Haijai.com


บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน


 
เปิดอ่าน 2943

บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน

 

 

สมัยนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษกันมากขึ้น นั่นอาจเพราะด้วยเหตุผลที่ว่า การมีสุขภาพดี ย่อมทำให้เราสามารถมีชีวิตอยู่กับครอบครัวคนที่รักได้อย่างยืนยาวค่ะ และอย่างพืชผักพื้นบ้านของไทย ก็กินดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ฉะนั้นเราลองมาดูกันซิว่าพืชผักพื้นบ้านไทยชนิดใด ที่แม่หลังคลอดสามารถนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารบำรุงร่างกาย และยังช่วยบำรุงน้ำนมอีกด้วย

 

 

5 พืชผักที่กินดีมีประโยชน์

 

 

บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน

 

 

ใบกะเพรา

 

 คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม และยังมีเส้นใยอาหารสูง

 

 

 คุณประโยชน์ แก้ท้องอืด เป็นหวัดคัดจมูก คลื่นไส้ อาเจียน ช่วย ให้เจริญอาหาร

 

 

 เมนูสุขภาพ แกงเลียงใบกะเพราะ, ผัดกะเพราะหมู/ปลา, ไข่เจียว ใบกะเพรากรอบ ฯลฯ

 

 

บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน

 

 

ใบแมงลัก

 

 คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยแคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบี และวิตามินซี

 

 

 คุณประโยชน์ ช่วยขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร

 

 

 เมนูสุภาพ แกงเลียงรวมมิตรใส่ใบแมงลัก, กินแกล้มกับขนมจีน น้ำยาป่า, ต้มยำน้ำใสใส่ใบแมงลัก, จิ้มจุ่ม ฯลฯ

 

 

บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน

 

 

หัวปลี

 

 คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยแคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน

 

 

 คุณประโยชน์ แก้โรคกระเพาะ บำรุงเลือด (โลหิตจาง) บำรุงน้ำนมในหญิงให้นมบุตร

 

 

 เมนูสุขภาพ ยำหัวปลี, แกงเลียงหัวปลี, ลวกจิ้มน้ำพริก, ทอดมัน หัวปลี ฯลฯ

 

 

บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน

 

 

ขิง

 

 คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และแคลเซียม

 

 

 คุณประโยชน์ ช่วยขับลม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยบำรุงเลือดให้ไหลเวียนดี

 

 

 เมนูสุขภาพ ยำกุ้งใส่ขิง, ไก่ผัดขิง, มันต้มขิง, ยำปลาทูใส่ขิง, บัวลอยน้ำขิง ฯลฯ

 

 

บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน

 

 

ฟักทอง

 

 คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ฟอสฟอรัส เบต้า-แคโรทีน มีสารสีเหลือง และโปรตีน

 

 

 คุณประโยชน์ แก้อาการฟก ช้ำ ปวด บำรุงร่างกาย

 

 

 เมนูสุขภาพ ฟักทองผัดไข่, ซุปฟักทอง, แกงเลียงรวมมิตรใส่ฟักทอง ฯลฯ

 

 

Good to Know

 

เมื่อแม่ให้นมลูกมีอาการคัดตึงเต้านม อาการเต้านมคัดอาจนำไปสู่ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน หรือเต้านมอักเสบ ซึ่งสามารถบรรเทา หรือลดอาการเต้านมคัดได้ด้วยการให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี และการอุ้มให้นมลูกอย่างถูกท่า เริ่มจากให้ลูกดูดบ่อยๆ และนานเท่าที่ลูกต้องการ ในช่วงแรกเมื่อน้ำนมมาเต็มเต้าพยายามให้ลูกดูดนมจากเต้าทุก 2-3 ชั่วโมง การให้ลูกดูดนมจากเต้าจะช่วยให้น้ำนมไหลได้ดี และก็เป็นการระบายนมออกจากเต้า อีกวิธีหนึ่งเมื่อมีอาการคัดตึงเต้านมจนรู้สึกเจ็บ ซึ่งก็มีแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลายๆ ท่าน ใช้ใบกะหล่ำปลีช่วยบรรเทาอาการเต้าคัด โดยใช้ใบกะหล่ำปลีที่แช่เย็นแล้ว ตัดให้เป็นช่องสำหรับหัวนม และวางลงบนเต้านม โดยสวมไว้ในเสื้อชั้นใน อาการคัดตึงเจ็บเต้านมก็จะค่อยๆ บรรเทาลง

(Some images used under license from Shutterstock.com.)