Haijai.com


คู่มือกินยาคุมกำเนิด ปลอดภัย ไกลโรค


 
เปิดอ่าน 2453

คู่มือกินยาคุมกำเนิด ปลอดภัย ไกลโรค

 

 

รู้ไหมคะว่า นอกจากยาแก้ปวดแล้ว ยังมียาอีกชนิดหนึ่งที่คุณผู้หญิงจำเป็นต้องใช้นั่นก็คือ ยาคุมกำเนิด ผู้เขียนได้อ่านข้อมูลจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ศึกษาการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในผู้หญิงอายุ 15-45 ปี จำนวน 300 คน พบว่า มีเพียงร้อยละ 53.6 เท่านั้นที่ใช้ยาถูกวิธี

 

 

เป็นข้อมูลที่น่าตกใจค่ะ เพราะแสดงว่าผู้หญิงเกือบครึ่งหนึ่งกำลังใช้ยาคุมผิดวิธี จึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดให้ถูกต้องปลอดภัยมาฝาก

 

 

นานาประโยชน์จากยาคุมกำเนิด

 

แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลประจำจังหวัดพิจิตร อธิบายว่า

 

 

“ในยาเม็ดคุมกำเนิดจะมีฮอร์โมน 2 ชนิด คือ เอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน ซึ่งเป็นฮอร์มนเพศหญิง โดยกลไกลการทำงานของยาเม็ดคุมกำเนิด คือ ห้ามการตกของไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะแก่การฝังตัวของตัวอ่อน และทำให้ปากมดลูกเหนียวจนอสุจิไม่อาจเข้าไปได้”

 

 

จะเห็นได้ว่า จุดประสงค์หลักของผู้ใช้ยาคุมกำเนิด คือ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ก็มีสาวๆ หลายคนกินยาคุมเพื่อความสวยงาม คุณหมอชัญวลีอธิบายว่า

 

 

“ปัจจุบันมีการปรับสูตรยา นอกจากมีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนและเอสโทรเจนที่มีคุณสมบัติป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว ตัวยายังมีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชายที่ชื่อแอนโดรเจน ซึ่งหลังกินยาจะทำให้ผู้ใช้บางคน ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนมีความเป็นผู้หญิงมากขึ้น เช่น ช่วยลดหนวด ลดเครา ลดสิว ลดหน้ามัน แต่ไม่ได้ช่วยผู้ที่มีปัญหาสิวที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือการติดเชื้อ”

 

 

ถึงอย่างนั้นแพทย์ปัจจุบันก็ยังใช้ยาคุมกำเนิด เพื่อบำบัดโรคบางชนิด ซึ่งคุณหมอชัญวลีสรุปไว้ดังนี้

 

 

1.โรคไข่ไม่ตก ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่มีประจำเดือน หรือมีประจำเดือนกะปริบกะปรอย สามารถใช้ยาคุมกำเนิดทดแทนการทำงานของฮอร์โมนได้

 

 

2.ผู้ที่มีฮอร์โมนน้อย ในบางคนรังไข่ไม่ทำงาน เนื่องจากระบบฮอร์โมนทำงานผิดปกติ ทำให้ไม่มีประจำเดือน การใช้ยาคุมก็ทำให้มีประจำเดือนได้

 

 

3.โรคถุงน้ำหลายใบในรังไข่ ผู้ป่วยโรคนี้มีฮอร์โมนเพศชายสูง มีภาวะอ้วน ไม่มีประจำเดือน ยาเม็ดคุมกำเนิดจะช่วยลดขนาดของถุงน้ำได้

 

 

4.ลดอาการปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ คือ เป็นอาการปวดที่ไม่ได้เกิดจากโรคแฝง เกิดจากโพรงมดลูกมีแรงดันสูง การกินยาคุมจะช่วยลดอาการปวดแบบปฐมภูมิได้

 

 

แต่กรณีเป็นการปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ คือ มีโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ยาคุมอาจไม่ได้ช่วยให้หายปวด

 

 

ผู้ป่วยโรคใดบ้างต้องระวัง

 

แม้ยาคุมกำเนิดจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ มากกว่าแค่การคุมกำเนิด แต่ถึงอย่างนั้นหากใช้ไม่ถูกต้องอาจเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วย

 

 

คราวนี้เรามาดูกันว่า ผู้ป่วยโรคใดบ้างต้องระมัดระวังการกินยาคุมกำเนิดเป็นพิเศษ

 

1.โรคหัวใจ

 

อาจารย์ นายแพทย์สุนทร ม่วงมิ่งสุข ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า

 

 

“ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถกินยาเม็ดคุมกำเนิดได้ แต่ต้องกินยารักษาโรคหัวใจร่วมด้วยอย่างสม่ำเสมอ เพราะการใช้ยาคุมกำเนิด อาจทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายขึ้น และเข้าไปอุดตันหลอดเลือดในร่างกายได้ง่าย”

 

 

“แต่ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดเขียว (มีเลือดดำจากหัวใจห้องขวาไหลมาผสมกับเลือดแดงในหัวใจห้องซ้าย) และมีเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ หรือผู้ป่วยที่เคยมีก้อนเลือดไปอุดตามหลอดเลือดของร่างกายมาแล้ว ไม่ควรกินยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างเด็ดขาด”

 

 

ส่วนคุณหมอชัญวลีอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคที่ห้ามใช้ยาคุมกำเนิด คือ

 

 

2.มะเร็งเต้านม

 

แม้ยาคุมไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม แต่เพราะฮอร์โมนในเม็ดยาอาจส่งผลให้มะเร็งเต้านมกำเริบ หรือลุกลามได้ ดังนั้น ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม

 

 

3.โรคตับ

 

ผู้ป่วยโรคตับหรือตับมีความผิดปกติไม่ควรใช้ เพราะฮอร์โมนในเม็ดยาอาจเข้าไปทำให้การทำงานของตับลดลงได้

 

 

4.ผู้มีรอบเดือนผิดปกติ

 

สำหรับผู้มีรอบเดือนผิดปกติ หากยังไม่ได้รับการตรวจว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิด ควรตรวจให้ทราบสาเหตุเสียก่อน เพื่อความปลอดภัย

 

 

กินยาคุมอย่างไร ปลอดภัยชัวร์

 

เนื่องจากยาคุมกำเนิดมีความจำเป็นสำหรับคุณผู้หญิงบางท่าน เราจึงมีคำแนะนำวิธีกินที่ถูกต้องมาฝาก คุณหมอชัญวลีอธิบายว่า

 

1.ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่า ควรกินยาคุมกำเนิดประเภทใด

 

 

2.ไม่ควรกินติดต่อกันนานเกิน 5 ปี

 

 

3.ควรพบแพทย์ทุกปี เพื่อประเมินความเสี่ยงในการกินยาคุมกำเนิดในปีต่อๆ ไป

 

 

4.กรณีใช้ยาคุมเพื่อรักษาโรค ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่ง ไม่ควรซื้อยาคุมกำเนิดมากินเอง

 

 

นอกจากนี้ เภสัชกรหญิงพิธัญญา มะลารัมย์ หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลเกาะจันทร์ จังหวัด ชลบุรี ได้แนะนำต่ออีกว่า

 

 

5.ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีกาแฟอีนร่วมกับการกินยาคุม เพราะฮอร์โมนเอสโทรเจน จะไปขัดขวางกระบวนการกำจัดกาเฟอีนออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกาเฟอีนตกค้างเป็นเวลานาน จึงเกิดอาการใจสั่น กระวนกระวายนอนไม่หลับตามมาได้

 

 

6.ส่วนคุณผู้หญิงที่เป็นฝ้า ควรเลือกยาคุมกำเนิดชนิดที่มีระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนต่ำ และควรใช้ครีมกันแดดร่วมด้วย เพื่อลดการเกิดฝ้า

 

 

ความรู้เหล่านี้นำไปบอกต่อคนใกล้ตัว ก็จะช่วยให้เราและเพื่อนๆ แข็งแรงปลอดภัยได้ค่ะ

(Some images used under license from Shutterstock.com.)





ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล วิธีลดไขมันหน้าท้อง ไขมัน วิธีลดพุงผู้หญิง Coolsculpting Elite CoolSculpting vs Emsculpt วิธีลดพุง สลายไขมันต้นขา ลดไขมันหน้าท้อง นวดสลายไขมัน ผลไม้ลดความอ้วน ลดน้ำหนักเร่งด่วน อาหารคลีน กินคลีนลดน้ำหนัก ลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน กินคีโต วิธีลดความอ้วนเร็วที่สุด อาหารลดความอ้วน วิธีลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน วิธีลดน้ำหนัก กระชับสัดส่วน ลดความอ้วนเร่งด่วน ผลไม้ลดน้ำหนัก อาหารเสริมลดความอ้วน วิธีลดความอ้วน เมนูลดความอ้วน วิธีการสลายไขมัน ลดความอ้วน สลายไขมัน ลดน้ำหนัก สูตรลดน้ำหนัก Exilis Elite Thermage Body ออฟฟิศซินโดรม Inbody Vaginal Lift Morpheus Pro Oligio Body IV Drip Emsella เลเซอร์นอนกรน Indiba ปากกาลดน้ำหนัก Emsculpt CoolSculpting บทความดูแลรูปร่างและสุขภาพ บทความกระชับสัดส่วนรูปร่าง บทความน่ารู้ romrawin รมย์รวินท์ ดูดไขมัน ดึงหน้า ตาสองชั้น ทำตาสองชั้น เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก บทความศัลยกรรม วีเนียร์ บทความทันตกรรม สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Fit Firm Emsculpt สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite บทความลดน้ำหนัก ดีท็อกลำไส้ EIS BIO SCAN ICELAB IV DRIP ดริปวิตามิน บทความดูแลสุขภาพ Vaginal Lift P-SHOT O-Shot บทความสุขภาพเพศ Meso Hair LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม รักษาผมร่วง บทความรักษาผมร่วง ผมบาง บทความดูแลเส้นผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน บทความเลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Pico Majesty Pico Majesty Laser Reepot Laser Reepot บทความโปรแกรมหน้าใส NCTF 135 HA Rejuran Belotero Glassy Skin Juvederm Volite Gouri Exosome Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความ Sculptra Radiesse บทความ Radiesse บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์คอ ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ยกมุมปาก ฟิลเลอร์ปากกระจับ ฟิลเลอร์ปาก 1 CC ฟิลเลอร์จมูกราคา ฟิลเลอร์กรอบหน้า ฟิลเลอร์ที่ไหนดี ฟิลเลอร์น้องสาวกี่ CC ฟิลเลอร์ราคา ฟิลเลอร์จมูก ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี ฟิลเลอร์แก้มส้ม ฟิลเลอร์แก้มตอบ ฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์หน้าผาก ฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ บทความฟิลเลอร์ ฉีดโบลดริ้วรอยหางตา ฉีดโบหางตา ฉีดโบลิฟกรอบหน้า ฉีดโบหน้าผาก ฉีดโบยกมุมปาก ฉีดโบปีกจมูก ฉีดโบลดริ้วรอยระหว่างคิ้ว ฉีดโบลดริ้วรอยใต้ตา ฉีดโบลดกราม ฉีดโบรักแร้ ฉีดโบลดริ้วรอย ดื้อโบลดริ้วรอย บทความโบลดริ้วรอย Volnewmer Linear Z ยกมุมปาก Morpheus Morpheus8 ลดร่องแก้ม Ultraformer III Ultraformer MPT Emface Hifu ยกกระชับหน้า Ultherapy Prime อัลเทอร่า Ulthera Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Oligio บทความยกกระชับใบหน้า ร้อยไหมหน้าเรียว ไหมหน้าเรียว ร้อยไหมเหนียง ไหมเหนียง ร้อยไหมยกหางตา ไหมยกหางตา Foxy Eyes ร้อยไหมปีกจมูก ไหมปีกจมูก ร้อยไหมกรอบหน้า ไหมกรอบหน้า ร้อยไหมร่องแก้ม ไหมร่องแก้ม ร้อยไหมก้างปลา ไหมก้างปลา ร้อยไหมคอลลาเจน ไหมคอลลาเจน ร้อยไหมจมูก ร้อยไหม บทความร้อยไหม Apex