Haijai.com


Baby Blue ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดต้องรับมืออย่างไร


 
เปิดอ่าน 10142

Baby Blue ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดต้องรับมืออย่างไร

 

 

อาการ "ซึมเศร้าหลังคลอด" เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยนักก็ตาม โดยเฉพาะครอบครับในสังคมปัจจุบันเป็นสังคมเมืองสมัยใหม่ แต่งงานมีบุตรก็อยู่กันเพียงสองคนสามีภรรยา ไม่มีคุณย่าคุณยายมาช่วยดูแลเลี้ยงดูบุตร ทำให้เกิดความเครียดในขณะที่ต้องเลี้ยงบุตรโดยลำพัง การเปลี่ยนแปลงสถานะความเป็นแม่มือใหม่ ที่ต้องคอยดูแลทารกแรกเกิด เกือบตลอด 24 ชั่วโมง ความไม่แน่ใจว่าการเลี้ยงดูลูกของตนนั้น ถูกต้องหรือไม่ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังคลอด เช่น คัดเต้านม เจ็บแผลคลอด เหล่านี้ล้วนแต่เป็นความเครียด ที่ทำให้คุณแม่บางคนมีอาการมากจนถึงขั้นเลี้ยงลูกไม่ได้ บางรายต้องให้พบจิตแพทย์ เพื่อรับยารักษา

 

 

ซึ่งภาวะดังกล่าวเชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างรวดเร็วในช่วงหลังคลอด ส่วนใหญ่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และเริ่มมีการปรับตัวได้ โดยปกติสามารถแบ่งโรคอารมณ์แปรปรวนหลังคลอด ตามลำดับความรุนแรง ได้ 3 ชนิด ตามลำดับความรุนแรงจากน้อยไปหามาก คือ

 

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues : PPB)

 

 

โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression : PPD)

 

 

โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis : PPP)

 

 

 

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues, Maternity blues หรือ Baby blues)

 

เป็นชนิดอารมณ์แปรปรวนหลังคลอดที่พบได้บ่อยที่สุด พบประมาณร้อยละ 50 - 80 ของสตรีหลังคลอด มักเป็นเพียงชั่วคราว และอาการต่างๆ มักดีขึ้นได้เองในระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่อาจมีสาเหตุเสริมบางอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกายอย่างรวดเร็วหลังคลอด ความเครียดทางร่างกายที่เกิดจากการคลอด หรือความเครียดทางจิตใจจากการปรับตัว เปลี่ยนแปลงบทบาทเป็นมารดา หรือจากสังคมรอบข้าง เช่น สามี หรือญาติ โดยลักษณะสตรีที่เกิดอารมณ์เศร้าหลังคลอดได้ง่าย เช่น กลุ่มที่มีความระมัดระวังสูง ทำอะไรต้องสมบูรณ์แบบ Perfectionist) หรือกลุ่มที่มีความวิตกกังวลสูง ปรับตัวยาก หรืออาจมีวุฒิภาวะที่ไม่สมบูรณ์ เช่น หญิงตั้งครรภ์อายุน้อย (Teenage pregnancy) หรือหญิงที่มีปัญหาในชีวิตสมรส โดยอาการมักเกิดในวันที่ 4 หรือ 5 หลังคลอด เช่น อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด ขี้รำคาญ รู้สึกเศร้า บางครั้งอยู่ๆ ก็ร้องไห้ออกมา โดยไม่ทราบสาเหตุวิตกกังวลไปเสียทุกเรื่อง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกอ่อนเพลีย กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาด้วยยาใดๆ เพียงแต่ให้กำลังใจ และประคับประคองจิตใจ อาการต่างๆ ก็สามารถหายได้เอง นอกจากบางรายที่มีอาการมากกว่า 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากร้อยละ 20 ของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (PPB) สามารถพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้ (PPD)

 

 

แนวทางป้องกันแก้ไข ไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

 

 

• ผู้เป็นแม่มือใหม่ เมื่อมีปัญหา อย่าเก็บความรู้สึกอัดอั้นของตนไว้คนเดียว ควรหาทางระบายให้คนอื่นๆ ได้รับฟังปัญหา เช่น สามี คุณพ่อ คุณแม่ หรือ ญาติพี่น้อง ว่าตนรู้สึกอย่างไร หรือถ้าไม่มีใครที่จะรับฟังได้ การเขียนไดอารีส่วนตัวไว้ระบายอารมณ์ อัดอั้นออกมาบ้างอาจทำให้ดีขึ้น

 

 

• อย่าพยายามคาดหวัง หรือพยายามทำสิ่งต่างๆ มากไป หรือต้องสมบูรณ์แบบทุกอย่างในแต่ละวัน เมื่อรู้สึกว่าทำอะไรไม่สำเร็จหรือไม่ถูกต้อง ทำใจยอมรับ และเรียนรู้ที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องในวันต่อๆ ไป จากผู้รู้หรือผู้ที่มีประสบการณ์มาก่อน เพื่อความเข้าที่ถูกต้อง เช่น คุณแม่ พี่น้อง เพื่อนๆ หรือ แพทย์ พยาบาล บุคคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

 

 

• ไม่ควรคิดว่าตนเองเก่งไปเสียทุกเรื่อง ถ้าคิดว่าไม่สามารถเลี้ยงบุตรคนเดียวได้ ไม่ควรรีรอ หรือเกรงใจที่จะขอรับความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้ชิด ที่จะช่วยในการดูแลลูก เพื่อที่จะได้มีเวลาเป็นส่วนตัวสำหรับการพักผ่อน ผ่อนคลายในการทำภาระกิจส่วนตัว หรือบางสิ่งที่อยากทำได้บ้าง

 

 

• คนรอบข้างที่ใกล้ชิด ควรเข้าใจภาวะของหญิงตั้งครรภ์หลังคลอดที่ต้องผจญกับสิ่งต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจหลังคลอด ความรับผิดชอบในสิ่งต่างๆ มากมายที่ต้องทำเพิ่มขึ้น จากการที่ต้องดูแลลูกน้อย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ท้องแรก จะพบกับ ปัญหามากที่สุด เพราะไม่เคยผ่านสถานการณ์เหล่านี้มาก่อน เช่น การร้องไห้ไม่ยอมหยุด ไม่มีเหตุผลของลูก ปัญหาที่เกิดจากการให้นม ซึ่งเป็นสิ่งที่แม่มือใหม่ทุกคนกังวลที่สุด เช่น น้ำนมไม่ไหล นมไม่พอ หรือต้องตื่นให้นมเกือบทุกชั่วโมง จำเป็นที่คนรอบข้างทุกคนต้องเข้าใจ ปลอบใจ ให้กำลังใจ ให้สู้กับสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาให้ได้ การไม่ซ้ำเติม การช่วยเหลือเรื่องการดูแลบุตร ไม่ปล่อยให้เป็นภาระของแม่เพียงคนเดียว เช่น กำลังกาย และใจ จากคนใกล้ชิดที่สุด คือคุณพ่อ(สามี) ช่วยได้มากที่สุด เช่น ช่วยป้อนนม ช่วยนวดผ่อนคลายให้คุณแม่ เตรียมหรือจัดหาอาหารของที่ชอบมาให้ทาน โดยให้ความสำคัญกับคุณแม่ที่เพิ่งฟื้นตัวจากการคลอด แม่ที่ต้อง เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากการทำงาน กลับต้องมาอยู่กับลูกตลอดทั้งวัน เพราะหลายๆ ครอบครัวมัวแต่ชื่นชมแต่เจ้าตัวเล็กที่เพิ่งเกิดมา จนลืมถึงผู้ให้ที่อยู่เบื้องหลังไป (ปัจจุบันเป็นที่น่ายินดีที่หลายหน่วยงานเห็นความ สำคัญของการดูแลทารก และหญิงหลังคลอด โดยอนุญาตให้สามีสามารถ ลางานมาช่วยดูแลครอบครัวได้)

 

 

โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)

 

เป็นโรคในกลุ่มนี้ที่พบได้บ่อยรองลงมา ประมาณร้อยละ 10 - 15 บางรายอาจพบว่าเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่อาการเริ่มเห็นชัดเจนในช่วง 2 - 3 เดือนหลังคลอด และอาการมักเป็นอยู่นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ อาการที่พบ เช่น อารมณ์ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ไม่สนใจในการดูแล ลูก รู้สึกผิดที่มีลูก หรือไม่สามารถดูแลลูกได้ รู้สึกตัวเองไร้ค่า ท้อแท้ ไม่มีสมาธิ อาจมีความคิดฆ่าตัวตายหรือฆ่าลูกได้ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค แต่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง มีโอกาสเกิดซ้ำในท้องครั้งหน้าได้ถึงร้อยละ 25 ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงควรได้รับการ รักษาจากแพทย์ โดยแพทย์มักใช้ยาในกลุ่มรักษาอาการซึมเศร้า ในขนาดที่เหมาะสมกับอาการ เช่น ฟูออกซีติน (Fluoxetine) หรือ อะมิทริบทิลีน (Amitriptyline) การใช้ยารักษาภาวะซึมเศร้าในมารดาที่ให้นมบุตร กลุ่มนี้ ยาบางตัวสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย แต่ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และ ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง แต่ในรายที่มีความคิดฆ่าตัวตาย หรือจะ ทำร้ายลูก จำเป็นต้องรับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เนื่องจากมีความ เสี่ยงสูง โดยแพทย์จะเป็นผู้ให้การรักษาที่เหมาะสมตามอาการในแต่ละราย

 

 

โรคจิตหลังคลอด (Postpartum psychosis)

 

เป็นโรคในกลุ่มที่พบน้อยที่สุด ประมาณร้อยละ 0.1 - 0.2 แต่มีอาการ รุนแรงที่สุด มักเกิดในช่วง 1 - 2 สัปดาห์หลังคลอด ส่วนใหญ่พบในช่วงหลัง คลอด 48 - 72 ชั่วโมง อาการเริ่มแรกมักมีอาการกระสับกระส่าย ผุดลุก ผุดนั่ง หงุดหงิด ขี้รำคาญ นอนไม่หลับ จากนั้นจะมีอาการซึมเศร้า ท้อแท้ ตามด้วยอารมณ์ดีผิดปกติ ทำนองอารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว แบบคุ้มร้าย คุ้มดี แต่อาการที่สำคัญของกลุ่มนี้ ที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ คือ อาการ หลงผิด คิดว่าไม่ใช่ลูกของตน หรือลูกกำลังจะตาย และมีอาการประสาท หลอน เช่น หูแว้ว กลุ่มนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล โดย ใช้ยารักษาโรคจิตเภท เช่น ฮาร์โลเพอริโดล (Haloperidol) หรือ ลิเที่ยม (Lithium Carbonate) ซึ่งเป็นข้อห้ามของการให้นมบุตรในขณะรับยาในกลุ่มนี้

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น CoolSculpting romrawin รมย์รวินท์ ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขนถาวร เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Pico Pico NCTF 135 HA Rejuran Belotero Revive Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra Sculptra Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse UltraClear Aviclear Laser AviClear Laser Aviclear Aviclear AviClear Accure Laser Accure สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite NAD+ therapy NAD+ ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน Vaginal Lift Apex