงจะไม่พบ ต้องอาศัยการรักษาอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การฉายแสง การใช้ยาเคมีบำบัด เป็นต้น แต่ทั้งนี้ใช่ว่าจะหายขาดได้ แต่ก็ได้แค่ประทังไปเท่านั้น ดังนั้นการตรวจหามะเร็งจึงมีความจำเป็นในปัจจุบัน

 

 

ในฐานะที่ผมเป็นสูติแพทย์ พูดถึงภัยเงียบทางการแพทย์อันดับหนึ่งเห็นจะได้แก่ มะเร็งของรังไข่ เพราะตรวจได้ง่าย เพียงแค่ดูด้วยอัลตราซาวนด์ก็รู้ได้แล้ว ดังนั้นในผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ผมขอแนะนำให้ตรวจอัลตราซาวนด์ปีละครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อตรวจดูรังไข่ที่มีอยู่ในท้องน้อย ถ้าหากตรวจภายในเฉยๆ จะรู้หรือเปล่า ผมขอตอบว่าถ้าหากเนื้องอกนั้นมีขนาดเล็กน้อยกว่า 3 เซนติเมตร การตรวจดูด้วยการตรวจภายใน โอกาสที่จะพลาดคือไม่รู้นั้นมีสูงมาก ผมจึงบอกว่าอย่าเชื่อในมือของตนเอง แต่ขอให้เชื่ออัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดเป็นดีที่สุด เพราะมีขนาดเล็กแค่ 3 เซนติเมตรก็สามารถรู้ได้

 

 

เมื่อเห็นด้วยอัลตราซาวนด์แล้ว ก็ใช่ว่ามันจะเป็นมะเร็งเสมอไป  ผมบอกได้เลยว่าส่วนมากแล้วไม่ใช่มะเร็งของรังไข่ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องติดตามผลต่อไปอย่างน้อยก็ 3 เดือน เพื่อดูว่ารังไข่นั้นโตขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ ถ้าหากโตขึ้นก็ต้องว่ากันต่อๆ ไป แต่ถ้าไม่โตขึ้นหรือมีขนาดเล็กลงอาจเป็น PHYSIOLOGY CYST ของรังไข่ได้ แบบนี้ก็ไม่เป็นไร อย่างไรก็ตามก็เฝ้าดูกันต่อไป อาจจะปีละครั้งหรือตรวจด้วยวิธีดังนี้ เช่น การตรวจเลือดที่หาตัวที่เกี่ยวกับมะเร็ง เช่น Ca-125 เป็นต้น และถ้าหากมันขึ้นสูงให้สงสัยก็ต้องเฝ้าดูกันต่อไปอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งสงสัยก็ต้องผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมาดูด้วยตา และส่งตรวจทางพยาธิต่อไป และถ้าไม่ใช่มะเร็งก็แล้วไป แต่ถ้าใช่ก็ต้องรักษากันตามความเป็นจริง และตามความเหมาะสม

 

 

ผมเคยเจอมะเร็งของรังไข่ด้วยการดูด้วยอัลตราซาวนด์และถือว่า โชคดีมากที่เป็นระยะแรก ที่ว่าโชคดีเพราะมะเร็งนั้นมีหลายชนิด บางชนิดก็ดุร้าย บางชนิดก็ไม่ดุร้าย รักษาให้หาย ขณะที่บางชนิดรักษาไม่หาย ไม่ว่าจะรักษาด้วยการฉายแสง การใช้ยาเคมี หรืออย่างอื่น

 

 

แต่อย่างที่บอกว่า มะเร็งของรังไข่เป็นภัยเงียบถ้าไม่ตรวจเลยก็จะไม่รู้ จนกว่าจะเป็นมากแล้ว ที่เป็นมาก หมายความว่าเป็นขั้นที่รักษาไม่หายแล้ว มีแต่ความลำบากและเจ็บปวด

 

 

อย่างไรก็ตามการรักษามะเร็งนั้น ในปัจจุบันนี้เขามีแพทย์เฉพาะทางมะเร็ง เมื่อพบว่าคุณเป็นมะเร็งก็ควรจะเสาะหาแพทย์เฉพาะทาง เพราะแพทย์เฉพาะทางเหล่านี้จะรู้วิธีการรักษาอย่างถูกต้อง อย่างน้อยก็ดีกว่าแพทย์ทั่วไปๆ ซึ่งรู้กว้างแต่รู้ไม่ลึก อย่างไรก็ดี ผมแนะนำให้คุณได้ตรวจหามะเร็งต่างๆ โดยเฉพาะมะเร็งที่พบได้ง่าย และตามหาไม่ยากเท่าใด เช่น มะเร็งของรังไข่ เป็นต้น

 

 

ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่

 

 จำนวนการตกไข่ ที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

 

 

 การทานอาหาร มะเร็งรังไข่มักจะสัมพันธ์กับอาหารประเภทไขมัน และโปรตีน (เนื้อสัตว์)

 

 

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งรังไข่

 

กว่า 75% ของผู้ที่เป็นมะเร็งมักที่จะตรวจพบก็เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายแล้ว มะเร็งชนิดนี้จึงน่ากลัวและทำการบำบัดรักษาได้ยาก ดังนั้นผู้หญิงควรที่จะมีการตรวจสุขภาพโดยเฉพาะการตรวจหามะเร็งรังไข่ก่อนที่จะสายเกินไป

 

 

ลักษณะอาการ จะปวดที่บริเวณท้องน้อย มีการบวมที่ท้อง มะเร็งรังไข่มักจะเชื่อมต่อกับมะเร็งอีกหลายชนิด ดังนั้นควรที่จะตรวจวินิจฉัยหาเซลล์มะเร็งหลายๆ ชนิดไปพร้อมกันด้วย อย่างเช่น  มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งผนังมดลูก และมะเร็งปากมดลูก

 

 

การตรวจวินิจฉัย

 

 การตรวจด้วยวิธีเอ็มอาร์ไอ

 

 

 ทำอัลตราซาวนด์บริเวณภายในเชิงกราน และภายในอวัยวะเพศ

 

 

การตรวจเลือดหาตัวบ่งชี้มะเร็ง

 

 ตัวบ่งชี้มะเร็ง CA-125 ระดับผิดปกติอยู่ที่ 35 U/L ทั้งนี้หากพบค่า CA-125 มากกว่าระดับผิดปกติ 2 เท่า ควรเข้ารับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจโซโนแกรม และทำ CT สแกน

 

 

 ตัวบ่งชี้มะเร็ง AFP และ BHCG

 

 

 ตัวบ่งชี้มะเร็ง CA19-9 และ CEA จะช่วยบ่งชี้มะเร็งที่มีลักษณะเป็นเยื่อเมือก ซึ่งค่า CA125 ยังไม่ปรากฏ

 

 

นพ.พนิตย์ จิวะนันทประวัติ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)