Haijai.com


ตาปลาและยารักษาตาปลา


 
เปิดอ่าน 2935

ตาปลารักษาด้วยยา

 

 

ตาปลาเกิดจากการที่ผิวหนังถูกเสียดสีเป็นเวลานาน จนกระตุ้นให้หนังกำพร้าบริเวณนั้นสร้างจำนวนชั้นมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดการบาดเจ็บลงไปจนถึงหนังแท้ จึงเกิดเป็นตุ่มเป็นไตแข็งขึ้นที่ผิวหนังบริเวณที่ถูกเสียดสีเรื้อรัง เกิดเป็นตาปลาขึ้น พบได้บ่อยที่ฝ่าเท้า และยังพบได้ที่บริเวณอื่นด้วย เช่น ส้นเท้า หลังนิ้วเท้า นิ้วมือ ฝ่ามือ และบริเวณที่ถูกเสียดสีบ่อยๆ ตาปลาสามารถรักษาให้หายได้ หากเป็นไม่มากสามารถทายาแก้ตาปลา ซึ่งมีจำหน่ายในรูปแบบน้ำและแผ่นแปะ ซึ่งมีตัวยาสำคัญ คือ กรดซาลิกไซลิกความเข้มข้น 40% ช่วยทำให้ก้อนที่เป็นไตแข็งนุ่มและหลุดลอกง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกินกว่า 12 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นมาก ควรไปพบแพทย์ ผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ชาตามมือตามเท้า เมื่อเป็นตาปลาก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมเช่นกัน ถึงแม้จะรักษาหายแล้ว แต่ตาปลาก็สามารถกลับเป็นซ้ำได้อีก หากยังปล่อยให้อวัยวะส่วนนั้นๆ ถูกเสียดสีซ้ำๆ เป็นเวลานาน

 

 

“ตาปลา” คือ ตุ่มหรือก้อนที่เป็นไตแข็งบนผิวหนัง เกิดจากการที่ผิวหนังถูกเสียดสีเรื้อรังเป็นเวลานาน พบได้บ่อยที่ฝ่าเท้า เพราะเป็นส่วนที่แบกรับน้ำหนักตัวของเราตลอดเวลา และเสียดสีกับพื้นรองเท้าและพื้นดิน หรือพื้นอาคารบ้านเรือนตลอดเวลา พบได้บ่อยขึ้นถ้าใส่รองเท้าที่คับเกินไป ผู้เขียนขอนำท่านมารู้จักกับตาปลาและยาแก้ตาปลา เพื่อที่คุณผู้อ่านที่เป็นตาปลาและทรมานกับตาปลาจะได้ใช้ยาอย่างถูกต้อง

 

 

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าตาปลาพบได้บ่อยที่ฝ่าเท้า แต่ไม่ใช่ว่าจะมีตาปลาเฉพาะที่ฝ่าเท้าเท่านั้น ยังมีตาปลาที่บริเวณอื่นด้วย อาจพบตามส้นเท้า หลังนิ้วเท้า นิ้วมือ ฝ่ามือ บริเวณที่เสียดสีบ่อยๆ เช่น ที่เกิดจากการหิ้วถุงหนักหรือกระเป๋าหนักทุกวัน วันละนานๆ ใช้แรงกดหนักๆ ที่นิ้วเวลาจับปากกาหรือดินสอเขียนหนังสือตลอด ตาปลาที่บริเวณนี้มักมีลักษณะแข็ง จึงเรียกว่า “ตาปลาชนิดแข็ง” และยังมีตาปลาที่ขึ้นตามง่ามนิ้วเท้าอีก เรียกว่า “ตาปลาชนิดอ่อน” แต่ตาปลาทั้งสองแบบนี้มีความเหมือนกันตรงที่ เป็นตาปลาที่มีจุดกดแข็งอยู่ตรงกลาง มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า corn (อ่านว่า คอร์น)

 

 

ตาปลาเกิดขึ้นได้อย่างไร?

 

ผิวหนังของคนเรานั้น มีทั้งส่วนที่เป็นหนังกำพร้าและหนังแท้ หนังกำพร้าอยู่ชั้นนอกสุดของผิวหนัง ส่วนของหนังกำพร้าเองก็มีหลายชั้น เมื่อหนังกำพร้าชั้นนอกหลุดลอกก็จะกลายเป็นขี้ไคล หนังกำพร้าชั้นล่างก็จะเลื่อนขึ้นมาแทนที่ตลอดเวลา แต่ถ้าผิวหนังถูกเสียดสีเป็นเวลานาน จะกระตุ้นให้หนังกำพร้าบริเวณนั้นสร้างจำนวนชั้นมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อปกป้องไม่ให้เกิดการบาดเจ็บลงไปจนถึงหนังแท้ จึงเกิดเป็นตุ่มเป็นไตแข็งขึ้นที่ผิวหนังบริเวณที่ถูกเสียดสีเรื้อรัง เกิดเป็นตาปลาขึ้น

 

 

รักษาปลาได้หรือไม่?

 

ตาปลาเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง สามารถรักษาได้ แต่หากไม่เปลี่ยนพฤติกรรม เช่น เกิดตาปลาที่นิ้วมือเนื่องจากหิ้วถุงหนัก หรือกระเป๋าหนักทุกวัน วันละนานๆ แม้จะรักษาแล้วก็จะกลับมาเป็นอีก เพราะชั้นหนังกำพร้าบริเวณนั้น จะหนาขึ้น เพื่อปกป้องหนังแท้ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

 

 

การรักษาตาปลาหากเป็นไม่มาก ก็สามารถทายาแก้ตาปลา ซึ่งมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในรูปน้ำและเป็นแผ่นแปะ มีตัวยาสำคัญเป็ฯกรดซาลิไซลิกในความเข้มข้น 40% ใช้ทาหรือติดแผ่นแปะไปบนตาปลา กรดซาลิไซลิกที่เป็นตัวยาสำคัญนี้ มีคุณสมบัติที่ทำให้ชั้นหนังกำพร้าที่เป็นตุ่มเป็นไตแข็งนั้น นุ่มลงและหลุดออกได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าเป็นมากก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการผ่าตัดหรือใช้เลเซอร์จี้ตาปลาออก นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน หรือชาตามมือตามเท้า หากเป็นตาปลาควรพบแพทย์ เพื่อรับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

 

 

ใช้ยาทาแก้ตาปลาอย่างไร?

 

ยาทาแก้ตาปลาเป็นยาทาภายนอก แปลว่า ใช้กับส่วนนอกของร่างกายเท่านั้น ห้ามรับประทาน ห้ามนำไปหยอดตา ใส่เข้าไปในช่องคลอด ช่องทวารหนัก หรือหยดเข้าจมูก รวมทั้งห้ามทาไปบนผิวหนังที่เป็นแผล เพราะจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง

 

 

สำหรับวิธีใช้ยาทาแก้ตาปลาที่มีตัวยาสำคัญเป็นกรดซาลิไซลิก ให้ทำดังนี้

 

1.ก่อนทายาให้แช่เท้าหรือบริเวณที่เป็นตาปลาในน้ำอุ่นก่อนสัก 15-20 นาที เพื่อให้ผิวหนังนุ่มลง เช็ดให้แห้ง

 

2.ถูตาปลาเบาๆ เพื่อเอาหนังชั้นนอกของตาปลาออก

 

3.จากนั้นอาจใช้วาสลินหรือน้ำมันมะกอกทาผิวหนังรอบๆ ตาปลา เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณรอบๆ สัมผัสกับตัวยากรดซาลิไซลิก แล้วเกิดการระคายเคือง

 

4.ใช้ไม้พันสำลีที่ชุบยาแล้วแต้มยาลงบนตาปลา

 

5.รอ 5 นาที ให้ยาแห้ง แล้วอาจใช้พลาสเตอร์ปิดทับ เพื่อให้ยาสัมผัสกับตาปลา และไม่ให้ยาหลุดหายไปจากตาปลา

 

6.ทายาวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าตาปลาจะหลุดออกหมด ซึ่งอาจใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 12 สัปดาห์

 

 

ใช้แผ่นแปะแก้ตาปลาอย่างไร?

 

แผ่นแปะแก้ตาปลามีลักษณะเป็นพลาสเตอร์ ที่มีผ้าก๊อซบรรจุตัวยาสำคัญ เป็นกรดซาลิไซลิกในความเข้มข้น 40% สามารถติดบนผิวหนังได้เลย

 

 

การใช้แผ่นแปะแก้ตาปลามีขั้นตอนเช่นเดียวกับการใช้ยาทาแก้ตาปลา กล่าวคือ แช่เท้าหรือบริเวณที่เป็นตาปลาในน้ำอุ่นก่อนสัก 15-20 นาที เพื่อให้ผิวหนังนุ่มลง เช็ดให้แห้ง แล้วถูตาปลาเบาๆ เพื่อเอาหนังชั้นนอกของตาปลาออก จากนั้นจึงติดแผ่นแปะลงบนตาปลา เปลี่ยนแผ่นแปะแผ่นใหม่ทุกวันหรือทุก 2 วัน จนกว่าตาปลาจะหลุดออกหมด ซึ่งอาจใช้เวลา 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 12 สัปดาห์

 

 

ยาทาหรือแผ่นแปะแก้ตาปลามีอันตรายหรือไม่?

 

เนื่องจากกรดซาลิไซลิกที่เป็นตัวยาสำคัญในยาทา หรือแผ่นแปะแก้ตาปลาเป็นยาชนิดหนึ่ง จึงอาจก่ออันตรายได้ กล่าวคือถ้าทายาหรือติดแผ่นยาไปบนผิวหนังที่ไม่เป็นตาปลา ผิวหนังก็จะแสบร้อน แดง และมีการลอกของผิวหนัง หากผิวหนังที่ทายาหรือติดแผ่นแปะลงไปเป็นแผลอยู่ก่อน ยาก็จะดูดซึมเข้าร่างกาย ซึ่งในกรณีที่แพ้ยาแอสไพรินหรือยาแก้อักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อยู่แล้ว ก็จะเกิดอาการของการแพ้ยาได้ เช่น ผื่นลมพิษ คัน ปากและริมฝีปากบวม หายใจลำบาก แต่ในบางคนอาจเกิดอาการแพ้ได้ แม้จะทายาหรือติดแผ่นยาลงไปบนตาปลาเท่านั้น จึงควรแจ้งเภสัชกรให้ทราบก่อนเพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้อง

 

 

ดังนั้น สิ่งที่ท่านควรปฏิบัติเมื่อจะใช้ยาทาหรือแผ่นแปะแก้ตาปลา คือ

 

1.แจ้งแพทย์หรือเภสัชกร หากท่านเคยแพ้ยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

 

 

2.หลีกเลี่ยงการใช้ยาทาที่มีตัวยาสำคัญ เป็นเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (benzoyl peroxide) ยาทาที่มีตัวยาสำคัญเป็นอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ สบู่เข้มข้น และเครื่องสำอางหรือสบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง

 

 

ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นตาปลาอีก?

 

เพียงกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดตาปลา กล่าวคือ หากเป็นตาปลาที่เท้า ควรใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้า รองเท้าหัวทู่หรือป้าน เพื่อไม่ให้บีบนิ้วเท้า รองเท้าส้นไม่สูงเกินไป และพื้นรองเท้านิ่ม หากมีตาปลาอยู่ระหว่างง่ามนิ้วเท้า อาจใช้สำลีหรือฟองน้ำบุระหว่างง่ามนิ้วเท้า หากมีตาปลาที่นิ้วมือ ควรใส่ถุงมือเวลาทำงานหรือหลีกเลี่ยงการหิ้วของหนัก ตลอดจนลดแรงกดเวลาจับปากกาหรือดินสอ

 

 

ภก.สัณห์ อภัยสวัสดิ์

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความน่ารู้ romrawin รมย์รวินท์ ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex