Haijai.com


วัคซีนแต่ละชนิดฉีดเมื่อไหร่


 
เปิดอ่าน 4109

วัคซีนแต่ละชนิดฉีดเมื่อไหร่

 

 

การเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากเจอ ยิ่งถ้าความเจ็บป่วยนั้นเกิดขึ้นกับเด็กเล็กๆ ความทรมานก็จะมากกว่าผู้ใหญ่ แต่คุณแม่ก็สามารถป้องกันลูกรักได้ด้วยการฉีดวัคซีน เพราะ “วัคซีน” ทำหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน เปรียบเสมือนเครื่องป้องกันของร่างกาย และยังทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียก็ตาม ในปัจจุบันวัคซีนมีทั้งหมด 3 ประเภทดังนี้

 

 

1. วัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนบังคับ

 

คือ วัคซีนที่ได้รับการบรรจุในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ แนะนำให้ใช้ในเด็กไทยทุกคน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ที่มีความคุ้มค่ากว่าการรักษาหลังจากติดเชื้อหรือเป็นโรคแล้วค่ะ

 

 

ตารางการให้วัคซีนพื้นฐาน (Compulsory vaccines)

 

วัคซีนพื้นฐาน แรกเกิด 1 เดือน 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 1 ปี 1 ปีครึ่ง 2-2 ปีครึ่ง 4-6 ปี 10-12 ปี
วัณโรค (BCG) BCG (1)                    
ตับอักเสบบี (HBV) HBV 1 HBV 2   HBV 3            
คอตีบ-บาดทะยัก- ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ (DTPw)     DTPw 1 DTPw 2 DTPw 3     DTPw 4   DTPw 5 dT และทุก 10 ปี
โปลิโอชนิดกิน (OPV)     OPV 1 OPV 2 OPV 3     OPV 4   OPV 5  
หัด-หัดเยอรมัน- คางทูม (MMR)           MMR (2) 1     MMR (3) 2  
ไข้สมองอักเสบเจอี (JE)             JE (4) 1, 2 JE 3    

*** ตารางข้อมูลการให้วัคซีนจาก สำนักโรคติดต่อทั่วไป

 

 

ข้อแนะนำ

 

1. สำหรับเด็กแรกเกิด ควรฉีดวัคซีนวัณโรค (BCG) ก่อนออกจากโรงพยาบาล ควรให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด

 

2. การฉีดวัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR) ครั้งที่ 1 หากไม่ได้ฉีดเมื่ออายุ 9 เดือน ให้รีบติดตามฉีดให้เร็วที่สุด ภายใน 9-12 เดือน

 

3. วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR) ครั้งที่ 2 ตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุขฉีดให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1

 

4. วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) ครั้งที่ 1 และ 2 ให้ฉีดห่างกัน 4 สัปดาห์ และให้รีบฉีดภายใน 12-18 เดือน

 

 

2. วัคซีนเผื่อเลือก

 

คือ วัคซีนที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้มีผลข้างเคียงลดลง แต่วัคซีนเผื่อเลือกจะมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ที่สนใจ หรือต้องการจะฉีดให้ลูกต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วยตนเองค่ะ

 

 

ตารางการให้วัคซีนเผื่อเลือก (Optional vaccines)

 

 

วัคซีนเผื่อเลือก 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 1 ปี 1 ปีครึ่ง 2-2 ปีครึ่ง 4-6 ปี 10-12 ปี
คอตีบ-บาดทะยัก- ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTPa, dTpa) DTPa 1 DTPa 2 DTPa 3     DTPa 4   DTPa 5 หรือ dTpa dTpa
โปลิโอชนิดฉีด (IPV) IPV 1 IPV 2 IPV 3     IPV 4   IPV 5  
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากเชื้อฮิบ (Hib) Hib 1 Hib 2 Hib 3            
ตับอักเสบเอ (HAV)         HAV (1) 1
อีสุกอีใส (VZV)         VZV (2) 1
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)     Influenza (3)    
นิวโมคอคคัสชนิด คอนจูเกต (PCV) PCV 1 PCV 2 PCV 3   PCV 4      
โรตา (RV) RV 1 RV 2 RV 3            
มะเร็งปากมดลูก (HPV)                 HPV (4)

*** ตารางข้อมูลการให้วัคซีนจาก สำนักโรคติดต่อทั่วไป

 

 

ข้อแนะนำ

 

1. วัคซีนตับอักเสบเอฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน

 

2. วัคซีนอีสุกอีใส สำหรับเด็กอายุ 1-12 ปี ฉีดครั้งเดียว ยกเว้นอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 4-8 สัปดาห์

 

3. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือนในปีแรก จากนั้นให้ฉีดปีละ 1 เข็ม

 

4. วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (แปปปิโลมา) ฉีด 3 ครั้งห่างกัน 1-2 และ 6 เดือน

 

 

3. วัคซีนรวม

 

หมายถึง การรวมวัคซีนที่ป้องกันโรคหลายๆ โรคไว้ในเข็มเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันสามารถรวมได้ถึง 6 โรค ได้แก่ โรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี โปลิโอ และ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กทารกในวัย 2-6 เดือน ที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันตามเกณฑ์ ของกระทรวงสาธารณสุขอยู่แล้ว ทำให้ได้รับความสะดวกและช่วยให้ เด็กได้รับภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สำคัญๆ ได้ครบถ้วน

 

 

ข้อดีของวัคซีนรวม

 

1. ลูกเจ็บตัวน้อยลง เพราะการฉีดวัคซีนรวมจะช่วยลดจำนวนเข็มที่ต้องฉีดให้ลูกลดน้อยลง

 

2. มีความปลอดภัยสูง และเกิดผลข้างเคียงต่ำมีประสิทธิภาพดีในการสร้างภูมิต้านทาน

 

3. มีความสะดวกและประหยัดกว่า ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมลง และยังช่วยลดเวลาที่จะต้องพบแพทย์ลงด้วย

 

 

วิธีดูแลลูกน้อยหลังฉีดวัคซีน

 

หลังฉีดวัคซีนด้วยสภาพร่างกายของลูกและชนิดของ วัคซีนที่ได้รับ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ เรามาดู กันค่ะว่าผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนนั้นมีอะไรบ้าง และคุณแม่ควรแก้ไขอย่างไร

 

 

1. ตุ่มหนอง มักจะปรากฏขึ้นหลังฉีดวัคซีนไปแล้ว ประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะพองๆ ยุบๆ อยู่ประมาณ 3-4 สัปดาห์ แล้วก็จะหายไปเองโดยที่คุณแม่ไม่จำเป็นต้อง ทำอะไร เพียงแต่ต้องคอยระวังรักษาความสะอาดอย่าให้ตุ่มหนองเกิดการติดเชื้อเท่านั้น

 

2. การปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน ถ้า เป็นมากก็อาจจะทำให้ลูกร้องกวนได้ ให้คุณแม่ใช้ผ้าชุบน้ำ อุ่นประคบบริเวณที่ปวด ถ้ายังไม่ดีขึ้นอาจให้ลูกรับประทานยาแก้ปวด (สำหรับเด็ก) เพื่อช่วยให้อาการทุเลาลง

 

3. ไข้ ตัวร้อน เมื่อลูกมีไข้คุณแม่ควรเช็ดตัวลูกด้วย ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ โดยเฉพาะบริเวณซอกคอ ข้อพับต่างๆและอาจให้รับประทานยาลดไข้ (สำหรับเด็ก) ร่วมด้วย

 

4. ผื่น ส่วนใหญ่อาการมักจะไม่รุนแรง แต่ถ้าลูกมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ซึม อ่อนเพลีย ไม่เล่น ไม่ดูดนมหรือรับประทานอาหารไม่ได้ คุณแม่ต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที

 

5. ชัก สาเหตุของการชักส่วนใหญ่นั้นไม่ได้มาจากการ ฉีดวัคซีนโดยตรง แต่เกิดจากการมีไข้สูงหลังฉีดวัคซีน วิธี ป้องกันก็คือ หลังจากลูกฉีดวัคซีนแล้วคุณแม่ต้องคอยดูแล อย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีไข้ ต้องพยายามหาวิธีทำให้ไข้ลด อย่าปล่อยให้ไข้ขึ้นสูงเพราะจะทำให้เกิดอาการชักได้

 

 

ส่วนวิธีแก้ไขเมื่อลูกชัก ให้คุณแม่จับให้ลูกนอนหัน หน้าไปด้านข้าง หรือจับให้นอนคว่ำเพื่อป้องกันการสำลัก และไม่ควรนำสิ่งของ เช่น ช้อน ไม้ หรือนิ้วมือใส่เข้าไปใน ปากของลูกเพราะจะยิ่งทำให้เกิดการสำลักมากขึ้น และ เมื่อพาลูกไปฉีดวัคซีนในครั้งต่อไป ควรแจ้งให้คุณหมอทราบด้วยว่าลูกมีอาการชักหลังจากฉีดวัคซีน

 

 

ดังนั้นหลังการฉีดวัคซีนไม่ว่าลูกจะมีอาการอะไร เกิดขึ้นก็ตาม หากคุณแม่ปฏิบัติตามคำแนะนำด้าน บนแล้วแต่ลูกยังอาการไม่ดีขึ้น ควรพาไปปรึกษา คุณหมอเพื่อจะได้ตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไปค่ะ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)