Haijai.com


ไตวายเรื้อรัง โรคไตเรื้อรังคืออะไร


 
เปิดอ่าน 6214

ไตวายเรื้อรัง

 

 

โรคไตนับเป็นปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของระบบสาธารณสุขทั่วโลก ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำนวน 8 ล้านคน มีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 10,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องการการรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกเลือดทำไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไต กว่า 58,000 ราย ในปี พ.ศ.2555 ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นตามลำดับ ในขณะที่ประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์และพยาบาลผู้ชำนาญโรคไตอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัด การดูแลตนเองให้มีความรู้เรื่องโรคไต และความเข้าใจที่ถูกต้อง จะต้องมีส่วนช่วยให้ประชาชนปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสถานบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ และ ศ.เกียรติคุณ พญ.ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ มาเป็นผู้ให้ความรู้และคลายข้อสงสัย รวมทั้งความเข้าใจผิดต่างๆ เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง

 

 

โรคไตเรื้อรังคืออะไร

 

โรคไตเรื้อรังเป็นภาวะที่มีการทำลายเนื้อไตช้าๆ อย่างต่อเนื่อง ใช้ระยะเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปี เป็นการทำลายที่ถาวร โรคไตเรื้อรังเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการจนกระทั่งไตเสียไปมากกว่า 50% จึงเริ่มแสดงอาการของโรคไตเรื้อรังทีละเล็กละน้อย จนเมื่อไตเสียหน้าที่เกือบหมด อาการจะรุนแรงมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทนอยู่ได้ เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร คันตามตัว บวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็ว ถูกต้องเหมาะสม โดยการซักประวัติหาสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับการตรวจร่างกาย ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด ดูหน้าที่ไตและภาพรังสี ซึ่งแสดงถึงไตฝ่อขนาดเล็กลงจากเดิมมาก

 

 

การรักษาไตเรื้อรังทำได้เพียงประคับประคองมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวใจวาย อาการชัก หมดสติ หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล ก็จำเป็นต้องใช้วิธีฟอกเลือดเอาของเสียออกจากร่างกาย เพื่อให้ร่างกายฟื้นสภาพพอช่วยตัวเองได้ แต่ไตจะยังคงเป็นพังผืด เป็นรอยการอักเสบเรื้อรังระยะนาน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขหรือรักษาให้ฟื้นกลับมาทำงานเป็นปกติเช่นเดิมได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องรักษาด้วยวิธีฟอกเลือดหรือล้างช่อท้องชนิดถาวร เพื่อนำเอาของเสียออกไป ตลอดจนกว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไต ซึ่งอาจเป็นไตบริจาคจากผู้เสียชีวิตที่สมองตาย แต่ไตยังทำงานปกติ หรือไตจากผู้มีชีวิต เช่น พ่อแม่ คู่สมรส ลูก หลาน ที่มีกรุ๊ปเลือดและเนื้อเยื่อเข้ากันได้ และยินดีบริจาคให้นำไปปลูกถ่ายไต ไตที่ได้รับการปลูกถ่ายแล้วก็จะฟื้นตัวกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงปกติเช่นเดิม โดยต้องรับประทานยารักษาไตใหม่ตลอดไป และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

 

 

เหตุใดจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

 

การที่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ และโรคหัวใจ ยังไม่ลดลง ซึ่งไตเป็นอวัยวะที่ได้รับผลกระทบจากโรคต่างๆ เหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีโรคเกี่ยวกับไตเอง เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิด นิ่ว รวมทั้งการหาซื้อยามารับประทานเอง

 

 

ในคนปกติการตรวจร่างกายประจำปีในปัจจุบันจะมีการตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด ซึ่งจะรวมหน้าที่ไต เป็นการคัดกรองเบื้องต้น สามารถทราบได้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับไตบ้างหรือไม่ จะได้ทำการตรวจต่อสำหรับหาสาเหตุโรคไตต่อไป สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต เป็นกลุ่มที่ควรได้รับการตรวจหาโรคไตตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้ ได้แก่

 

 คนปกติที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพราะการทำงานของไตจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น

 

 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

 

 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหลอดเลือดอื่นๆ

 

 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

 ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตอยู่เดิมแล้ว เช่น โรคไตอักเสบ เอสแอลอี โรคเกาต์ โรคไตอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย

 

 ผู้ที่มีประวัติสมาชิกครอบครัวเป็นโรคไตชนิดใดชนิดหนึ่ง

 

 ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ หลายครั้ง

 

 ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน

 

 

โรคไตเรื้อรังมีด้วยกันทั้งหมดกี่ระยะ และรักษาได้อย่างไร

 

โรคไตเรื้อรังแบ่งตามระดับความรุนแรงได้ทั้งหมด 5 ระยะ ได้แก่

ระยะ

คำจำกัดความ

อัตราการกรองของไต
มิลลิลตร / นาที / 1.73 ตร.ม.
ของพื้นที่ผิวกาย

1

ไตผิดปกติ และอัตราการกรองของไตปกติหรือเพิ่มขึ้น

>= 90

2

ไตผิดปกติ และอัตราการกรองของไตลดลงเล็กน้อย

60-89

3

อัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง

30-59

4

อัตราการกรองของไตลดลงมาก

15-29

5

ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

< 15

 

 

เมื่อผู้ป่วยไตเรื้อรังเข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือการทำงานของไตเสียไปประมาณ 90% ผู้ป่วยมักมีอาการรุนแรงมากจนถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการทำไตเทียม วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเท่านั้น ปกติแพทย์จะพิจารณาเริ่มการรักษาเร็วกว่าระยะนี้ เนื่องจากผู้ป่วยที่เข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย อาการมักรุนแรงมาก จนอาจแก้ไขไม่ทัน การฟื้นตัวของผู้ป่วยจะช้ามากหรือไม่ได้เลย

 

 

ในปัจจุบันมีการรักษาไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทั้งหมด 3 วิธี คือ การรักษาทั่วไป การทำไตเทียม และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

 

1.การรักษาทั่วไป ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าไตเริ่มทำหน้าที่น้อยลง เริ่มขจัดของเสียลดลงแล้ว จะโดยสาเหตุจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือสาเหตุอื่นใดก็ตาม หากผู้ป่วยเรียนรู้วิธีที่จะถนอมไตไว้ ชีวิตก็จะยืนยาว ไม่ต้องเข้าไปสู่เรื่องของการล้างไต การฟอกเลือด และท้ายสุดก็คือการปลูกถ่ายไต ซึ่งหลักการสำคัญในการชะลอการเสื่อมของไต ได้แก่

 

 การวัดความดันโลหิตที่สม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ควบคุมให้อยู่ในระดับปกติหรือใกล้เคียงปกติ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงทั่วไป ควรรักษาให้มีระดับความดันโลหิตที่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท หากความดันโลหิตดีตลอดเวลา จะช่วยให้ไตทำหน้าที่ดี แต่ถ้าความดันโลหิตสูงๆ ต่ำๆ ไม่คงที่ จะส่งผลต่อไตอย่างมาก ทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติ ที่สำคัญ คือ อย่าละเลยการรับประทนยาลดความดันโลหิต เพราะคิดว่าสบายดีแล้ว ซึ่งไม่ถูกต้องและมีผลเสียต่อไตอย่างมาก การเลือกใช้ยาควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา อาจไม่เหมือนผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเหมือนกัน ขนาดและชนิดของยาที่ให้ ก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย

 

 

 การควบคุมระดับน้ำตาล เฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวานและไตเริ่มเสื่อมจากเบาหวาน ควรต้องระวังระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เพื่อป้องกันการทำลายไต รวมทั้งการทำลายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หัวใจ และที่ตา

 

 

 การควบคุมอาหาร มีความจำเป็นต่อการชะลอการเสื่อมของไตอย่างมาก ควรกินแบบลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม ลดเนื้อ ในหนึ่งวันไม่ควรบริโภคน้ำตาล น้ำมัน (ประกอบอาหาร) เกิน 6 ช้อนชา และใช้น้ำปลาปรุงอาหารไม่เกินวันละ 3 ช้อนชา รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มทุกชนิด และควรกินโปรตีนให้เหมาะสม ตามน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น โดยกินโปรตีนคุณภาพดี เช่น ไข่ขาว เนื้อปลา หรืออื่นๆ ตามที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักกำหนดอาหาร การกินโปรตีนที่มากไป อาจก่อให้เกิดผลเสีย เพราะของเสียในร่างกายจะเพิ่มขึ้น ไตจะทรุดลง ในขณะเดียวกันการกินโปรตีนน้อยไปก็ไม่ดี เพราะจะมีการสลายกล้ามเนื้อตัวเองมาใช้แทน สำหรับน้ำดื่ม โดยทั่วไปสามารถดื่มน้ำได้ตามความต้องการ ไม่มากและไม่น้อย โดยดูน้ำหนักตัว ถ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับอาการบวมก็ควรลดปริมาณน้ำดื่ม โดยปรึกษาแพทย์ร่วมด้วย

 

 

 การสูบบุหรี่ ปัจจุบันมีการพิสูจน์แล้วว่า ผู้ที่สูบบุหรี่จะทำให้ไตเสื่อมกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ดังนั้น ผี่ไตไม่ค่อยดีจึงควรงดสูบบุหรี่

 

 

 การใช้ยาที่เป็นผลเสียต่อไต ผู้ที่เป็นโรคไตต้องระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดทำให้ไตเสื่อมเร็วหรือเป็นผลเสียต่อไต หากใช้ขนาดสูงหรือนานเกินไป เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดหลัง ทั้งชนิดกินและแบบฉีด รวมทั้งยาสมุนไพร ยาจากรากไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับออกได้เช่นคนปกติ ได้แก่ สารโพแทสเซียม ซึ่งจะมีมากในรากไม้ ผลไม้สมุนไพร พืช ผู้ป่วยที่มีระดับโพแทสเซียมสูงอยู่แล้ว อาจเกิดอันตราย ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ นอกจากยาแก้ปวดต่างๆ เหล่านี้ ยาขับปัสสาวะบางชนิดที่ลดการขับโพแทสเซียมทางไต ก็ต้องระวังเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังค่อนข้างมากแล้ว

 

 

 ภาวะซีด มีรายงานการศึกษาพบว่า ถ้ารักษาภาวะซีดให้ดี จะทำให้ไตเสื่อมช้าลงได้ จึงควรดูแลรักษาภาวะนี้ไว้ด้วยเสมอ โดยต้องหาสาเหตุ และรักษาต้นเหตุไปพร้อมกัน

 

 

 ภาวะฟอสเฟตในเลือด ผู้ป่วยโรคไตส่วนใหญ่มักมีระดับฟอตเฟตในเลือดสูง เนื่องจากการขับทางไตลดลง สารฟอตเฟตมีมากในถั่วทุกประเภท โยเกิร์ต นมเค้ก และพาย น้ำเต้าหู้ โกโก้ กาแฟ พิซซ่า ช็อกโกแลต น้ำอัดลมที่มีสีดำ และเนยแข็ง ถ้าลดปริมาณอาหารแล้วยังมีระดับสูง แพทย์จะให้ยาที่ขับสารนี้ออกทางอุจจาระได้ เพื่อปรับระดับฟอตเฟตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

 

 ภาวะติดเชื้อในระบบต่างๆ ของร่างกาย มีผลกระทบต่อไตได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างทันทีและเหมาะสม เพื่อให้หน้าที่ไตอยู่ในระดับที่ทำงานได้ ไม่เสื่อมลงเร็ว ถ้ามีอาการไข้หรือปัสสาวะผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจ จะได้วินิจฉัยโรคและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

 

 การออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคไตสามารถออกกำลังได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่รุนแรง และไม่เหนื่อยจนเกินไป เช่น การเดิน การบริหารร่างกายชนิดอยู่กับที่ การออกกำลังกายจะช่วยทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น สุขภาพโดยทั่วไปแข็งแรงกว่าเดิม แต่ต้องดูสภาพหัวใจประกอบด้วย โดยปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านเสียก่อน

 

 

2.การรักษาด้วยวิธีไตเทียม การทำไตเทียม คือ การขจัดหรือล้างของเสียที่คั่งค้างจากภาวะไตวายออกจากร่างกายของผู้ป่วย การรักษาวิธีนี้เป็นการล้างของเสียออกจากร่างกายให้สะอาดคล้ายการทำงานของไต บางครั้งอาจเรียกว่า การล้างไต อย่างไรก็ตาม การล้างไตไม่ได้เข้าไปชำระล้างหรือเกี่ยวข้องใดๆ กับไตโดยตรง เป็นเพียงการทำงานทดแทนไตเดิมของผู้ป่วยเท่านั้น การล้างไตมี 2 วิธี คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และการล้างไตทางช่องท้อง

 

 

3.การปลูกถ่ายไต คือ การผ่าตัดไตของญาติที่มีชีวิตหรือของผู้บริจาคที่เพิ่งเสียชีวิตหรือสมองตาย แต่ไตยังทำงานเป็นปกติอยู่ มาให้แก่ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เพื่อจะได้ทำหน้าที่ขับของเสียทดแทนไตเดิม ซึ่งสูญเสียหน้าที่ไปแล้ว ดังนั้น หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยจะมีไตเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 1 อัน

 

 

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า การปลูกถ่ายไตเป็นการบำบัดทดแทนไตที่ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาว และให้คุณภาพชีวิตที่ดีกว่าการบำบัดทดแทนไตรูปแบบอื่น โดยมีอัตราการอยู่รอดของไตที่ปลูกถ่ายมากกว่าร้อยละ 95 ในช่วงปีแรก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการใช้ยากดภูมิคุ้มกันและสเตียรอยด์ เพื่อยับยั้งการปฏิเสธไตที่ปลูกถ่ายใหม่ จากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ดังนั้น ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการตรวจประเมินความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจก่อน ที่จะได้รับการปลูกถ่ายไต รวมถึงได้รับความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในขั้นตอนการปลูกถ่ายไต และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง

 

 

การป้องกันไม่ให้คนปกติเป็นโรคไต ได้แก่ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อมีการเสียน้ำและเกลือแร่จากท้องเดิน หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นพิษต่อไต ตรวจหาโรคที่เป็นสาเหตุของโรคไต เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

 

 

เป็นโรคไตเรื้อรังรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้หรือไม่?

 

ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่าโรคไตเรื้อรังที่เป็นอยู่นั้น เป็นระยะที่เท่าไหร่ และมีโรคอย่างอื่นนำมาก่อนหรือไม่ เพราะผู้ป่วยโรคไตส่วนใหญ่มักเป็นโรคอื่นมาก่อน โรคไตเป็นผลที่ตามมาภายหลัง อาหารเสริมสามารถรับประทานได้แต่ต้องรู้ส่วนประกอบด้วย เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีสารบางอย่างในร่างกายสูงอยู่แล้ว หากอาหารเสริมที่ต้องการรับประทานมีชนิดนั้นในปริมาณมาก ไตจะขับออกได้ไม่หมด เกิดอันตรายต่อร่างกาย ก็ไม่ควรรับประทาน หากต้องการรับประทานควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาจะดีที่สุด

 

 

ความเข้าใจผิดของผู้ป่วยที่เกี่ยวกับโรคไตที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?

 

ความเข้าใจผิดหรือปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไตอย่างแรก คือ เรื่องของ ยาบำรุงไต ที่มีการโฆษณาชวนเชื่อกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามต่างจังหวัด ไม่ควรซื้อหามารับประทาน เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์พิสูจน์ผลดีของการใช้ยาประเภทนี้ นอกจากนี้ปัญหาที่พบในผู้ป่วยโรคไต คือ ไม่อยากรับประทานยา กลัวจะต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต

 

 

ต้องอธิบายให้เข้าใจว่า หากละเลยการดูแลสุขภาพตนเองจนโรคลุกลามบานปลายมากแล้ว การรับประทานยาเพื่อควบคุมอาการเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดตามมา หากไม่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ละเว้นการรับประทานยาที่แพทย์สั่ง อาจก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงตามมาได้

 

 

สุดท้ายนี้อยากจะฝากไว้ว่า สุขภาพเป็นสิ่งที่เราซื้อไม่ได้ แต่เราดูแลตัวเองได้ เพราะฉะนั้นความเข้าใจที่ดี การดูแลตัวเองที่ดี จะช่วยให้เราทุกคนที่มีสุขภาพที่ดีตลอดไป ที่สำคัญต้องเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ เดี๋ยวนี้

 

 

ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสถานบันโรคไตภูมิราชนครินทร์

และ

ศ.เกียรติคุณ พญ.ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความน่ารู้ romrawin รมย์รวินท์ ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex