Haijai.com


หกล้มชนกระแทกฟกช้ำในวัยเตาะแตะ


 
เปิดอ่าน 5477

หกล้มชนกระแทกฟกช้ำมือเท้าพลิกแพลงในวัยเตาะแตะ

 

 

กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วค่ะ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเตาะแตะ เพราะไม่ว่าจะป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกับลูกอย่างดีแล้ว แต่ก็ต้องมีบ้างที่ภายในวันหนึ่งๆ เจ้าหนูจอมซนวัยชอบเล่น ชอบจับ ชอบปีนป่าย จะวิ่งแจ้นมาหาคุณแม่ ร้องไห้ฟูมฟายว่าเจ็บหัวเข่า เจ็บแขน เจ็บขา หัวโนบ้างละ ฯลฯ และก็อีกสารพัดที่จะเจอตามตัวลูก นั่นก็เพราะการที่เล่นซนโดยที่ตัวลูกเองก็ไม่ทันระวัง ส่วนคุณพ่อคุณแม่บางครั้งก็เผลอไปบ้าง แต่ถ้าเรารู้จักวิธีป้องกันอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ รวมทั้งการดูแลเบื้องต้นให้กับลูกก็จะช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำ ดำเขียวลงได้บ้างค่ะ

 

 

การปฐมพยาบาล แผลฟกช้ำบวมข้อเท้าพลิก แพลง หรือเคล็ดขัดยอก ใน 24 ชั่วโมงแรกให้ประคบด้วยความเย็น (ผ้าชุบน้ำเย็นหรือผ้าที่ห่อด้วยน้ำแข็งหรือจะเป็นเจลประคบเย็นก็ได้) เพราะความเย็นจะช่วยทำให้เส้นเลือดหดตัว ช่วยลดอาการฟกช้ำ บวม ในกรณีที่ข้อเท้าพลิก แล้วเกิดอาการบวม เจ็บ ให้แช่เท้าในน้ำเย็นๆ ก็จะช่วยลดการไหลเวียนของเลือดมาบริเวณที่บาดเจ็บ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บ ปวดให้น้อยลง การบาดเจ็บที่มีอาการปวดบวม เจ็บ ฟกช้ำ ให้บรรเทาอาการด้วยน้ำเย็น(ตามวิธีข้างต้น) และหลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้วก็เปลี่ยนมาบรรเทาด้วยน้ำอุ่น (ถ้าข้อเท้าพลิกให้แช่เท้าในน้ำอุ่นวันละ 2-3 ครั้ง) เพื่อลดอาการบวมที่เกิดจากการห้อเลือดใต้ผิวหนังลงค่ะ

 

 

ส่วนกรณี ที่ลูกวิ่งเล่นแล้วหกล้มหัวเข่าถลอกมีเลือดออกซิบๆ ให้คุณแม่ทำความสะอาดแผลให้ลูกด้วยน้ำสะอาด หรือจะเช็ดแผลด้วยน้ำสะอาดผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรค จากนั้นก็ซับแผลให้แห้ง แล้วทาด้วยยาทาแผลสด และปิดแผลเพื่อป้องกันเศษฝุ่น เชื้อโรค ด้วยผ้าพันปิดแผลค่ะ

 

 

เมื่อเกิดการฟกช้ำ ห้อเลือด หรือบาดเจ็บกล้ามเนื้อ จากการออกกำลังกาย หรือการกระแทก

 

 

 การประคบเย็นประคบร้อน ภายใน 24 ชั่วโมงแรกให้ทำการประคบเย็นก่อน (นาน 20 นาทีต่อครั้ง) หลังจากนั้นจึงประคบร้อน (นาน 15 นาทีต่อครั้ง)

 

 การพันยึดกล้ามเนื้อ ใช้เทปพัดยืดชนิดติดตัวเอง (ไม่ติดขน) พันยึดกระชับกล้ามเนื้อ เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหว และป้องกันอาการบาดเจ็บ หรือใช้พันรัดอุปกรณ์ประคบเย็น ประคบร้อนยึดกับบริเวณที่ต้องการประคบ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)