Haijai.com


ทำอย่างไรเมื่อลูกจมน้ำ


 
เปิดอ่าน 5684

ทำอย่างไรเมื่อลูกจมน้ำ

 

 

ไม่ว่าจะเป็นลูกวัยทารกหรือวัยเตาะแตะก็สามารถจมน้ำได้ในความลึกเพียง 2.5 เซนติเมตร หรือ 1 นิ้วเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกลื่นตกลงไปในอ่างอาบน้ำหรือตกลงไปในบ่อพายเรือ หรือแม้แต่กะละมังใส่น้ำก็อาจเป็นอันตรายได้ หากลูกไม่ได้รับความช่วยเหลือโดยเร็ว เด็กอาจจะมีอาการหายใจไม่ออก หอบ หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ

 

 

เมื่อลูกน้อยจมน้ำ

 

หลังจากช่วยลูกขึ้นมาจากน้ำแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตการหายใจของลูกว่ายังมีการหายใจอยู่หรือไม่ โดยการฟังดูว่ามีเสียงลมหายใจหรือไม่ หรือแนบใบหน้าไปใกล้จมูกและปากของลูกเพื่อสัมผัสลมหายใจ

 

 กรณีที่ลูกยังหายใจอยู่ ให้รีบเปลี่ยนเสื้อผ้าและเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย จากนั้นให้รีบนำลูกส่งโรงพยาบาลทันที เพราะถึงแม้ลูกจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม แต่น้ำที่เข้าไปในปอดบางส่วนอาจเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับปอด หรือลูกอาจเป็นไข้สูงและมีอาการปอดบวมได้ค่ะ

 

 

 กรณีที่ลูกหยุดหายใจ คุณพ่อคุณแม่ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ หรือปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ค่ะ

 

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกจมน้ำ

 

 

1.ให้ลูกนอนราบ กดหน้าผากลงและเชยคางลูกขึ้นเบาๆ เพื่อเปิดทางเดินหายใจ

 

 

2.ประกบปากเพื่อช่วยในการหายใจ หากลูกน้อยอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้ประกบปากครอบทั้งจมูกและปาก หากลูกอายุมากกว่า 1 ปี ก็ให้ประกบแค่ปากเท่านั้น แล้วให้คุณเป่าลมหายใจออกสองครั้ง โดยแต่ละครั้งให้ยาว 1-2 วินาที สังเกตดูว่าหน้าอกลูกขยายตามการเป่าลมหรือไม่

 

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกจมน้ำ

 

 

3.เช็กสัญญาณชีพจรโดยให้ลองจับต้นแขนด้านในของลูกสัก 5 วินาที หากยังไม่มีสัญญาณชีพจร หรือน้อยกว่า 1 ครั้งต่อ 1 วินาที คุณจำเป็นต้องกระตุ้นการเต้นของหัวใจลูก

 

 

ทำอย่างไรเมื่อลูกจมน้ำ

 

 

4.กระตุ้นการเต้นของหัวใจลูก โดยการใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางตรงกระดูกสันอกต่ำลงมาเล็กน้อยระหว่างหัวนมของลูก แล้วกดหนักๆ ให้ลึกลงไปสัก 2 เซนติเมตร ส่วนมืออีกข้างให้จับศีรษะลูกไว้

 

 

5.ถ้าเด็กยังไม่หายใจแต่ชีพจรยังเต้นอยู่ ให้ช่วยด้วยการเป่าลมอย่างเดียว โดยต้องเป่า 20 ครั้งต่อนาที หรือเป่าลม 1 ครั้งต่อ 3 วินาทีค่ะ

 

 

6.เมื่อลูกรู้สึกตัวแล้วต้องทำร่างกายลูกให้อบอุ่น แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที หรือในขณะที่นำลูกส่งโรงพยาบาลนั้นหากลูกยังไม่ได้สติก็ควรทำการผายปอดด้วยวิธีเป่าปากไปตลอดทางจนกว่าจะถึงโรงพยาบาลนะคะ

 

 

ข้อควรระวัง

 

 อย่าทิ้งลูกไว้ใกล้น้ำเพียงลำพัง ไม่ว่าจะนานหรือเพียงชั่วครู่

 

 

 ปล่อยน้ำ ปิดหรือล้อมรั้วบ่อน้ำ หรือสระว่ายน้ำของคุณ

 

 

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน อย่าลืม! หมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพฉุกเฉิน โทร 1669

(Some images used under license from Shutterstock.com.)