Haijai.com


เมื่อแม่ท้องเป็นภูมิแพ้ จะดูแลร่างกายอย่างไร


 
เปิดอ่าน 11925

ภูมิแพ้เมื่อแม่ท้องเป็น จะดูแลร่างกายอย่างไร??

 

 

คุณหมอค่ะ หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นภูมิแพ้ควรต้องดูแลเรื่องสุขภาพ หรืออาหารการกินอย่างไร แล้วแม่ที่เป็นภูมิแพ้จะส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมา มีความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ได้หรือเปล่าคะ

 

 

โรคภูมิแพ้ที่พูดถึงนี้เป็นได้หลายๆ ระบบ เช่น ระบบหายใจ ผิวหนังโดยพบได้ขณะตั้งครรภ์มากถึงร้อยละ25-35 สามารถแบ่งความรุนแรงตามอาการของโรคดังนี้

 

 

อาการหลัก (Major symptom)

อาการรอง (Minor symptom)

หอบหืด (Asthma)

ลมพิษ (Urticaria)

ผื่นแพ้ผิวหนัง (Atophic dermstitis)

แพ้ยา (Drug allergy)

แพ้อากาศ (Allergic Rhinitis)

แพ้อาหาร (Food allergy)

แพ้นมวัว (Cow Milk Protein Allergy)

เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic conjunctivitis

 

 

การตรวจวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ได้จากการซักจากประวัติ และการตรวจร่างกายเป็นหลัก การตรวจเลือดดูสารต่อภูมิแพ้ต่างๆ รวมถึงการทดสอบการแพ้ทางผิวหนัง เช่น จากแผ่นทดสอบอาการแพ้(Patch tests) การฉีดสารก่อภูมิแพ้ใต้ผิวหนัง (Skin prick testing : SPT)ส่วนใหญ่แนะนำให้ไปตรวจในช่วงหลังคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylactic reactions) ที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ก็มีอาการบางอย่างที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนร่างกายขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเกิดจากภูมิแพ้ได้ เช่น ผื่นบางชนิดในหญิงตั้งครรภ์ (Pruritic urticarialpapules and plaques in pregnancy, PUPPP)

 

 

การรักษา อาการภูมิแพ้ในหญิงตั้งครรภ์

 

ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันภูมิแพ้ คือ การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งที่ กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ (Allergens) เช่น อาหารบางชนิด ไรฝุ่น ขนสัตว์ ควันบุหรี่ เป็นต้น การรักษาตามอาการด้วยยาที่ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ ส่วนการรักษาโดยการฉีดสารกระตุ้นภูมิแพ้ในระดับต่ำๆ เพื่อให้ร่างกายสร้าง ภูมิคุ้มกันขึ้นมา (Hyposensitization : immunotherapy) ไม่แนะนำให้ทำใน ช่วงตั้งครรภ์ เพราะกลัวผลการแพ้อย่างรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น การรักษาเฉพาะ สำหรับภูมิแพ้แต่ละชนิดมีดังนี้

 

 

หอบหืด (Asthma) เป็นโรคที่มีความสำคัญ เพราะถ้าแม่มีอาการ หอบหืดขณะตั้งครรภ์บ่อยๆ หรืออย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ที่ไปเลี้ยงลูก ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น ภาวะเจริญ เติบโตช้าของทารกในครรภ์ จนบางครั้งทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ การ รักษาด้วยยาสเตอรอยด์ (Corticosteroids) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด ความผิดปกติ เช่น ภาวะปากแหว่งของทารก ครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อน กำหนด และการคลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ จึงควรใช้ยาดังกล่าวใน กรณีจำเป็น เช่น การรักษาหอบหืดที่มีอาการรุนแรง (Severe asthma) โดย ปกติของการตั้งครรภ์อาจทำให้อาการของโรคหอบหืดแย่ลง (1 ใน 3) เท่าเดิม (1 ใน 3) หรือดีขึ้น (1 ใน 3) ก็ได้ การรักษาคล้ายคลึงกับคนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ คือ การพ่นยาขยายหลอดลม (Bronchodilator inhaler) เมื่อมีอาการ หอบ และการให้ยาสเตอรอยด์ทั้งชนิดกิน ฉีด หรือพ่น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น โดยพยายามใช้ยาในปริมาณน้อยที่สุดที่สามารถควบคุมอาการหอบได้ และ ติดตามภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ครรภ์เป็น พิษ และภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ โดยจุดมุ่งหมายของการรักษา เพื่อป้องกันการเกิดอาการหอบ ให้ปอดทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ตามปกติ ให้แม่มีเลือดที่ดี มีปริมาณออกซิเจนสูงนำไปเลี้ยงทารกในครรภ์ต่อไป Mothers

 

 

โรคจมูกอักเสบ (Rhinitis) มีทั้งที่ชนิดที่เกิดจากภูมิแพ ้(Allergic rhinitis) ซึ่งมักมีอาการจาม คันรอบๆ จมูก หรือตา และชนิดที่เกิดจากการตั้งครรภ์ (Pregnancy rhinitis) ซึ่งจะมีอาการคัดจมูก และน้ำมูกใสๆ เป็นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ และหายไปใน 2 สัปดาห์หลังคลอด เกิดจากการที่มีเลือดมาเลี้ยงมากในจมูก และการบวมของเยื่อบุโพรงจมูกขณะตั้งครรภ์ การรักษาโรคจมูกอักเสบทั้งสองชนิดไม่แตกตา่ งกันโดยการใช้ยากล่มุ แอนตี้ฮีสตามิน (Antihistamines) เพื่อลดอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลยาในกลุ่มนี้รุ่นที่ 1 คือ คลอเฟนนิรามีน (Chlorpheniramine) หรือ ซีพีเอ็ม (CPM) เป็นยาตัวแรกที่แนะนำให้ใช้ได้อย่างปลอดภัย แต่อาจมีอาการง่วงซึมได้บ้าง ยากลุ่มนี้ในรุ่นที่ 2 และ 3 คือ ลอราตาดิน (Loratadine)และเซทติริซีน (Cetirizine) ซึ่งออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่า และมีฤทธิ์ทำให้ง่วงน้อยกว่า และใช้ได้อย่างปลอดภัยเช่นกัน การรักษาร่วมอื่นๆ เช่น การล้างโพรงจมูกด้วยน้ำเกลือ (Nasal saline irrigation) การใช้ยาหยอดจมูก หรือสเปรย์พ่นจมูก (Oxymetazoline) หรือแผ่นแปะจมูก เพื่อลดอาการบวมในโพรงจมูกสามารถใช้ได้ส่วนยากลุ่มซูโดเอฟีดีน (Pseudoephedrine) สามารถใช้ได้หลังจากไตรมาสแรก ถ้ามีอาการคัดจมูกอย่างมาก แต่ไม่ควรใช้ในรายที่มีความดันโลหิตสูง

 

 

ผื่นแพ้ผิวหนัง (Atopic eczema : dermatitis) การรักษานอกจากการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารต่างๆ ที่มากระตุ้นให้แพ้แล้ว ต้องพยายามลดอาการแห้งและอาการคันของผิวหนัง โดยการใช้โลชั่นต่างๆ ที่ไม่แพ้ และใช้ยาทาในกลุ่มสเตอรอยด์ครีม (Topical steroids) เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน(Hydrocortisone) ซึ่งเป็นยาทาภายนอก สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ส่วนยาในกลุ่มใหม่ๆ เช่น แคลซินูรินอินฮิบิเตอร์ (Calcineurin inhibitors : pimecrolimus and tacrolimus) ยังขาดข้อมูลด้านความปลอดภัยสำหรับการใช้รักษาในคนท้อง

 

 

ถ้าแม่เป็นภูมิแพ้ ทารกที่คลอดออกมามีความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ได้หรือเปล่าคะ?

 

มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเกิดภูมิแพ้ของลูกมาจากปัจจัยหลัก 2 อย่าง คือ

 

 

พันธุกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ติดตัวทารกในครรภ์มาตั้งแต่ปฏิสนธิ เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ในปัจจุบันพบว่า

 

ทารกที่เกิดจากพ่อแม่ หรือ พี่น้อง 1 คน เป็นภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเกิดภูมิแพ้ได้ ร้อยละ 30-40

 

ทารกที่เกิดจากแม่ และพ่อ หรือพี่น้อง 2 คน เป็นภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเกิดภูมิแพ้ได้ ร้อยละ 50-80

 

แม้ทารกที่เกิดจากแม่ และพ่อที่ไม่มีประวัติภูมิแพ้เลย ลูกก็ยังมีโอกาสเกิดภูมิแพ้ได้ ร้อยละ 15

 

 

สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ สามารถหลีกเลี่ยง หรือ จัดการกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเช่น เรื่องอาหาร ขนสัตว์ ไรฝุ่น ควันบุหรี่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ แม่ควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน โดยลดอาหารที่มักก่อให้เกิดการแพ้ เช่น การทานนมวัวของแม่ในปริมาณที่มากจนเกินไปบางคนทานเป็นลิตรๆ ไม่ว่าจะเป็นนมวัว หรือ นมถั่วเหลืองก็ตาม อาจส่งผลกระตุ้นการทำงานระบบภูมิแพ้ต่อนมวัว หรือนมถั่วเหลืองในร่างกายทารกได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จึงควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ (ปกติไม่ควรเกิน 500 ซีซี หรือ 2 แก้ว หรือกล่องต่อวัน) หรือใช้นมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ (Probiotics) ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยรับรองว่าสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ดีของลูกต่ออาการภูมิแพ้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังคลอดได้ หรือ การให้นมแม่ตั้งแต่หลังคลอด จนถึงอย่างน้อย 6-12 เดือน ก็จะช่วยทำให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรงเนื่องจากอย่างที่ทราบว่านมแม่มีประโยชน์ และสารอาหารครบถ้วน รวมถึงภูมิคุ้มกันในนมแม่ที่ส่งไปให้ลูกและป้องกันการติดเชื้อในเด็กแรกคลอดได้ แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม การใช้นมผงสูตรที่มีโมเลกุลนมวัวเล็กใกล้เคียงนมแม่ที่สุด ที่เรียกว่าสูตรเอชเอ (HA : Hypoallergenic) จะช่วยลดการเกิดภูมิแพ้ของทารกลงได้ นอกจากนี้การเริ่มอาหารเสริมต่างๆ ในช่วงที่เหมาะสม หรือช่วงที่เด็กมีความพร้อม เช่น การให้ไข่แดงควรให้หลังจากทารกอายุ 6 เดือน หรือในกลุ่มอาหารที่มีโอกาสแพ้สูง เช่น ปลาทะเล กุ้ง ปู ถั่ว ควรให้หลังทารกอายุ 12 เดือนขึ้นไป ทำให้ทารกเกิดอาการแพ้อาหารต่างๆ ได้น้อยลง

 

 

Tips

 

โภชนาการระหว่างแม่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร

 

ไม่มีอาหารจำเพาะเจาะจงสำหรับช่วงตั้งครรภ์ พยายามทานให้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่

 

ถ้ามีประวัติทางพันธุกรรมมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภูมิแพ้ ควรลดการรับประทานอาหารที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง ข้าวสาลี

 

 

ทารก

 

ได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

 

ไม่ควรให้อาหารเสริมที่มีโปรตีน นมวัว หรือถั่วเหลืองในช่วง 6 เดือนแรก

 

เริ่มให้ไข่แดงเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป

 

นมวัว ไข่ขาว ถั่ว อาหารทะเล เป็นอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้สูง ควรให้หลังอายุ 1 ปี

 

ค่อยๆ เริ่มอาหารเสริมชนิดใหม่ทีละชนิดต่อสัปดาห์ เพื่อที่จะได้รู้ชนิดของอาหาร หากมีอาการแพ้เกิดขึ้น

 

 

สิ่งแวดล้อม

 

หลีกเลี่ยงควันบุหรี่

 

ไม่สัมผัสสัตว์เลี้ยงที่มีขน

 

นอนในห้องที่มีอากาศ ถ่ายเท ไม่อับชื้น และควรใช้เครื่องนอนป้องกันไรฝุ่น

 

ไม่ควรมีตุ๊กตาที่มีขนฟู หรือพรมต่างๆ ไว้ในห้อง

 

ตรวจสอบ และทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ และพัดลมระบายอากาศอยู่เสมอ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความน่ารู้ romrawin รมย์รวินท์ ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex