Haijai.com


แม่ช่วยได้ เมื่อลูกน้อยปวดฟัน


 
เปิดอ่าน 5051

แม่ช่วยได้ เมื่อลูกน้อยปวดฟัน

 

 

อาการปวดฟันสามารถบรรเทาอาการได้ โดยการใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งก้อนเล็กๆมาประคบ หรืออาจให้เด็กอมหรือเคี้ยวแครอท แตงกวา ฝรั่ง แอปเปิ้ล ฯลฯ ชิ้นเล็กๆ หรือของเล่นประเภทยางซีลีโคนบรรจุน้ำไว้ภายในเป็นต้น โดยนำไปแช่เย็นก่อนนำมาให้เด็กกัดเล่น ก็อาจช่วยลดอาการละคายเคืองได้

 

 

ส่วนการบรรเทาอาการเจ็บเหงือกนั้น ถ้าลูกไม่เจ็บถึงขนาดแตะไม่ได้ ให้คุณล้างมือให้สะอาด แล้วใช้นิ้วเข้าไปนวดเหงือกของลูกเบาๆ อาจช่วยให้ดีขึ้น การใช้เจลที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บเหงือก ซึ่งไม่มีน้ำตาลผสมอยู่เช่น Bonjela ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บเหงือกได้ แต่การทำความสะอาดเหงือกของลูกหลังอาหาร จะช่วยลดอาการอักเสบในขณะฟันขึ้นได้ดีที่สุด

 

 

การใช้สำลีชุบน้ำหรือผ้าสะอาดเช็ดบริเวณรอบปากของลูก เมื่อมีน้ำลายย้อยออกมานอกปาก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเป็นผื่นแดงจากอาการติดเชื้อ จากน้ำลาย เด็กบางรายที่มีอาการมากคือ เด็กอาจปวดเหงือกมากจนกระทั่งมีอาการบวมแดง และอาจมีอาการไข้ร่วมด้วย ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวดลดไข้ จำพวกยาพาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อม(ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้) และควรปรึกษาทันตแพทย์เรื่องฟันของลูก

 

 

ฟันน้ำนมนี้มีความสำคัญต่อลูกมาก เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ในการเคี้ยวอาหารแล้ว ยังช่วยให้ฟันแท้ที่สร้างตัวอยู่ในเหงือกอีกทีขึ้นมาได้ถูกตำแหน่ง ไม่เกซ้อนกัน และยังช่วยให้เด็กพูดชัด และถ้ามีเหตุให้ฟันน้ำนมถูกถอนก่อนกำหนด เช่น เกิดผุมากจนกระทั่งเกิดหนองปลายรากฟัน ก็จะมีผลกระทบต่อฟันแท้ หรือกรณีที่มีการถอนฟันน้ำนมออกไปก่อนกำหนดนานๆ ช่องว่างตรงบริเวณนั้นจะแคบลง จนทำให้ฟันแท้ที่อยู่ข้างใต้ไม่สามารถแทงขึ้นมาแทนที่ได้ อาจทำให้การเจริญของกระดูกขากรรไกรหยุดชะงัก ผลที่ตามมาคือ อาจทำให้ฟันแท้ไม่ขึ้น เกิดฟันซ้อน ฟันเกในภายหลัง

 

 

นอกจากนี้ผู้ปกครองควรฝึกให้ลูกบ้วนปาก และช่วยทำความสะอาดช่องปากให้เขาอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งในเวลาเช้าและก่อนนอน รวมถึงพาลูกไปพบทันตแพทย์ โดยมีช่วงที่ควรปฏิบัติตามวัยดังนี้

 

 

 

อายุ
สิ่งที่เกิดขึ้น
ข้อแนะนำ/วิธีปฎิบัติ
3 - 6 เดือน

ทราบข้อมูลและวิธีปฎิบัติในการเช็ด

เช็ดเหงือกของเด็กอย่างถูกต้อง

และปฎิบัติอย่างสม่ำเสมอ

พบทันตแพทย์เด็กครั้งแรกหลังฟัน

น้ำนมซี่แรกขึ้น ไม่ควรเกิน 6 เดือน

6 เดือน

ปัองกันฟันผุตั้งแต่ชุดฟันน้ำนม

เริ่มให้กินฟลูออไรด์เสริม

ทันตแพทย์หรือกุมารแพทย์เป็นผู้สั่ง

ฟลูออไรด์ให้กิน โดยพิจารณาจาก

แหล่งน้ำที่เด็กดื่มเป็นประจำ

6 เดือน - 1 ปี

ฝึกให้ดื่มนมจากถ้วย

เลิกนมมื้อดึก โดยเฉพาะนมที่ดูดจากขวด

เด็กควรเริ่มหัดกินอาหารเป็นหลัก โดย

กินอาหารได้ครบ 3 มื้อ เมื่ออายุ 1 ปี

ส่วนนมกลายเป็นเพียงอาหารเสริม

ไม่เอาของหวานทุกชนิดใส่ขวดนม

รวมถึงน้ำหวาน น้ำผึ้ง น้ำผลไม้ เพราะ

ทำให้ฟันผุลุกลามอย่างรวดเร็ว

เมื่อเด็กอายุ 6 เดือน เริ่มฝึกดื่ม

น้ำเปล่าจากถ้วย หรือให้ดูดจากหลอด

 

(Some images used under license from Shutterstock.com.)