Haijai.com


เบาหวานแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์


 
เปิดอ่าน 5282

เบาหวานแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

 

 

เบาหวานแทรกซ้อน ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายแค่ไหน

 

“ท้องได้ 6 เดือน แพทย์ตรวจพบว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ รู้สึกกังวลมาก กลัวว่าลูกจะพิการหรือผิดปกติ แถมหมอยังให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอีก ดิฉันควรทำอย่างไรดี”

 

 

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ก่อน ถ้าทราบข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตามคำาแนะนำของแพทย์จะเห็นว่าโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลย โดยทั่วไปเบาหวานที่เกิดในหญิงตั้งครรภ์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ เบาหวานที่เป็นมาก่อนตั้งครรภ์ (Pre-gestational diabetes mellitus หรือ Overt DM) และเบาหวานที่เป็นหลังจากที่ตั้งครรภ์แล้ว (Gestational diabetes mellitus หรือ GDM)

 

 

เบาหวานที่เป็นก่อนการตั้งครรภ์ ถ้ามีการคุมระดับน้ำตาลไม่ดี อาจทำให้เกิดภาวะผิดปกติของร่างกายทารกในครรภ์ได้ เช่น ความผิดปกติของระบบประสาท และกระดูกไขสันหลัง ความผิดปกติของหัวใจ ขณะที่เบาหวานที่เป็นหลังการตั้งครรภ์ มักเกิดในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ซึ่งทารกสร้างอวัยวะต่างๆ ครบแล้ว จึงไม่มีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์เบาหวานชนิดที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ (Overt DM) เบาหวานชนิดนี้ นอกจากจะทำให้เกิดความพิการแต่กำาเนิดแล้ว ยาที่ใช้รักษาอยู่ก่อนการตั้งครรภ์ในกลุ่มของยาเม็ดรับประทานต่างๆ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นยาฉีดเนื่องจากยาเม็ดรับประทานยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ จึงต้องมีการปรับยาเป็นรูปยาฉีดแทน

 

 

เบาหวานชนิดที่เป็นหลังจากที่ตั้งครรภ์แล้ว (GDM) พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของหญิงตั้งครรภ์ และมักเกิดในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ เนื่องจากช่วงอายุครรภ์ดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกาย ร่วมกับภาวะเซลล์ในร่างกายมีการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin resistance) ที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย จึงทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น แต่เบาหวานชนิดนี้สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้หลังคลอด หลังจากที่มีการหลุดลอกตัวของรก และการตั้งครรภ์สิ้นสุดลงแต่อย่าลืมว่าการที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีโอกาสเป็นเบาหวานถาวรในอนาคต (OvertDM) ได้ถึงร้อยละ 50 ถ้ายังปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการรับประทานของหวานจัดเป็นประจำ ดังนั้นคนที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จึงควรได้รับการตรวจติดตามระดับนำตาลหลังคลอด และตรวจระดับนำ้ตาลเป็นประจำอย่างสมำเสมอทุกปี

 

 

ทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเบาหวานขณะที่คตั้งครรภ์ คือ อายุมากกว่า 30 ปี มีประวัติญาติสายตรงลำดบแรก (First-degree relative) เป็นเบาหวาน เช่น คุณพ่อคุณแม่ของหญิงตั้งครรภ์, ภาวะอ้วนหรือมีดัชนีมวลกายสูง (BMI > 30 กก./ม2), เคยมีภาวะเบาหวานแทรกซ้อน ในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน หรือเคยคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม หรือมีประวัติ ทารกในครรภ์มีความพิการแต่กำเนิด หรือเสียชีวิตในครรภ์ โดยไม่ทราบสาเหตุ เหล่านี้คือข้อบ่งชี้ ที่ต้องมีการตรวจเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ โดยแนะนำให้ตรวจเร็วที่สุด เมื่อทราบว่าตั้งครีรภ์ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แต่หากยังมีอาการแพ้ท้ออยู่ อาจเลื่อนการตรวจออกไปก่อนได้ จนอาการแพ้ท้องดีขึ้น จึงค่อยทำการตรวจ และควรตรวจซ้ำอีกครั้งในช่วง 24-28 สัปดาห์ บางประเทศแนะนำให้ตรวจในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย (Universal Screening)

(Some images used under license from Shutterstock.com.)