Haijai.com


สัญญาณการดิ้นของทารกในครรภ์บอกอะไร


 
เปิดอ่าน 4434

สัญญาณการดิ้นของทารกในครรภ์บอกอะไร

 

 

ทำไมทารกในครรภ์ต้องดิ้น?

 

การดิ้นของทารกในครรภ์ บอกอะไรเราหลายอย่าง ที่แน่ๆ ก็เป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าลูกยังมีชีวิตอยู่ การดิ้นของทารกในแต่และช่วงเวลา และช่วงอายุครรภ์ อาจแสดงให้เห็นในแบบต่างๆ กัน เช่น ในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่แทบไม่ทราบเลยว่าลูกมีการดิ้นเกิดขึ้นแล้ว โดยเด็กจะเริ่มดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 6 - 7 สัปดาห์ จะเห็นก็จากตอนที่คุณหมอทำการตรวจอัลตราซาวด์ให้ดู เด็กจะมีการเคลื่อนไหวของแขนขา กระโดดเด้งตัว ลอยไปลอยมาในถุงน้ำคร่ำ เนื่องจากลูกยังเล็กมาก จึงไม่ทำให้เกิดความรู้สึกรับรู้ในท้องแม่ เนื่องจากการที่แม่ท้องจะรับรู้การดิ้นของลูกได้ ต้องมีอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด ของทารกสัมผัสโดยตรงกับผนังมดลูกแม่ ซึ่งต้องมีความแรงพอสมควร ที่ทำให้แม่รับรู้ได้ ดังนั้นในช่วงเล็กๆ เด็กทารกตัวเล็ก จึงไม่ได้ดิ้นแรงพอให้แม่รู้สึกได้ ต้องรอให้ทารกขนาดใหญ่ขึ้น จนมีแรงดิ้นแรงพอให้แม่รู้สึกได้ การดิ้นบางครั้งเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอกที่มากระตุ้น เช่น เสียงเพลง แสง หรือการสัมผัสที่ท้องของพ่อและแม่ จะเห็นว่าลูกมีการตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่ออวัยวะรับสัมผัสเหล่านี้เริ่มพัฒนา ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ลูกจะได้เรียนรู้ และตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ที่มากระตุ้น เพื่อสร้างให้เกิดพัฒนาการของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์

 

 

ทารกในครรภ์เริ่มดิ้นตั้งแต่เมื่อไหร่?

 

ในท้องแรกที่แม่ยังไม่มีประสบการณ์การตั้งครรภ์มาก่อน ดังนั้นการรับความรู้สึกว่าลูกดิ้น ในครรภ์แรก (ท้องแรก) จะตกประมาณอายุครรภ์ 18 - 20 สัปดาห์ ส่วนในท้องหลังที่แม่มีประสบการณ์ตั้งครรภ์มาแล้ว จะรับรู้ความรู้สึกลูกดิ้นได้เร็วขึ้น 2 - 4 สัปดาห์ คือประมาณ 16 - 18 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆที่อาจมีอิทธิพลต่อการรับรู้การดิ้นของทารกในครรภ์ เช่น ปริมาณน้ำคร่ำ ถ้าน้ำคร่ำปริมาณมาก ผนังหน้าท้องจะตึง โอกาสที่ส่วนของทารกสัมผัสกับผนังมดลูก ก็น้อยกว่าในภาวะน้ำคร่ำที่น้อย โอกาสรับรู้การดิ้นก็น้อยลง ความหนาของผนังหน้าท้องแม่ ในแม่ที่หน้าท้องหนา (ท้วมหรืออ้วน) ก็รู้สึกรับรู้การดิ้นน้อยกว่าแม่ที่ผนังหน้าท้องบาง รวมถึงตำแหน่งการเกาะของรก ถ้ารกเกาะขวางทางด้านหน้า เสมือนเพิ่มความหนาของผนังหน้าท้อง การรับรู้การดิ้นก็น้อยลง นอกจากนี้ท่าทางของลูกในท้อง รวมถึงขนาดและจำนวนของทารกในครรภ์ ก็มีผลต่อการรับรู้ของแม่ต่อการดิ้นของลูกในท้อง นอกจากนี้การที่แม่เคยไปรับการตรวจอัลตราซาวด์ดูทารกในครรภ์มาก่อน การได้เห็นทารกที่กำลังดิ้นขณะตรวจ ก็จะทำให้แม่เห็นภาพและเข้าใจรับรู้ถึงการดิ้นของลูกได้เร็วขึ้นเช่นกัน

 

 

การที่ทารกสะอึก เป็นการดิ้นหรือไม่?

 

การสะอึกของทารกในครรภ์ (hiccups)  เป็นการเคลื่อนไหวแบบหนึ่งที่ดูเหมือนการดิ้น แต่ไม่นับว่าเป็นลูกดิ้น เป็นการเคลื่อนไหวแบบกระตุก เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ ระยะห่างประมาณ 1 วินาที ถ้าได้เห็นจากการตรวจอัลตร้าซาวด์ จะเห็นผนังทรวงอกมีการหดเกร็งเป็นจังหวะสม่ำเสมอ จนบางคนคิดว่าเป็นการเต้นของหัวใจ (โดยปกติการเต้นของหัวใจทารกจะมีอัตรา 120-160 ครั้งต่อนาที เฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อ วินาที ซึ่งเร็วกว่าอัตราการสะอึกมาก และเสียงหัวใจไม่สามารถรับรู้หรือได้ยินด้วยหูปกติ จะเห็นว่าหมอต้องใช้หูฟัง หรือเครื่องตรวจเสียงหัวใจลูกมาขยายสัญญาณเสียงหัวใจลูกเป็นสิบเป็นร้อยเท่าจึงจะได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้นได้) อาการสะอึกของทารกในครรภ์ เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ ขณะอายุครรภ์ประมาณ 28-32 สัปดาห์ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการพัฒนาการของระบบหายใจของทารกในครรภ์ที่เริ่มทำงาน เมื่อมีการหายและกลืนน้ำคร่ำที่ไม่สัมพันธ์กัน เด็กก็จะเกิดอาการสะอึก เหมือนอาการสะอึกของผู้ใหญ่เช่นกัน ไม่ต้องทำอะไร สักพักอาการสะอึกจะหายไปเอง ไม่ถือว่าเป็นอาการที่ผิดปกติ แต่ไม่นับเป็นลูกดิ้น

 

 

ควรนับลูกดิ้นหรือไม่ และเริ่มนับตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

 

โดยปกติในช่วงอายุครรภ์เล็กๆ การเคลื่อนไหวของทารกเป็นแบบไร้ทิศทาง ไม่มีแบบแผน เป็นเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อระบบประสาทต่างๆพัฒนาขึ้น โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป จนถึงระบบประสาทที่พัฒนาสมบูรณ์เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 32 สัปดาห์ ดังนั้นหลัง 32 สัปดาห์เป็นต้นไป การนับการดิ้นก็สามารถบ่งบอก หรือช่วยในการประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ว่าเด็กยังปกติ มีสุขภาพแข็งแรงดีหรือไม่ จะเห็นได้จากการประเมินสุขภาพของสูตินรีแพทย์อันหนึ่งที่เรียกว่า BPP (Biophysical Profile) โดยการใช้เครื่องตรวจอัลตร้าซาวด์ติดตามการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ โดยดูจาก การหายใจ (Fetal breathing) การเคลื่อนไหวของทารกทั้งลำตัวและแขนขา (Fetal movement) การยืดหดของอวัยวะที่เป็นข้อพับ เช่น มือ ขา หรือนิ้ว (Fetal tone) ร่วมกับปริมาณน้ำคร่ำ (AF: Amniotic fluid) และการตรวจเคลื่อนเสียงหัวใจลูก (NST: Non-stress test) สามารถบอกถึงสุขภาพทารกในครรภ์ ในระยะ 7 วันข้างหน้านับจากวันที่ทำการตรวจได้ ดังนั้นการนับลูกดิ้นก็เช่นกัน ควรแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้ริ่มนับตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ หรือเริ่มตั้งแต่ 28 สัปดาห์ในรายที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูง (High risk pregnancy)เช่น แม่ที่เป็นเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง เนื่องจากการนับลูกดิ้นทำโดยแม่ ที่มีความใกล้ชิดลูกมากที่สุด เพราะอยู่ด้วยกันตลอดเวลา และไม่มีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทำ แต่ผลที่ได้ช่วยลดปัญหาในเรื่องทารกเสียชีวิตในครรภ์ลงได้ เนื่องจากเด็กที่อยู่ในท้อง ถ้ามีปัญหาสุขภาพไม่ดีหรือป่วย เด็กพวกนี้ไม่ได้เสียชีวิตในทันที จะค่อยๆซึมและดิ้นน้อยลง ถ้าเราให้ความสำคัญและนับการดิ้นของลูกอยู่เป็นประจำ ก็จะสามารถทราบการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติได้จากการดิ้น เช่น ดิ้นน้อยลงหรือดิ้นน้อยกว่าปกติ  ก่อนที่ลูกจะเสียชีวิตในครรภ์ได้

 

 

วีธีการนับลูกดิ้นทำอย่างไร?

 

วิธีการนับลูกดิ้นมีหลายวิธี แต่ที่แนะนำให้ปฏิบัติง่ายๆ มี 2 วิธี โดยทั้งสองวิธีมีการเตรียมตัวเหมือนกันโดย เลือกเวลาที่เราว่าง หรือ สะดวกในการนับ ไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน จะเป็นเวลาเช้า กลางวัน เย็น หรือ ก่อนนอนก็ได้ โดยเวลานับต้องอยู่ในท่าพัก เช่น นั่งหรือนอนในท่าสบายๆ ไม่เดินไปเดินมา หรือทำกิจกรรมที่รบกวนการนับ การนับการดิ้นให้รวมการ เตะ (Kick) การยืดหรือบิดตัว (stretches) การหมุนตัว (rollovers) ยกเว้น การสะอึก (hiccups) ที่ไม่นับป็นลูกดิ้น การนับถ้าลูกดิ้นติดกันเป็นชุด ให้ถือเป็น 1 ครั้ง ควรมีการบันทึกการดิ้นไว้เป็นตารางตามตัวอย่างที่แสดง และนำมาให้แพทย์ดูผลทุกครั้งที่มารับการฝากครรภ์ ส่วนวิธีการนับเลือกวิธีที่เราสะดวกได้จาก 1 ใน 2 วิธีดังนี้

 

 

1.การนับลูกดิ้นใน 1 ชั่วโมง ของ Rayburn  เป็นการนับว่าในเวลา 1 ชั่วโมง ลูกดิ้นได้กี่ครั้ง โดยถ้าดิ้นได้ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ถือว่าปกติ ถ้านับได้น้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ให้นับต่ออีก 1 ชั่วโมงที่ติดกันทันที เพราะบางครั้งแม่ไปนับในชั่วโมงที่ลูกหลับ ลูกอาจไม่ดิ้น แต่เด็กในท้องมีรอบการหลับตื่นไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นในชั่วโมงถัดมาลูกต้องตื่นให้เรานับแน่ๆ แต่ถ้าชั่วโมงแรกนับได้น้อยกว่า 3 ครั้ง ชั่วโมงถัดมาก็ยังน้อยกว่า 3 ครั้ง  แสดงว่านับได้น้อยกว่า 3 ครั้งติดกัน 2 ชั่วโมง ให้รีบมาพบแพทย์ทันที

 

 

ตัวอย่าง

 

วันที่

เวลาที่นับ

จำนวน

รวม

เช่น   11/10/2554

09.00-10.00 น.

IIII

4

 

 

 

 

 

 

2. การนับ Count to 10  ของ Picquadio and Moore เป็นการนับลูกดิ้นให้ครบ 10 ครั้ง แล้วดูว่าใช้เวลาเท่าไร จากการดิ้นครั้งแรกจนถึงครั้งที่ 10 โดยแบ่งช่วงเวลาเป็น 15(A), 30(B), 45(C),60(D)  และมากกว่า 60 นาที(F) โดยเหมือนกับวิธีแรก ถ้าใช้เวลาดิ้นครบ 10 ครั้งมากกว่า 1 ชั่วโมง (F) ให้นับใหม่ในอีก 1 ชั่วโมงติดกันทันที (ลูกอาจหลับ) ถ้ายังใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงอีกครั้ง (F) ถือว่าผิดปกติ (FF) ให้รีบมาพบแพทย์ทันที

 

 

ตัวอย่าง

สัปดาห์ที่

อาทิตย์

จันทร์

อังคาร

พุธ

พฤหัสบดี

ศุกร์

เสาร์

9-15/10/54

A B C D F A B C D F A B C D F A B C D F A B C D F A B C D F A B C D F
 

A B C D F

A B C D F

A B C D F

A B C D F

A B C D F

A B C D F

A B C D F

 

 

การนอนตะแคงแล้วลูกดิ้นมาก เป็นเพราะเราไปนอนทับลูกใช่หรือไม่?

 

การนอนตะแคงแล้วรู้สึกว่าลูกดิ้นมากกว่าปกติ ทำให้แม่หลายคนคิดว่า อาจเป็นเพราะไปทับลูกทำให้ลูกดิ้นมากกว่าปกติ ในลักษณะหนีถูกทับหรือหนีตาย เป็นความเชื่อที่ผิด การที่ลูกดิ้นมากในขณะที่แม่นอนตะแคงเพราะ ขณะที่แม่นอนตะแคงมดลูกจะไม่กดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่รับเลือดจากส่วนล่างของร่างกายทั้งหมดที่ส่งกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้เลือดถูกสูบฉีดจากหัวใจไปเลี้ยงลูกได้มากขึ้น ทำให้ลูกได้รับสารอาหารได้ดีขึ้น จึงรู้สึกมีแรงและพลังงานสูง และดิ้นมากขึ้น เหมือนหลังทานอาหารใหม่ๆ ที่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึงให้คุณแม่ทุกคนนอนตะแคงตลอดเวลา เพราะการนอนท่าหนึ่งท่าใดนานๆ จะทำให้เกิดจุดกดทับ ทำให้เจ็บซี่โครงหรือสะโพกได้ คนท้องจึงควรนอนในลักษณะที่มีการเปลี่ยนอริยาบทบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงจุดกดทับดังกล่าว การนอนตะแคงจึงเหมาะสำหรับ แม่ที่นอนรอคลอดในช่วงระหว่างเจ็บครรภ์ในห้องคลอด เพราะช่วงนั้นจะมีการบีบตัวของมดลูกทำให้เลือดไปเลี้ยงลูกน้อยลง การนอนตะแคงจึงช่วยเพิ่มเลือดให้ลูกได้ดีในช่วงเวลาดังกล่าว

 

 

การดิ้นของทารกในครรภ์ เป็นสิ่งที่แม่ควรให้ความสำคัญ และสนใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นสิ่งที่บอกถึงสัญญาณชีพ ของทารกในครรภ์ ที่สัมผัสและรับรู้ได้จากตัวของแม่เอง ดังนั้นคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการเริ่มนับลูกดิ้น ในระยะเวลาที่เหมาะสม ตามที่แพทย์แนะนำ โดยถ้าคุณพ่อต้องการมีส่วนช่วยในการนับก็ไม่ถือว่าผิดกติกาใดๆ

 

 

โดย นพ.นิวัฒน์ อรัญญาเกษมสุข

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น CoolSculpting romrawin รมย์รวินท์ ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขนถาวร เลเซอร์ขน กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Pico Pico NCTF 135 HA Rejuran Belotero Revive Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra Sculptra Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse UltraClear Aviclear Laser AviClear Laser Aviclear Aviclear AviClear Accure Laser Accure สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite NAD+ therapy NAD+ ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน Vaginal Lift Apex