Haijai.com


สุขภาพช่องปากช่วงตั้งครรภ์ดูแลฟันอย่างไร


 
เปิดอ่าน 27800

สุขภาพช่องปากช่วงตั้งครรภ์ดูแลฟันอย่างไร

 

 

มีหลายคนยังกังวลว่าจะ ดัดฟัน ช่วงท้องได้หรือเปล่า และจะมีอันตรายมากไหม เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีคนไข้มาพบหมอด้วยอาการปวดฟัน บอกว่าได้ไปหาหมอฟันและตรวจฟันมาแล้ว พบว่าเป็นฟันคุด คือฟันกรามซี่สุดท้ายที่ไม่ขึ้นแบบตรงๆ โผล่พ้นเหงือก แต่กลับเอียงขึ้นและไปดันฟันซี่อื่นๆ ทำให้มีอาการปวดฟันมาก แพทย์ได้แนะนำว่า ควรจะผ่าเอาออกหลังคลอด ให้ทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลไปก่อน หลังคลอดค่อยว่ากัน แต่คนไข้ทานยาอยู่ 2 - 3 วัน แล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น จึงกลับมาปรึกษาหมอสูติ ก็คือผมนั่นเอง เห็นว่าคนไข้ได้ยาแก้ปวดค่อนข้างมากแล้วแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น จึงแนะนำให้กลับไปพบทันตแพทย์ เพื่อขอให้ผ่าฟันคุดออก หมอฟันก็ผ่าออกให้ หลังผ่าได้ 2 วันอาการปวดก็หายไป เธอกลับมาทานอาหารได้ปกติดังเดิม ที่หยิบยกเรื่องดังกล่าวมาเล่าให้ฟัง เพราะต้องการชี้ให้เห็นว่าการทำฟัน หรือรักษาใดๆ ในช่องปาก ในหญิงตั้งครรภ์สามารถทำได้ แต่คนไข้ส่วนมากยังกังวลว่าการฉีดยาชา หรือการได้ยาปฏิชีวนะจะมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่ ?

 

 

ตามปกติหญิงที่ตั้งครรภ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายอย่าง เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อย คัดตึงเต้านม การเปลี่ยนแปลงในช่องปากก็เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการคั่งของเลือดที่มาเลี้ยงเหงือก ทำให้เวลาแปรงฟัน อาจเห็นมีเลือดออกตามร่องฟันได้ ที่เรียกว่า “Epulis” เป็นอาการที่เหงือกในคนท้องอ่อนนุ่ม และเป็นแผลเลือดออกง่าย จึงควรแปรงฟันด้วยแปรงที่ขนแปรงอ่อนนุ่ม และแปรงด้วยแรงที่นุ่มนวล ไม่แรงจนเกินไป แต่บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อของแบคทีเรียในช่องปาก เกิดอาการเหงือกอักเสบ “Pregnancy gingivitis” ตามมาได้ ซึ่งถ้ามีการอักเสบควรรีบพบทันตแพทย์

 

 

ก่อนตั้งครรภ์ ถ้ามีการวางแผนสำหรับนัดหมอฟันตรวจรักษาฟัน ขูดหินปูนให้เรียบร้อยก่อนที่จะเริ่มตั้งครรภ์ ก็เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาของฟันที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ หรือขณะตั้งครรภ์ ควรได้รับการตรวจฟันจากทันตแพทย์ ตั้งแต่การฝากท้องครั้งแรกๆ เพื่อจะได้ประเมินสุขภาพช่องปาก เหงือกและฟันว่ามีปัญหามาก่อนหรือไม่ นอกจากนี้ยังแนะนำให้ทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงในช่วงการตั้งครรภ์ เช่น นม เนยแข็ง ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อยทอดกรอบ เป็นต้น เพื่อบำรุงฟันของแม่ และส่งผ่านไปให้ลูกในครรภ์ในการใช้สร้างกระดูกและฟันของทารก

 

 

สุขภาพช่องปากช่วงตั้งครรภ์ดูแลฟันอย่างไร

 

 

การขูดหินปูน การอุดฟัน การถอนฟัน ระหว่างการตั้งครรภ์ทำได้หรือไม่ ?

 

การขูดหินปูนบางครั้งถ้าดูว่ายังไม่มีความจำเป็น ก็อาจเลื่อนไปขูดเอาช่วงหลังคลอด เพราะจะได้ไ่ม่ต้องเสียเลือดมากจากเหงือกที่บวมคั่งเลือดมากขึ้น การโดยโลหะหนักบางชนิด เช่น Amalgam ซึ่งมีส่วนประกอบของสารปรอทยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงเรื่องความปลอดภัย และการผ่านรกได้ของสารปรอท จึงควรหลีกเลี่ยงใช้วัสดุประเภทอื่นๆ แทนการ ถ้าอาการผุหรือปวดไม่มาก ควรรอถอนช่วงหลังคลอด แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องถอนจริงๆ ก็สามารถทำได้ โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ โดยทั่วไปการใช้ยาชาเฉพาะที่ Xylocaine หรือ Lidocaine เป็นยาในกลุ่มบี (Category B) สามารถใช้ได้ ยังไม่มีรายงานถึงผลของยาชาเฉพาะที่ต่อทารกในครรภ์ แต่ในหัตถการบางอย่างที่อาจมากกว่าการถอน เช่น การผ่าฟันคุด ซึ่งต้องมีการผ่าตัดเหงือกก่อน แล้วจึงค่อยและเย็บปิดแผล จะทำให้เลือดออกค่อนข้างมาก ซึ่งถ้าหลีกเลี่ยงได้ ส่วนใหญ่ก็พยายามหลีกเลี่ยงไม่ผ่าในช่วงตั้งครรภ์ซึ่งมีเลือดไปเลี้ยงมากในทุกๆ อวัยวะ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ อย่างในคนไข้รายที่กล่าวมา เนื่องจากทานยาแล้วไม่ได้ผลอาการปวดก็ยังมากอยู่ จึงจำเป็นต้องทำการผ่าในผู้ป่วยรายนั้น เพราะมิฉะนั้นคนไข้อาจกังวลและเครียดกับอาการปวดอยู่ตลอดเวลา และอาจทานอาหารไม่ได้ มีผลต่อสุขภาพการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ โดยทั่วไปช่วงอายุครรภ์ที่แพทย์พยายามหลีกเลี่ยงการผ่าตัด หรือการทำหัตถการใดๆ กับคนไข้ในช่วง 3 เดือนแรก เพราะเป็นช่วงที่มีโอกาสแท้งได้ง่าย และในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด เนื่องจากเป็นช่วงที่อาจกระตุ้นการบีบตัวของมดลูกให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ง่าย จะเห็นว่าช่วงที่ดีคือช่วง 3 เดือนตรงกลาง เป็นระยะที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ไม่ใช้กฎตายตัวเสมอไป ต้องพิจารณาจากอาการและตัวโรคที่ต้องรักษาของคนไข้เป็นรายๆ ไป

 

 

สุขภาพช่องปากช่วงตั้งครรภ์ดูแลฟันอย่างไร

 

 

การรักษารากฟัน หรือจัดฟันสมควรทำในระหว่างการตั้งครรภ์หรือไม่ ?

 

การรักษารากฟันจำเป็นต้องมีการเอ็กซเรย์ดูร่องรากฟันหลายครั้ง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสรังสีในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนหัตถการเพิ่มความสวยงาม เช่น การจัดฟัน ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ก็ไม่แนะนำให้ทำ เพราะหลังจัดฟันจะมีช่วงเวลาที่เจ็บจนอาจทานอาหารได้น้อยหรือไม่ได้เลย ซึ่งอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ และการดูแลฟันที่จัดก็ค่อนข้างยุ่งยากสำหรับคนท้อง เอาเวลาไปดูแลลูกในท้องน่าจะเหมาะสมกว่า

 

 

สุขภาพช่องปากช่วงตั้งครรภ์ดูแลฟันอย่างไร

 

 

ในแม่ท้องถ้าปวดฟันทำอย่างไรดี ?

 

อย่างแรกคงต้องหาหมอฟันให้ช่วยประเมินว่าควรรักษาอย่างไร ถ้าคุณหมอเห็นว่าเป็นไม่มาก อยากให้ทานยาไปก่อน ยาที่ใช้ได้ดีในคนท้องเพื่อลดอาการปวดคือ พาราเซตามอล (เช่น ไทลินอล ซาร่า เป็นต้น) สามารถทานได้ครั้งละ 1 - 2 เม็ด ทุก 4 - 6 ชั่วโมง ยานี้ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ใช้ได้อย่างปลอดภัย ถ้าอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ ในการให้ยาในกลุ่มอื่นๆ ที่แรงขึ้น แต่ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ (แต่ไม่ควรซื้อทานเอง) ไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการปวดต่อ เนื่องนานๆ อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ หรือการตั้งครรภ์ เช่น กระตุ้นให้เกิดการคลอดทารกก่อนกำหนดก็เป็นได้

 

 

การเอ็กซเรย์ฟันในระหว่างตั้งครรภ์ทำได้หรือไม่ ?

 

การเอ็กซเรย์สามารถทำได้ถ้าจำเป็น เช่น ในกรณีที่มีภาวะฉุกเฉินทางทันตกรรม หรือในช่องปาก โดยมีการใช้แผ่นตะกั่วกันรังสีสัมผัสลูก คลุมบริเวณหน้าท้อง จากข้อมูลของ American College of Radiology ปริมาณรังสีที่ใช้ หรืออาจได้รับในการเอ็กซเรย์แต่ละครั้งน้อยมาก ซึ่งไม่ส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ จึงไม่ควรกังวลจนเกินไป แต่ถึงแม้ปริมาณรังสีที่ได้รับจะน้อยมาก แต่ก็ไม่ควรได้รับถ้าไม่จำเป็น

 

 

ทำไมช่วงแพ้ท้องต้องอาเจียนทุกครั้งหลังการแปรงฟัน ?

 

ช่วงการตั้งครรภ์ใน 3 เดือนแรกฮอร์โมนของการตั้งครรภ์สูง ทำให้เกิดอาการแพ้ท้องได้ง่าย ยิ่งเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นแปลกปลอมที่ไม่ชอบทั้งหลาย เช่น กลิ่นฉุน รสชาติ โดยเฉพาะยาสีฟัน เมื่อแปรงฟันมักมีอาการพะอืดพะอม และคลื่นไส้อาเจียนตามมา ดังนั้นควรใช้ยาสีฟันน้อยที่สุด หรือไม่ใช้เลย หรือใช้ยาสีฟันของเด็กที่มีกลิ่นและรสผลไม้ในการแปรงฟันอาการอาจดีขึ้น หรือบางรายถ้าเป็นมาก อาจแค่ใช้นํ้ายาบ้วนปาก หรือนํ้าเปล่าก็เพียงพอ

 

 

ยาปฏิชีวนะที่สามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ ?

 

หลังการรักษาฟัน เช่น การถอน หรือการผ่าฟันคุด หมอฟันอาจให้ยาป้องกันการติดเชื้อ โรคเฉพาะในกลุ่มที่มีความผิดปกติของหัวใจ หรือ เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic Heart) ที่มีโอกาสติดเชื้อง่าย การใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม เพนนิซิลิน (Penicillin) หรือ คลินดามัยซิน (Clindamycin) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม บี (Category B) สามารถให้ได้อย่างปลอดภัยในคนท้อง แต่หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มเตรทตาซัยคลิน (Tetracycline) ซึ่งทำให้เกิดอาการฟันของทารกมีสีผิดปกติ (เหลืองหรือน้ำตาล) เกิดขึ้นได้

 

 

Tips

 

การดูแลสุขภาพในช่องปากระหว่างการตั้งครรภ์ : The American Dental Association (ADA)

 

1.ทานอาหารให้สมดุลครบทุกหมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมที่ช่วยในการบำรุงฟัน และกระดูกของแม่และทารกในครรภ์

 

2.แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และขัดร่องฟันด้วยไหมขัดฟันวันละ 1 ครั้ง เปลี่ยนยาสีฟันถ้าอาการแพ้ท้องถูกกระตุ้นจากยาสีฟันที่ใช้ หรือใช้เพียงน้ำยาบ้วนปากในช่วงที่ยังมีอาการแพ้ท้องมากๆ

 

3.พบทันตแพทย์ตามนัดปกติ เพื่อตรวจฟันอย่างสม่ำเสมอ และแจ้งแพทย์ว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่แพทย์จะได้ทราบว่าควรหลีกเลี่ยงการเอ็กซเรย์ หรือการใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อทารกในครรภ์

 

4.การรักษาที่ไม่จำเป็น หรือเร่งด่วน ควรเก็บไว้รักษาหลังคลอด ยกเว้นกรณีที่ฉุกเฉิน ให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น CoolSculpting romrawin รมย์รวินท์ ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขนถาวร เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Pico Pico NCTF 135 HA Rejuran Belotero Revive Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra Sculptra Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse UltraClear Aviclear Laser AviClear Laser Aviclear Aviclear AviClear Accure Laser Accure สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite NAD+ therapy NAD+ ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน Vaginal Lift Apex