Haijai.com


หัวหอมใส่ถุงเท้ารักษาหวัด จริงหรือหลอก


 
เปิดอ่าน 6086

หัวหอมใส่ถุงเท้ารักษาหวัด จริงหรือหลอก

 

 

Q : พบข้อมูลที่แชรผ่านกันในโซเชียลเน็ตเวิร์คระบุว่า ถ้านำหัวหอมไปฝานแล้วนำมาใส่ไว้ในถุงเท้าที่ใส่นอน จะช่วยรักษาอาการหวัดได้ อยากทราบว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ อย่างไร

 

 

A : จากการค้นคว้า พบข้อมูลสุขภาพเขียนโดย แพทย์หญิงลอเรน เฟเดอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัดและการรักษาแบบองค์รวม ในหนังสือ Natural Baby and Childcare ระบุว่า

 

 

“หัวหอมช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานมีประสิทธิภาพ และมีคุณสมบัติขับเสมหะ จึงสามารถรักษาอาการหวัดได้”

 

 

โดยแพทย์หญิงลอเรนได้แนะนำวิธีการใช้หัวหอมเอาไว้หลายวิธี เช่น ในกรณีเด็กเล็กสามารถฝานหัวหอมแล้วนำไปใส่ในถุงเท้าของเด็ก หรือใส่ไว้ในผ้าพันคอก็ได้เช่นกัน ซึ่งสารระเหยจากหัวหอมจะช่วยให้อาการคัดจมูกและมีเสมหะทุเลาได้ จึงเป็นที่มาของเทรนด์การรักษาหวัดด้วยหัวหอมดังกล่าว

 

 

ในแง่มุมของแพทย์แผนไทย หัวหอม เป็นสมุนไพรที่มีรส (ฤทธิ์) ทางยาเผ็ดร้อน มีสรรพคุณแก้ไข้ ขับเสมหะ

 

 

การแพทย์แผนไทยได้กล่าวถึงธาตุในร่างกายมนุษย์โดยแบ่งเป็น 4 ธาตุ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) หากทุกธาตุมีความสมดุล ก็จะทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง แต่หากธาตุใดธาตุหนึ่งเกิดความไม่สมดุล จะส่งผลให้ร่างกายเกิดความเจ็บป่วยขึ้นได อาการหวัดก็เช่นเดียวกัน อาจมีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของธาตุทั้ง 4 แต่อาการแสดงที่เด่นชัด คือ การที่หายใจไม่สะดวกระบบไหลเวียนไม่ดี (ธาตุลม) มีน้ำมูก (ธาตุน้ำ)

 

 

เมื่อมีอาการหวัดเกิดขึ้น การให้การดูแลรักษาจึงต้องบรรเทาอาการโดยปรับการทำงานของธาตุที่ไม่สมดุลให้เป็นปกติ จุดมุ่งหมายก็คือกระตุ้นการปรับการทำงานของธาตุที่ไม่สมดุลให้เป็นปกติ จุดมุ่งหมายก็คือกระตุ้นการไหลเวียน จะทำให้หายใจสะดวกขึ้น เพราะฉะนั้นยาสมุนไพรที่ให้ก็ต้องเป็นยารส (ฤทธิ์) เผ็ดร้อน

 

 

ดังนั้น การนำหัวหอมทุบหรือฝานใส่ถุงเท้าแล้วสวมก่อนนอน ก็เป็นการใช้สมุนไพรที่มีรส (ฤทธิ์) ร้อนให้ร่างกาย เป็นการกระตุ้นการไหลเวียน และยังได้รับยาเผ็ดร้อนจากการสูดดมกลิ่นเข้าไปด้วย ซึ่งจะทำให้หายใจสะดวกขึ้น บรรเทาอาการหวัดได้

 

 

นอกจากวิธีนี้แล้ว อาจจะใช้ผ้าขาวตาข่ายเล็กๆ ห่อหลวมๆ นำไปวางไว้ใกล้ๆ หมอนที่นอนหรือบนหัวเตียวก็ได้เช่นเดียวกัน

 

 

การนำหัวหอมมาใช้บรรเทาอาการหวัดต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และก่อนนำมาใช้ควรล้างให้สะอาด

 

 

อาจารย์จิตวิไล ประไมย์

สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

(Some images used under license from Shutterstock.com.)