© 2017 Copyright - Haijai.com
ผิวพรรณของลูกน้อยควรดูแลอย่างไรดี
การดูแลผิวพรรณของลูกน้อย หรือทารกถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก โดยเฉพาะในผิวเด็กทารกที่มีความบอบบาง และต้องการการดูแลเป็นพิเศษ นอกจากนั้น ผิวเด็กทารกยังมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก เนื่องจากผิวพรรณของเด็กทารก มีความละเอียดอ่อนมากกว่าผิวพรรณของผู้ใหญ่ อีกทั้งผิวเด็กทารกนั้นบอบบาง เกินกว่าจะได้รับสิ่งแปลกปลอม หรือสิ่งที่เป็นอันตราย เพราะผิวที่บอบบางจะสามารถดูดซึม หรือซึมซับสิ่งต่างๆ เหล่านี้เข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และง่ายกว่าผิวของผู้ใหญ่ ดังนั้น ผิวของเด็กทารกจึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
มาทำความรู้จัก ผิวพรรณของลูกน้อยกันก่อน
ช่วงแรกเกิด ทารกจะมีสารเคลือบผิวปกคลุมอยู่ มีลักษณะเป็นไข เพื่อช่วยป้องกันผิวหนังจากสิ่งระคายเคืองภายนอกผิวของทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดผิวหนังจะบางกว่า แต่มีส่วนประกอบเหมือนผิวหนังผู้ใหญ่ ยกเว้นต่อมเหงื่อ และต่อมไขมันที่ยังทำงานไม่ได้เต็มที่ นอกจากนี้ในเด็กทารกยังมีผิวหนังที่ไม่แข็งแรงทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดมีทางเข้าของเชื้อโรคบริเวณสายสะดือ ดังนั้นในการทายาเด็กเล็กๆคุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษเนื่องจากยาจะดูดซึมได้ง่าย รวมทั้งเด็กทารกยังมีผิวหนังที่อ่อนบาง และการทำงานของตับ ไต ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ทำให้ดูดซึมยาได้มากกว่าปกติอีกด้วย
การดูแลรักษา ผิวของลูกน้อย
• การอาบน้ำทารกแรกเกิด คุณแม่เตรียมอุปกรณ์อาบน้ำให้พร้อม ใช้หลังมือลองจุ่มในน้ำดู เพื่อไม่ให้อุณหภูมิของน้ำร้อนจนเกินไป อาจมีเบาะเล็กๆ ไว้รองเวลาเช็ดตัว เริ่มทำความสะอาดที่ใบหน้าและศีรษะก่อน โดยใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กๆ ทำความสะอาด และเช็ดหน้าลูกให้สะอาด
• ถ้าช่วงแรกที่สะดือลูกยังไม่หลุด ควรเช็ดตัวก่อน แล้วทำความสะอาดสะดือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ 70% หลีกเลี่ยงการใช้ยาโรยสะดือทุกชนิด หลังอายุ 7-10 วัน เมื่อสะดือแห้งหลุดไปแล้วจึงเริ่มอาบน้ำ และเช็ดตัวให้แห้ง ในหน้าหนาวอาจทาโลชั่นให้ลูกบ้างเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น
• การเลือกครีมอาบน้ำ ควรเลือกใช้ครีมอาบน้ำสำหรับเด็ก เพราะผิวของลูกอ่อนบาง และระคายเคืองได้ง่าย
• การสระผม อุ้มลูกไว้โดยใช้มือรองบริเวณต้นคอของลูก ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วกลางของคุณแม่พับใบหูลูกไว้เพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าหูหลังจากสระผมเสร็จแล้วควรเช็ดผมให้แห้งทันที ลูกจะได้ไม่เป็นหวัด
• การทาแป้ง อาจทำได้โดยโรยแป้งลงบนมือแล้วค่อยทาไปที่ตัวลูก ไม่ควรทาแป้งหนาหรือเทแป้งลงบนตัวลูกโดยตรง เพราะจะทำให้แป้งฟุ้งกระจาย และแป้งอาจไปอุดตันบริเวณรูขุมขน อาจทำให้เกิดผดร้อนตามมาได้ ในเด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงการใช้แป้งช่วง 6 เดือนแรก
• การทำความสะอาดหลังขับถ่าย ให้ใช้สำลีชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดบริเวณก้น และอวัยวะเพศ โดยให้เช็ดจากบนลงล่าง หรือจากอวัยวะเพศไปถึงก้นลูกทั้งเด็กหญิง และเด็กชาย สำหรับเด็กหญิงเพื่อปอ้ งกนั การติดเชื้อแบคทีเรีย ใหเ้ ช็ดทำความสะอาดเฉพาะบรเิ วณด้านนอกเท่านั้น ห้ามเช็ดเข้าไปด้านใน
Good to Know
การเปลี่ยนแปลงในทารกแรกเกิดที่พบได้บ่อย ซึ่งหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา (Transient skin lesion in the newborn)
• ผิวหนังลอก (Desquamation) จะพบช่วงหลังคลอดประมาณ 24-36ชั่วโมง และหายเป็นปกติในอาทิตย์แรก แต่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะอยู่นานถึง 2-3 สัปดาห์ ถ้าพบผิวหนังลอกตั้งแต่แรกเกิดถือว่าผิดปกติ ซึ่งพบในทารกที่คลอดเกินกำหนด ภาวะขาดออกซิเจน หรือโรคผิวหนังบางชนิด เช่น ผิวหนังแห้ง (Ichthyosis)
• ภาวะปลายมือ ปลายเท้าเขียว (Acrocyanosis) เกิดได้จากการที่หลอดเลือดแดงส่วนปลายหดตัวเวลาร้องไห้ หรือกลั้นหายใจ ส่วนภาวะเขียวจากโรคหัวใจมักเป็นตลอดเวลา
• Cutis mamorata เป็นลักษณะที่ผิวหนังมีลายสีแดงคล้ายตาข่าย มักพบที่ลำตัว แขนขา เห็นชัดเวลาอากาศเย็น และจะดีขึ้นถ้าได้รับความอบอุ่น
• ผดร้อน เกิดจาการอุดตันของต่อมเหงื่อ พบในเด็กทารกที่การทำงานของต่อมเหงื่อยังไม่เจริญเต็มที่ ซึ่งหลีกเลี่ยงได้โดยสวมเสื้อผ้าที่บาง สวมใส่สบาย หลีกเลี่ยงอากาศร้อน
• สิว มักพบที่หน้า และคอ ตั้งแต่อายุ 2-4 สัปดาห์ เกิดจากต่อมไขมันที่ทำงานผิดปกติจากฮอร์โมนแอนโดรเจนของแม่ ซึ่งอาจหายได้เอง แต่ถ้าเป็นบริเวณกว้างๆ ต้องรักษาโดยใช้ยาทา
(Some images used under license from Shutterstock.com.)